Mahachulalongkornrajavidyalaya University
MCU Home Search Contacts Study Events Site Map Thai/Eng
MCU
ON THIS SITE
Curriculum
Academic Articles

First Page » พระศรีธวัชเมธีและพระวิสุทธิภัทรธาดา » อียิปต์ ของขวัญจากแม่น้ำไนล์
 
counter : 27131 time

''อียิปต์ ของขวัญจากแม่น้ำไนล์''
 
พระศรีธวัชเมธีและพระวิสุทธิภัทรธาดา

เกริ่นนำ
คณะสงฆ์ไทยเยือนอียิปต์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
       ย้อนหลังไปเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๐ ดร.มูฮัมหมัด ชัยยิด ฏอนฏาวี ผู้นำสูงสุดทาง ศาสนาอิสลามแห่งประเทศสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ ตำแหน่งนี้มีฐานะเทียบเท่ากับนายกรัฐมนตรีได้เดินทางมาเยือนประเทศไทย  ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  องค์ พระประมุขสูงสุดของประเทศไทย  และเข้าเยี่ยมคารวะสมเด็จพระพุฒาจารย์  ประธานคณะ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ผู้แทนสูงสุดทางด้านพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
       สืบเนื่องมาจากสาเหตุดังกล่าว เป็นเหตุให้กระทรวงการต่างประเทศสืบสานแนวทางด้าน สันติภาพ นิมนต์พระสงฆ์ไทยไปเยือนอียิปต์เป็นเชิงตอบแทนบ้าง เพื่อเชื่อมกระชับสัมพันธไมตรี ระหว่างประเทศไทยกับอียิปต์ เป็นการจับมือกันของสองศาสนาใหญ่ในโลกคือพุทธกับอิสลามให้ แน่นแฟ้นและให้มีความเข้าใจต่อกันยิ่งขึ้น  เป็นการแสดงสมานฉันท์ความสามัคคีปรองดองกัน ระหว่างพุทธศาสนิกชนและอิสลามิกชน  เพื่อให้เกิดสันติสุขแบบยั่งยืนถาวรบนพื้นพิภพโลก ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศ โดยการติดต่อประสานงานของนายนพดล เทพพิทักษ์ เอกอัคร ราชทูตไทย ประจำกรุงไคโร ได้กราบอาราธนาพระสงฆ์ไทยให้ไปสนทนาพูดคุยและแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็นและหลักปริศนาธรรมทางด้านศาสนา  เพื่อเพิ่มพูนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน  มุ่งหวัง ประโยชน์สูงสุดให้เกิดการรู้จักกันและให้ความเคารพต่อกันทางด้านศาสนา พร้อมกับจัดให้มีการ พบปะหารือกับผู้นำสูงสุดของศาสนาอิสลาม และผู้นำสูงสุดของศาสนาคริสต์ ในดินแดนอียิปต? ทวีปอาฟริกาเหนือ
       ทั้งนี้  สมเด็จพระพุฒาจารย์  ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชได้มอบหมายให้พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) และ พระสงฆ์ไทยอีก  ๔  รูป  ประกอบด้วย  ๑)  พระวิสุทธิภัทรธาดา  รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ๒ )  พระศรีธวัชเมธี  ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ  ๓)  พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ และ ๔) พระครูสังฆพินัย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต เป็นผู้แทนคณะสงฆ์ไทย  ในการเดินทางไปเยือนอียิปต์ครั้งนี้  ระหว่างวันที่  ๙  -  ๑๒  มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑ พร้อมกับจัดให้มีคณะผู้สื่อข่าวและเจ้าหน้ที่จากกระทรวงการต่างประเทศ ไปร่วมกันทำข่าวการเยี่ยมเยือนครั้งนี้ อันถือว่าเป็นการต่อรอยจุดประวัติศาสตร์สำคัญอีกจุดหนึ่ง ฉะนั้น  การเยือนอียิปต์นอกจากเป็นการดำเนินนโยบายทางการทูตที่ฉลาดแล้ว  ยังแสดงถึงนัย ที่ ดี เพราะเท่ากับเป็นการส่งสัญญาณไปถึงพี่น้องชาวพุทธและชาวมุสลิมทั่วโลกให้สมัครสมาน สามัคคีปรองดองกัน นับเป็นครั้งแรกที่คณะสงฆ์ไทยเดินทางไปถิ่นอียิปต์อย่างเป็นทางการ ตาม คำเชิญของรัฐบาลไทยและผู้นำสูงสุดของศาสนาอิสลามในอียิปต์ ด้วยเหตุนี้ บันทึกหน้าแรกใน ประวัติศาสตร์ชาติไทย และประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาคณะสงฆ์ไทยในยุคปัจจุบัน ได้เริ่มขึ้น แล้ว

วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
สัมผัสอารยธรรมไอยคุปต์
       คณะเราก้าวลงจากเครื่องบินสายการบินอียิปต์แอร์ (MS961) ใช้เวลา ๙ ชั่วโมงเต็ม จากเมืองไทย พบตัวเองที่ภาคพื้นภายในของสนามบินไคโร ดินแดนไอยคุปต์ รู้สึกอุ่นใจขึ้นมาทันที เมื่อพบท่านเอกอัครราชทูตไทย  ประจำกรุงไคโร  ชื่อนายนพดล  เทพพิทักษ์  เข้ามาถวายการ ต้อนรับถึงภายในห้องตรวจคนเข้าเมือง ความรู้สึกบอกได้เลยว่าตื่นเต้นดี จากการเลี้ยวซ้ายแลขวา พลันหวนนึกถึงโชคชะตาที่นำพามาถึงประเทศอียิปต์ ประเทศที่มีสิ่งมหัศจรรย์หนึ่งในเจ็ดของโลก สายตาพุ่งมองตรงไปที่รูปโปสเตอร์ภูเขามหาพีระมิด ที่เขาติดไว้ภายในสนามบิน จิตเผลอคิดไป ว่า  ต้องหาโอกาสไปดูพีระมิดให้ได้  คงจะนอนตายตาหลับได้สักที  เพราะเป็นความใฝ่ฝันซึ่ง ซ่อนเร้นอยู่ภายในจิตใต้สำนึก คราวใดที่ได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับดินแดนอารยธรรมไอยคุปต์ ต่อมความ อยากรู้อยากเห็นกระตุ้นเตือนจิต มันเร้าใจกระซิบบอกอยู่ในอกตลอดเวลาว่าต้องไปดูให้เห็นกับตา สิบปากว่ายังไม่เท่าตาเห็น นึกถึงคำพูดที่ว่า เห็นนครวัดแล้วนอนตายตาหลับฉันใด เห็นพีระมิด แล้ว คงทำให้นอนตาหลับได้ฉันนั้น
       ขณะก้าวออกจากชานชาลาสนามบิน ก่อนขึ้นรถยนต์ที่เขาจัดมาถวายในการอำนวยความ สะดวก  ณ  ตรงบันไดทางลงนั่นเอง  ผู้สื่อข่าวจากสื่อต่างๆ  ทั่วโลกถ่ายรูปวูบแวบๆ  พลันเห็น พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ยืนให้สัมภาษณ์ข่าวที่เชิงบันไดถึงการเยือนอียิปต์ของคณะสงฆ์ไทย หลังจากนั้น ก็มีข้าวแพร่กระจายออกไปทั่วโลกว่า มีพระไทยไปเยือนดินแดนอิสลามอย่างเป็นทางการ นับเป็นครั้งแรกและเป็นประวัติศาสตร์ครั้ง สำคัญ ข่าวถูกตีกระพือออกไปทั้งในภาคภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ
       ท่านเอกอัครราชทูตไทย พาคณะเราไปยังสถานทูต เป็นเจ้าภาพถวายอาหารมื้อแรกใน ดินแดนอิสลาม แล้วส่งเข้าที่พัก ซึ่งตั้งอยู่ย่านใกล้กับแม่น้ำไนล์ เมื่อถึงที่พัก  ถือโอกาสเขียนจดหมายกราบเรียนหลวงพ่อพระราชรัตนโมลี  ประธาน ที่ปรึกษาอธิการบดี มีใจความว่า "เรียนประธานที่ปรึกษาที่เคารพ มาเยือนกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ระหว่าง  ๙  -  ๑๒  มีนาคม  ๒๕๕๑  ในโครงการนำคณะสงฆ์เยือนดินแดนมุสลิม  ตามคำเชิญ ของกระทรวงการต่างประเทศ มีอธิการบดีเป็นหัวหน้าคณะ ใช้เวลาบิน ๙ ชั่วโมง เวลาอียิปต์ช้า กว่าไทยเรา ๕ ชั่วโมง (ในฤดูร้อน) คณะเราจะถือโอกาสเข้าเยี่ยมชมมัมมี่ ที่พิพิธภัณฑ์กรุงไคโร

วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ของขวัญจากแม่น้ำไนล์

       กรุงไคโรมีคนมากมาย  รถยนต์วิ่งคับคั่งแน่นจนล้นถนน  รถที่ออกใช้วิ่ง  มองดูแล้ว รู้สึกว่าอยู่ในสภาพเก่าแก่ แทนที่จะอยู่ในพิพิธภัณฑ์ เจ้าหน้าที่ของรัฐปล่อยให้วิ่งตามท้องถนนได้ นับนิ้วดูประชากรในกรุงไคโรเพียงแห่งเดียว ข้อมูลเมื่อปี ๒๕๔๔  นับได้ถึง ๑๑ ล้านคน แต่พอถึง ปี ๒๕๕๑  ตัวเลขพุ่งสูงลิ่วขึ้นเป็น ๑๗ ล้านคน สหประชาชาติได้รายงานจำนวนประชากรโลก ว่า ในปี ๒๕๓๐  มีประมาณ ๕ พันล้านคน  ในปี ๒๕๔๒  เพิ่มขึ้นเป็น ๖ พันล้านคน  และยัง คาดการณ์ว่าในปี ๒๕๕๖ นี้ ประชากรโลกน่าจะมีตัวเลขถึงประมาณ ๗ พันล้านคน กรุงไคโร เป็นเมืองแหล่งหนึ่งที่เผชิญกับปัญหาด้านประชากรล้นโลก ที่ใดมีคน ที่นั่นมีปัญหา ฉะนั้น ใหัใช้ ปัญญาไปไขปัญหา ยิ่งมีคนมาก ย่อมยิ่งมีปัญหาตามมามาก หากมิรู้จักจัดการแก้ไขให้ดี ปัญหา ประชากรล้นโลก และปัญหาด้านที่พักอาศัย การกินการอยู่ การหลับนอน ล้วนสาระพัดปัญหา จะติดตามมาอย่างแน่นอน ในกรุงไคโรของอียิปต์มีคนมาก รถเยอะ ย่อมเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ ถนนหนทางสกปรกรกรุงรัง หายใจไม่ค่อยโล่งอก มองเห็นกองขยะถูกทิ้งเกลื่อนกลาดเมือง จราจร ไร้กฎระเบียบ  ใครอยากขับไปไหนก็ไป  ไม่ต้องเคารพกฎกติกากันล่ะ  นี่คือสภาพของกรุงไคโร ในปัจจุบันที่ไปพบไปเห็นมา เห็นอย่างนี้ทำให้รู้สึกรักตัวกรุงเทพฯ ขึ้นอีกแยะ
       แต่ที่อียิปต์ดินแดนในฝันของนักเดินทาง มีสิ่งโดดเด่นเป็นที่ยอมรับกันว่า อยู่ที่ "โบราณ วัตถุและโบราณสถาน" โดยเฉพาะมหาพีระมิดและมัมมี่ ในตำราเล่าขานบอกกล่าวไว้ว่า ปัจจัย ตัวแปรสำคัญที่ทำให้โบราณสถาน  โบราณวัตถุชำรุดเสื่อมโทรมมี  ๒  ปัจจัยหลัก  กล่าวคือ เกิดจากสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะความชื้น และน้ำมือของตัวมนุษย์เองที่ไม่รู้จักเพียงพอ หาก ไม่รู้จักควบคุมกิเลสให้อยู่ในกำมือ ผู้คนตกอยู่ในกระแสของความชอบ (โลภ) ชัง (โกรธ) หลง (โมหะ) ยึดมั่นตัวกูของกู (อุปาทาน) เป็นสรณะที่พึ่งแทนพระรัตนตรัยแล้ว เขาจะมีอะไรเป็นที่ พึ่งได้ล่ะ มนุษย์บางพวกไม่ยอมรู้จักหลักวิชาการรักษา บางคนร่ำเรียนมาเรียกว่าพอรู้จัก แต่ปรากฏ ว่าวิชาเกินไปบ้าง ขาดหล่นไปบ้าง เมื่อไรจะมีความสมดุลพอดีกันสักที
       ขณะรถที่พาคณะเราวิ่งมุ่งหน้าไปทางสู่ทิศตะวันตก  จุดหมายหลักเพื่อเข้าเยี่ยมชม สิ่งมหัศจรรย์ หนึ่งในเจ็ดของโลก มหาพีระมิดซึ่งมีอายุกว่า ๕,๐๐๐ ปี ได้ยินเสียงกระซิบจากเพื่อนๆ ที่ฝากมาจากเมืองไทยว่า อย่าลืมหารูปใบหน้าสฟังซ์ เจ้าสิงโตจมูกบี้ ภาพงามๆ มาฝากบ้างนะ จะลืมเลือนไปได้อย่างไรล่ะ ถึงไม่เตือนก็ต้องดิ้นรนไขว่หาตะเกียกตะกายไปให้ถึงอยู่แล้ว
       ขณะที่รถวิ่งเข้าไปใกล้ เพื่อเข้าชมสิ่งมหัศจรรย์ของโลก มีเวลาเพ่งพินิจดูรูปร่างลักษณะ หน้าตาของชาวอียิปต์ ตามหลักวิชามนุษยวิทยา ว่าด้วยผู้คนมนุษย์และจากอียิปต์วิทยา พอบอกเล่ากล่าวขานได้ว่า  คนอียิปต์ปัจจุบันเกิดจากการผสมประสานของคนหลายเชื้อชาติด้วยกันจนมองแทบไม่ออกว่า คนเชื้อสายไอยคุปต์ดั้งเดิมมีหน้าตาเป็นอย่างไรกันแน่ ลองหลับตานึกถึง ความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าเมเนส เมื่อครั้ง ๕,๐๐๐ ปีก่อนโน้น ครั้งพระองค์ทรงผนวกรวมดินแดน อียิปต์เหนือเข้ากับอียิปต์ใต้ไว้ในอุ้งพระหัตถ์ ชาวไอยคุปต์คงจะมีผิวพรรณคล้ำเป็นแน่แท้ ประเทศ อียิปต์ตั้งอยู่ในดินแดนทวีปอาฟริกาตอนเหนือ มีทะเลเมดิเตอร์เรเนียนแบ่งทวีปกันระหว่างยุโรป กับอาฟริกา หากนึกดูภาพเหตุการณ์ย้อนหลังไป ๒,๐๐๐ ปีที่แล้ว ดูพระนางคลีโอพัตรา พระราชินี ลือชื่อแสนงาม  พระนางมีผิวดำไหม  พระนางสืบเชื้อสายมาจากพวกกรีก  วงษ์ปโตเลมี  สืบ เชื้อสายเหล่ากอมาจากพวกฝรั่งผิวขาว พวกกรีกผิวขาว แต่ต่อมาประเทศอียิปต์ถูกพวกแขกขาว ชาวเปอร์เซียแถวอิรักอิหร่านเข้าไปครอบครองดินแดน กลายเป็นแขกผสมผิวขาวปนเปผสมกัน เข้าไปอีก ในที่สุดพวกมุสลิมจากอาณาจักรออตตามันประเทศตุรกี ซึ่งเป็นพวกแขกผิวขาวเข้าไป ครอบครองประเทศอียิปต์โดยสิ้นเชิง ฉะนั้น จึงลงความเห็นเป็นหลักวินิจฉัยเบื้องต้นว่า ชาวอียิปต์ เป็นพวกแขกขาวผิวคล้ำ  ผสมประสานกันหลากหลายมากแตกต่างจากพวกแขกชาวอินเดีย ศรีลังกา ในแถบทางเอเชียใต้ ที่ถือว่าเป็นพวกแขกดำ ทว่าเมื่อพูดถึงแขกแล้ว ก็ขอพูดให้หมดเปลือก หน่อย เพราะยังมีแขกอีกพวกหนึ่ง ที่เรียกว่าแขกมัวร์ หมายถึงแขกชนชาติอาหรับและเปอร์เซียที่ นับถือศาสนาอิสลาม อพยพเข้าไปอยู่ในประเทศสเปน ทางยุโรป แขกมัวร์คือแขกอิสลาม แล้ว ความคิดของข้าพเจ้าก็หยุดกึกนิ่ง เพ่งสายตาจ้องมองไปข้างหน้า เพราะเห็นยอดเขามหาพีระมิด ตั้งอยู่ข้างหน้าโน้น
 
หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก
       รถวิ่งเข้าถึงเขตกิซา (kiza) ชานกรุงโคไร รัศมีประมาณ ๒๕ กิโลเมตร ระหว่างกรุง กับมหาพีระมิดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก สายตาพุ่งจับมองไปที่มหาพีระมิดลูกแรก ชื่อคูฟู ซึ่งโผล่ให้ เห็นงามเด่นเป็นสง่า เห็นครั้งแรกใจมันเต้นระรัวระทึกใจ สิ่งมหัศจรรย์หนึ่งในเจ็ดของโลกปรากฏ ต่อสายตาแล้ว  หลังจากนั้นต่อมา  ก็มองเห็นพีระมิดลูกที่สองชื่อคาเฟร  โผล่ออกมาให้เห็นแก่ สายตาทั้งคู่อีกลูกหนึ่ง รถยังขับแล่นไปเรื่อยๆ ยังไม่ทันพ้นรัศมีแหล่งที่พักอยู่อาศัยของผู้คนดีนัก พลันเห็นสิ่งก่อสร้างบ้านเรือนที่รายล้อมโอบอ้อมเข้ามาหามหาพีระมิดรุกคืบเข้าไปเรื่อยๆ จนเกรง ว่าต่อไปภายหน้าอีกไม่นานนัก  ผู้คนจะรุกคืบใกล้เข้าไปอยู่ติดกับมหาพีระมิด  แหล่งมรดกโลก เผ่าพันธุ์ผู้คนขยับขยายเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ใกล้ชิดกับสิ่งมหัศจรรย์ ด้วยเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ การค้าขายทำมาหากินบ้าง ความอยู่รอดของปากท้อง ความยากจนกับแหล่งมรดกโลกเป็นสิ่งท้าทาย ว่าจะอยู่ร่วมกันอย่างไรในภายหน้า
       รถวิ่งไต่เนินเขาเล็กๆ ไปอีกชั่วอึดใจหนึ่ง ก็ไปจอดสนิทอยู่ด้านหน้าของมหาพีระมิดคูฟู มหาพีระมิดลูกใหญ่ เขาบอกว่าเดิมสูง ๑๔๖ เมตร แต่ปัจจุบันวัดถึงยอดได้แค่ ๑๓๗ เมตร หายไป แล้ว ๙ เมตร ส่วนที่หายคือที่ตรงส่วนปลายยอด ซึ่งไปตั้งอยู่ที่ไหนแห่งใดไม่ทราบแน่ บางคนว่า เอาไปตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์กรุงไคโร บ้างก็ว่าส่วนยอดพีระมิดซึ่งทำด้วยหินปูน ถูกฟ้าผ่าหล่นหักลง มาแล้ว บ้างว่าเขาเอาชิ้นส่วนนั้นไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ที่อื่น บ้างก็ว่าหินที่บุด้านนอกถูกรื้อไปสร้าง ป้อมในกรุงไคโร ต่างคนต่างว่ากันไป หลายคนหลายความคิด ความจริงมีสิ่งเดียว แต่อธิบายได้หลายอย่าง คณะเราลองเดินเข้าไปดูใกล้ๆ และใช้มือสัมผัสแตะต้องก้อนหินดู ก้อนหินก้อนโต ยิ่งใหญ่มโหฬารเหลือเกิน แต่ละก้อนๆ ขนาดความยาวไม่ต่ำกว่า ๑.๕ เมตร น้ำหนักก้อนละประมาณ ๒ ล้านตัน บางทฤษฎีบอกว่า หินมหาพีระมิดถูกนำมาจากเมืองลักซอร์โน้น ลากมากัน แต่ละ ก้อนขนาด ๑.๕๐ เมตร คณะเรามีไกด์ทัวร์นำทางเข้าไปลอดใต้อุโมงค์ ที่ลึกลงไปข้างล่างประมาณ ๒๐ เมตร
       เจ้าหน้าที่ไกด์ทัวร์นำทางพาคณะเราลงไปทางอุโมงค์ข้างล่าง มุดลูกมหาพีระปิดเข้าไป จนถึงจุดหนึ่ง เห็นกุญแจเขาใส่ล็อกแน่นหนาดี ได้มองเห็นทางขึ้นและทางลงแล้ว เขาบอกว่าไม่ มีอะไรหลงเหลืออยู่ภายใต้มหาพีระมิดลูกนี้อีกแล้ว  และไม่คุ้มค่ากับเวลาที่จะต้องลงไปเยี่ยม ชมห้องมหาสมบัติมหาศาลที่ไม่มีอะไรอยู่เลย สู้ออกไปข้างนอกดีกว่า เพียงพามาให้ดูหน่อยเป็นยา แก้กระษัย ใหเกลับไปขเางนอกดีกว้า แลเวใหเคนขับพาไปยังจุดทัศนศึกษา ให้มองเห็นมหาพีระมิด ทั้ง ๓ ลูกตั้งอยู่เรียงรายกันไป คณะเราเชื่อสนิทใจ ต่างพากันเดินกลับขึ้นรถ โชเฟอร์ขับรถวิ่งผ่าน พีระมิดคาเฟรลูกที่สอง ซึ่งเป็นภูเขาลูกที่พ่อสร้างขึ้น เขาบอกว่านับเป็นพระองค์ที่ ๔ ในราชวงศ์ เดียวกันที่สร้างขึ้นมา  ส่วนสูงปัจจุบัน  ๑๓๖  เมตร  ถ้ามองแต่ไกล  นึกว่าพีระมิดคาเฟรสูงกว่า มหาพีระมิดคูฟูลูกแรก แต่พอดูใกล้ๆ จริงๆ ทำให้ทราบว่า นี่เป็นความชาญฉลาดของชาวไอยคุปต์ โบราณอย่างยิ่ง ที่เขาไม่สร้างพีระมิดตัวลูกให้สูงกว่าพีระมิดตัวพ่อซึ่งเป็นบรรพบุรุษ เข้าทำนอง ที่ว่า "ต้นไม้สูงกว่าแม้มักจะแพ้ลมบน คนสูงกว่าคนอื่นจะแพ้ภัยตนเอง" กระมัง ทว่าเขาสร้าง พีระมิดคาเฟรตั้งอยู่บนเนินเขาสูงนิดหนึ่ง เมื่อแลดูในระนาบเดียวกัน จะเห็นเรียงรายได้สัดส่วน สวยงามมาก  ในด้านทิศตะวันออของมหาพีระมิดลูกนี้  เป็นที่สิงสถิตของเจ้าสฟิงซ์สิงโตยักษ์ จมูกบี้ ซึ่งเคราหลุดหายไป ความใฝ่ฝันของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก นอกจากฝันว่ามาเห็นมหาพีระมิด แล้ว ยังฝันต่อว่าสักวันหนึ่งในชีวิต ขอมายืนเต๊ะท่าถ่ายรูปกับเจ้าสฟิงซ์สักครั้งเถิด
       รถวิ่งผ่านมหาพีระมิดลูกที่สาม ชื่อเมนเคอเร สูง ๖๖ เมตร ถือว่าเป็นลูกเล็กที่สุดใน บรรดาสามลูกที่ตั้งอยู่เรียงรายกัน อันที่จริง ถ้ามองให้ดีๆ ด้วยตาเปล่า จะเห็นว่า ถัดไกลออกไป หน่อย ยังมีพีระมิดลูกย่อมๆ อื่นๆ อีกประปราย แต่ไม่งามสง่าเหมือน ๓ ลูกดังกล่าวนี้ ลูกพีระมิด อื่นๆ จะเห็นได้ชัดเจนขึ้น เมื่อไปยืนมองดูที่จุดรูปปั้นยักษ์สฟิงซ์สิงโตคน
       ณ ลานจอดรถอเนกประสงค์ นักท้องเที่ยวดื่มด่ำกับทัศนียภาพข้างหน้า เพราะมองเห็น มหาพีระมิดทั้ง ๓ ลูกตั้งอยู่เรียงรายในระนาบเดียวกัน ณ จุดนี้เป็นจุดขายที่คนทั่วโลกใฝ่ฝันมากัน คณะเราลงมาจากรถที่ลานจอดรถขนาดย่อม มองเห็นพ่อค้าแม้ขายคลาคล่ำ ขายสิ่งของสินค้า นานาชนิด  เป็นตลาดขนาดย่อมที่มีสินค้าให้เลือกชมหลากหลายตามประสาแขก  มองเห็น วิถีชีวิตชาวอียิปต์ที่แต่งตัวชุดคลุมยาว ในมือถือไม้เท้า เดินขวักไขว้ไปมา ตรงหลังเนินเขาจุดนี้ ถ้าทอดสายตาออกไปกว้างไกล จะมองเห็นคนขี่อูฐชมมหาพีระมิดบ้างประปราย อูฐที่ใช้ในงาน เฉพาะกิจ มีโหนกยาว เขาบอกว่ามันทนทานมากทำงานได้เต็ม ๑ วัน ถ้าหากเดินฝ่าทะเลทราย จะดื่มน้ำเก็บไว้ในโหนก อยู่ได้เป็นอาทิตย์ จากจุดเนินลานจอดรถ ถ้าทอดตายาวไกลออกไป จะ มองเห็นทะเลทรายสะฮาราที่ยาวอ้างว้างไกลสุดสายตา คนแดนไกลไม่คุ้นเคยกับท้องถิ่น คงไม่มี ใครบ้าบิ่นลุยทะเลทรายเช่นนี้  ปัจจุบันมีชนไม่กี่เผ่าที่ยังสามารถเดินหรือขี่อูฐข้ามทะเลทราย สะฮาราได้ คณะเรามองชมทัศนียภาพจนอิ่มตาอิ่มใจ แล้วก็อำลาจากจุดขายนัดพบ ที่ความฝัน พบกับความจริง กลับขึ้นรถมุ่งหน้าไปเยี่ยมเจ้าสิงโตจมูกบี้ จุดเยี่ยมชมที่ขาดไม่ได้อีกจุดหนึ่ง

สฟิงซ์สิงโต
  สฟิงซ์สิงโตตัวนี้ เขาว่าสร้างขึ้นมาภายหลัง หลังจากมหาพีระมิด ๓ ลูกสร้างเสร็จแล้ว เดิมทีตามบริเวณนี้มีพีระมิดประมาณ ๒๐๐ ลูก สร้างโดยลูกบ้าง หลานบ้าง เหลนบ้าง ของฟาร์โรห์
รวมทั้งขุนพลต่างๆ แต่ก็ถูกทำลายโดยท่านฟาร์โรห์ ที่ศรศิลป์ไม่ตรงกัน คำว่า "สฟิงซ์" เขาว่า หมายถึง "ความหวาดกลัว" มีหน้าที่คอยดูแลมหาพีระมิด ที่มันจมูกหักนั้น บางคนว่าเพราะโดน ลมพัด บางคนก็ว่าเป็นเป้าทดลองลูกปืนของทหารกองทัพนาซี คณะเราหลังจากใช้เวลาพอสมควรแล้ว ก็กล่าวอำลาเจ้าสฟิงซ์สิงโตยอดรักจมูกบี้ เดิน ทางกลับจากมหาพีระมิด ที่ตั้งทนทานต่อการพิสูจน์ของนักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ นักอียิปต์ วิทยา และนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก รถวิ่งย้อนกลับเส้นทางเดิม เข้ากรุงโคโรที่คับคั่งด้วยรถและผู้คนอีกครั้ง ผ่านป้อมปราการ ซิตาเดล (citadel) ไปรษณีย์กลาง และสถานีรถไฟกรุงโคโร ถ้ามองดูจากย่านกลางใจเมืองไคไร จะเห็นยอดสุเหร่าตั้งอยู่สูงเสียดฟ้า ชาวอียิปต์ปัจจุบันนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ ๙๐ ที่เหลืออีก ร้อยละ ๑๐ นับถือศาสนาคริสต์นิกายคอปติก (coptic) ออร์โธดอกซ์ ในประเทศไทยเราก็มีโบสถ์ คอปติกอยู่วัดหนึ่ง ชื่อเซนต์ มาร์ก (st.mark) ตั้งอยู่ที่แถวคลองจั่น กรุงเทพฯ คริสต์นิกายนี้มีระบบปกครองคณะสงฆ์แยกต่างหาก จากโป๊ปสันตปาปาที่สำนักวาติกัน ซึ่งเป็นนิกายเก่าแก่มาก ที่สุด แต่คอปติกเป็นนิกายสายกรีกออร์โธดอกซ์แท้ดั้งเดิม เข้ามาตั้งรกรากในอียิปต์ก่อนที่พวกมุสลิม จะมาตั้งรากฐานในดินแดนสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์เสียอีก
 
เข้าโป๊ป ที่ ๓
       ภารกิจแรกเริ่มอย่างเป็นทางการ หลังจากทัวร์สิ่งมหัศจรรย์โลก คือการที่คณะผู้แทน ประเทศไทย เข้าพบปะหารือกับท่านโป๊ป เซนโนดร้าที่ ๓ ผู้นำสูงสุดของคริสต์ศาสนา สังกัดนิกาย คอปติกออร์โธดอกซ์ ณ สำนักงานใหญ่ของวัดคอปติก ในกรุงไคโร ในวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๑ นิกายคอปติกเป็นนิกายใหญ่ที่ผู้คนนับถือกันมากในอียิปต์และอบิสซิเนีย  มีประวัติความเป็นมา เก่าแก่ สืบเชื้อสายมาจากพวกกรีก ออร์โธดอกซ์ เขานับถือพระเยซูเจ้าเหมือนพวกคริสต์ทั่วไป คอปติกเข้ามาเผยแผ่ในประเทศอียิปต์  เมื่อครั้งสมัยที่เมืองหลวงอียิปต์ตั้งอยู่ที่เมืองอเลกซาน เดรีย เมืองท่าน้ำแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในราวประมาณพุทธศักราช ๕๐๐ (เริ่ม ค.ศ.๑) โน้น โบสถ์ของคอปติกมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า  โบสถ์นักบุญมาร์ก  (St.  Mark)  มีสาขาตั้งอยู่ทั่วไป ทั่วโลก ในเมืองเยรูซาเลม ในประเทศอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย แถบกลุ่มประเทศยุโรป และ กลุ่มประเทศอาหรับที่มีอ่าวน้ำ เช่นประเทศคูเวต เป็นต้น ในประเทศไทยเองก็ยังมีคอปติกมีสาขา ตั้งอยู่ด้วย ตามประวัติเล่าว่า คอปติกเข้ามาตั้งรกรากในอียิปต์ก้อนที่ศาสนาอิสลามจะเข้ามาเป็น ศาสนาประจำชาติ นักบวชเขาจะแต่งตัวเป็นพระนักบวช ถือกฎระเบียบบวชตลอดชีวิต สึกออก ไปไม่ได้ ในอียิปต์มีโบสถ์คริสต์คอปติกประมาณ ๒๒๐ กว่าโบสถ์ สำนักงานใหญ่ของวัดคอปติกที่ คณะเราไปเยี่ยม เป็นแหล่งผลิตพระนักบวชให้คริสต์ศาสนา เสกให้เป็นพระบิชอป มีแห่งเดียว ในโลก ฉะนั้น ตัวสำนักงานใหญ่นี้จึงถือว่าเป็นจุดศูนย์กลางใหญ่ของคริสต์คอปติก มีผู้นำสูงสุด มีฐานะเทียบเท่ากับสมเด็จพระสันตะปาปา แห่งสำนักวาติกัน แต่คอปติกเป็นนิกายอิสระ เป็น ใหญ่ในตัวเอง ไม่ขึ้นกับสำนักวาติกันที่มีผู้นับถือในนิกายออร์โธดอกซ์เท่านั้น ฉะนั้น คอปติกจึง ถือว่าเป็นนิกายแท้ดั้งเดิมในคริสต์ศาสนา
       อธิการบดี มจร. กล่าวความให้เราฟังก่อนว่า ในประเทศอียิปต์มีผู้นับถือศาสนาส่วน ใหญ่เป็นอิสลาม และยังมีผู้นับถือคริสต์คอปติกอีกร้อยละ ๑๐ แต่ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ สุข ในประเทศไทยเรามีลักษณะคล้ายคลึงกับอียิปต์มาก เพราะผู้คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธแต่ก็มีผู้นับถือศาสนาอิสลามและคริสตอยู่บ้างประปราย ศาสนิกต่างๆ อยู่ร่วมกันได้ ฉะนั้น จึง อยากให้เราเรียนรู้และให้เข้าใจว่า ศาสนาอิสลามและคริสต์ในอียิปต์เขาอยู่ร่วมกันได้อย่างไร ตัว ศาสนาเขาได้ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาสังคมได้อย่างไร โดยเฉพาะตั้งข้อสังเกตว่า องค์กรศาสนา ต่างๆ สามารถเข้าไปมีบทบาทในสังคมได้อย่างไร
       ท่านโป๊ป เซนโนดร้า มีเลขานุการเป็นบิชอบถึง ๒ ท่าน ได้ออกมาต้อนรับก่อน และรอ เวลาจนท่านโป๊ปออกมาพบปะปฏิสันถารกับคณะเรา คณะสงฆ์ไทยมีโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะองค์ประมุขสูงสุด ท่านโป๊ป เซนโนดร้า องค์ ที่ ๓ แห่งคริสต์คอปติก ซึ่งท่านโป๊ปถวายให้คำแนะนำที่มีคุณค้ายิ่งว่า ให้เราช่วยกันสร้างมิตรภาพที่ดีต่อ กัน โดยเฉพาะเข้าร่วมกิจกรรม เช่นการประชุมทางด้านศาสนา ท่านเองเคยเข้าร่วมประชุมกับ กลุ่มอิสลาม ซึ่งมีอิหม้าม มุฟติ ร่วมประชุมอยู่ด้วย จุดสำคัญคือต้องสร้างมิตรภาพกับเขา ในโลก นี้มีผู้นับถือศาสนาอิสลาม ๒ กลุ่มใหญ่ คือสายกลาง ยึดถือหลักคำสอนอิสลามที่แท้ กับสายนิยม ความรุนแรง ยึดถือหลักคำสอนโดยตีความเข้าหาตัว เพื่อผลประโยชน์ของตนและพวกพ้อง โดย ใช้วิธีการแบบรุนแรงในการเข้าไปแก้ไขปัญหา ฉะนั้น เราควรคบหาสมาคมกับพวกสายกลางให้มาก พร้อมกับให้ความเคารพต่อกัน เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นต่อกันอย่างจริงใจ เพราะ ถ้าร่วมประชุมฟังความคิดเห็นของกันแล้ว จะเห็นว่าแนวความคิดของเราจะคล้ายๆ กัน คือรัก สันติภาพ ต้องการให้เกิดความสงบสุขแก่มวลมนุษยชาติ ฉะนั้น สิ่งสำคัญคือการยอมรับคนอื่น แม้จะมีความแตกต่างกันบ้างก็ตาม ให้เรายอมรับเขาในฐานะที่เขาเป็น และให้เราให้ความสนใจเฉพาะในเรื่องจิตวิญญาณของเพื่อนมนุษย์เท่านั้น ไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องทางการเมือง เพราะจิต ใจของมนุษย์ไม่ใช้การเมือง ให้ช่วยดูแลเด็กตั้งแต่ยังวัยเยาว์ ตั้งโรงเรียนสอนศาสนาวันอาทิตย์ ขึ้น เปิดสอนมาเป็นเวลาร้อยปีแล้ว เพื่อดึงคนให้มาเข้าวัด และฝึกฝนเขาแต่ยังเยาว์วัย และเมื่อ เขาเติบโตขึ้นแล้ว ให้ช่วยดูแลเขาต่อไปอีก สรุปว่าให้ดูแลเขาตั้งแต่เกิดจนตาย ปัญหาของเด็ก แก้ไขได้ ถ้าเราเปิดใจกว้างให้เขา และเขาเปิดใจกว้างให้เรา การพบปะพูดคุยกัน จะช่วยแก้ไข ปัญหาของเยาวชนได้
       หลังจากจบสนทนาแล้ว  มีผู้สื่อข่าวโทรทัศน์ขอเข้าสัมภาษณ์  ท่านโป๊ป  เซนโนดร้า องค์ ที่ ๓ และอธิการบดี เป็นข้าวโทรทัศน์ท้องถิ่นของอียิปต์นิมิตหมายที่ดีในการมาเยือนกรุงไคโร
ครั้งนี้ เมื่อได้เวลาพอสมควร จึงกล่าวคำอำลา กลับไปตั้งต้นที่ทำเนียบเอกอัครราชทูตไทย

เข้าร่วมหารือกับอธิการบดีมหาวิทยาลัยอัลอัชหาร์
   ในภาคบ่าย ไปเยี่ยมมหาวิทยาลัยอัลอัซหาร์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอิสลามที่เก่าแก่มากที่ สุดในโลก ก่อตั้งขึ้นมามีอายุกว่า ๑,๐๐๐ ปี เทีบบเท่ากับมหาวิทยาลัยนาลันทาในอินเดียของพุทธ แต่เขายังดำรงคงอยู่จนถึงปัจจุบัน แถมมีการให้ทุนการศึกษาฟรีให้นักเรียนทั่วโลกที่สมัครเข้ามาเรียน ใน ๒ สาขาวิชา เป็นการบังคับว่าต้องเรียนวิชาด้านศาสนาของเขา ได้แก่วิชาศาสนาอิสลาม และภาษาอารบิก (อาหรับ) จึงจะแจกทุนให้ ในปัจจุบันมีนักเรียนไทยเข้าศึกษาอยู่กับเขาประมาณ ๒ ,๐๐๐  คน  ถือว่าเป็นหนึ่งในสามมหาวิทยาลัยสำคัญที่มีชื่อเสียงมากในประเทศอียิปต์  คือ ๑  . มหาวิทยาลัยกรุงไคโร ๒. มหาวิทยาลัยอัลอัซหาร์ และ ๓.มหาวิทยาลัยอเมริกันในกรุงไคโร
       นอกจากเรียนเรื่องอิสลามศึกษาและภาษาอารบิกเป็นหลักใหญ่แล้ว  มหาวิทยาลัยอัลอัซหาร์ยังเปิดสอนในหลายสาขาวิชา เหมือนกับมหาวิทยาลัยทางโลกอื่นทั่วไป เช่น วิชาแพทย์ ศาสตร์ สังคมศาสตร์ เป็นต้น แต่ที่สร้างชื่อเสียงมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งคือทางด้านอิสลามศึกษา เพราะสามารถผลิตนักปราชญ์ด้านศาสนาอิสลามโด่งดังไปทั่วโลก  ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ประเทศ อียิปต์เป็นแหล่งศึกษาสำคัญ  และเป็นศูนย์กลางการศึกษาของศาสนาอิสลามในโลกปัจจุบัน ศ.ดร. อัลมัด อัลเตเยบ (Professor Dr. Almad Al-Tayyeb) เป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัย แห่งนี้
       คณะสงฆ์ไทยเรานำโดย ศ.ดร. พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งประเทศไทย มีชื่อเสียงโดดเด่นทางด้านพุทธ ศึกษา ได้เข้าพบปะและพูดคุยหารือกับ ศ.ดร.อัลมัด อัลเตเยบ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัลอัซหาร์ ซึ่งมีชื่อเสียงเด่นทางด้านอิสลามศึกษาของโลก
        ในห้องประชุมรับรองของมหาวิทยาลัยอัลอัซหาร์ พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี มจร. กล่าวนำขึ้นก่อนว่า ในประเทศไทยเรา มีมหาวิทยาลัยทางด้านพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดการศึกษา ถวายให้แก่พระและคฤหัสถ์ทั่วไป โดยเฉพาะมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และเมื่อปี ๒๕๕๐ ได้ มีโอกาสพบปะพูดคุยกับแกรนด์อิหม่าม ดร.มูฮัมหมัด ชัยยิด ฏอนฏาวี ซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดศาสนา ของศาสนาอิสลามแห่งประเทศอียิปต์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ มีการเรียนการสอนในวิชาศาสนาเปรียบเทียบ และศึกษาตัวคัมภีร?ในทางศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามด้วย ฉะนั้น จึงรู้สึกดีใจมากที่ท่านอธิการบดีเปิดโอกาสให้เรามาเยี่ยมเยือนมหาวิทยาลัยอิสลาม ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่มากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก สร้างนักปราชญ์ทางศาสนาอิสลามไว้มากมาย เรารู้จัมหาวิทยาลัย แห่งนี้เป็นอย่างดี  เพราะสองปีที่แล้ว  เจ้าหน้าที่ยูเนสโกได้พูดถึงเกียรติคุณของมหาวิทยาลัย แห่งนี้ให้เราฟัง  ในคราวที่ยูเนสโกขอให้มหาจุฬาฯ  จัดการศึกษาวิชาพุทธศิลป์ให้เหมือนกับ มหาวิทยาลัยอัลอัซหาร์ที่มีการศึกษาอิสลามศิลป์ และเราทราบว่า สถาบันแห่งนี้มีนักเรียนไทยสมัคร เข้ามาศึกษาเล่าเรียนกันมาก ฉะนั้น จึงอยากสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกันให้ยั่งยืนสืบไป
       ศ .ดร.  อัลมัด  อัลเตเยบ  ได้กล่าวปฏิสันถารตอบรับว่า  ขอยินดีต้อนรับชาวพุทธสู่มหาวิทยาลัยอิสลามของเรา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่มากที่สุดในภูมิภาคแห่งนี้ ในอดีตเคยมี ชาวพุทธเข้ามาศึกษาเล่าเรียนที่นี่บ้างเหมือนกัน เราสอนหลักซูฟี่ (หลักคำสอนอิสลามที่เคร่งครัด มีพระนักบวชในอิสลาม)  และสอนหลักคำสอนอิสลามเน้นทางสายกลาง  แต่ก็ยินยอมให้นิสิต ทุกคนเรียนรู้หลักศาสนาอื่นๆ เช่นหลักปรัชญาพระพุทธศาสนาบ้าง เมื่อสองปีที่แล้ว ข้าพเจ้าได้ มีโอกาสไปเยี่ยมวัดพุทธทีประเทศไทย ในทีแรกรู้สึกอึดอัดใจมากเมื่อต้องเข้าไปภายในวัด แต่ต่อ มาเริ่มเข้าใจความจริง และมองเห็นว่าศาสนาพุทธก็เหมือนกับศาสนาอิสลามและคริสต์ ที่สอน เรื่องสันติภาพ ทางแห่งสันติสุข ข้าพเจ้าเคยพบท่านองค์ทะไลลามะที่ประเทศออสเตรีย และสนทนา ธรรมกันประมาณหนึ่งชั่วโมง ข้าพเจ้าขอยืนยันรับรองว่า ไม่มีการบีบบังคับให้คนต้องหันมานับถือ ศาสนาใดศาสนาหนึ่งในโลก เพราะในคัมภีร์โกหร่าน พระเจ้าสร้างมนุษย์ให้มีความหลากหลาย ถ้าพระองค์ทรงปรารถนาให้คนนับถือเพียงศาสนาเดียวกันแล้วไซร้ ก็คงสร้างไปแล้ว แต่พระเจ้า แสดงเจตจำนงให้มีหลายศาสนาได้ และให้ทุกคนพยายามอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในโลกนี้ ในเดือนเมษายนข้างหน้านี้  ข้าพเจ้าจะมีส่วนร่วมในการจัดให้มีการพูดคุยกัน  (dialogue)  ที่เอเชีย ตะวันออกกลาง โดยมีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างผู้นับถือศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม จะพูดคุยกันในเรื่องต่างๆ เช่น เศรษฐกิจของโลก เป็นต้น
       นักเรียนไทยมาเรียนกันที่นี้มีมากหลายคนก็จริง แต่เมื่อเรียนจบและกลับบ้านไปประเทศ ไทยแล้ว พอข้าพเจ้ามีโอกาสพบกับพวกเขาอีก รู้สึกดีใจมาก เพราะมหาวิทยาลัยเราสอนให้ผู้นับถือ อิสลามทุกคนต้องให้ความเคารพต่อศาสนาอื่น ให้ดำเนินชีวิตทางสายกลาง ไม่ให้เป็นพวกนิยม ความบ้าคลั่งหรือใช้ความรุนแรงแก่ไขปัญหา เราสอนหลักคำสอนอิสลามที่แท้ (true Islam) แต่ อาจจะมีปัญหาบ้าง เป็นเพราะเกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองเข้ามาแทรกแซง จึงทำให้คนเปลี่ยนแปลงไป แต่เราขอร้องให้ทุกคนยึดมั่นต่อหลักคำสอนอิสลามที่แท้จริง ฉะนั้นอยากให้มีการแลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรมและมีศูนย์ติดต่อประสานงานกับชาวพุทธในประเทศไทยบ้าง
       อธิการบดี มจร. กล่าวเสริมว่า การสอนหลักศาสนาให้เป็นแบบสายกลาง ไม่ให้นิยม แบบคลั่งไคล้หรือใช้ความรุนแรงนี้ จะทำอย่างไรให้ดำเนินการต่อไปได้แบบยั่งยืน เพราะอยากให้มีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างนักเรียนและครูบาอาจารย์กันบ้าง ศ.ดร. อัลมัด อัลเตเยบ ตอบว่า นักเรียนที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ใช้ชีวิตดำเนิน ตามหลักคำสอนอิสลามสายกลาง ส่วนที่คลั่งศาสนาหรือนิยมความรุนแรงล้วนมาจากที่แห่งอื่น ประเทศอื่น ไม่ใช่จากมหาวิทยาลัยของเรา เพราะเราไม่เคยสอนศาสนาแบบสายบ้าคลั่ง เรายัง สอนหลักปรัชญาศาสนาอื่นๆ ด้วย แต่การเข้าเรียนที่นี่ได้นั้น ต้องให้เขามีความรู้พื้นฐานด้านศาสนา อิสลาม ก่อนจะอนุญาตให้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้ ให้มีพื้นฐานด้านศาสนาอิสลาม ก่อน ในขั้นพอสมควร โดยให้เรียนรู้กฎระเบียบและต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน จึงจะเข้าเรียนศึกษาได้ เราจัดให้มีการสอนภาษาอารบิก แม้แก่คนที่ไม่นับถือศาสนาอิสลาม
       อธิการบดี มจร สอบถามว่า มหาวิทยาลัยอัลอัซหาร์สอนวิชาศาสนาอื่นๆ บ้างไหม เพราะ อยากให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้ดำเนินทางสายกลางต่อไป  และทราบมาว่ามีคนนำเอาหลักคำสอน อิสลามไปตีความหมายผิด ซึ่งเกิดขึ้นได้เพราะเหตุอะไร ศ.ดร. อัลมัด อัลเตเยบ กล่าวว่า พวกนับถือศาสนาคริสต์เคยล้างผลาญและเผาคัมภีร์ ต่างๆ ฆ่าทำลายล้างพวกเราชาวมุสลิม ดูตัวอย่างในประเทศอิสราเอลก็ได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุผล ทางด้านการเมือง (Political reasons) ในกลุ่มชาวอิสลามเราทราบดีว่า พวกประเทศมหาอำนาจ (superpower) อยู่เบื้องหลังในเหตุการณ์เหล่านี้ แต่นักปราชญ์อิสลามของเราปฏิเสธแนวความ คิดใช้วิธีรุนแรงในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ตรงนี้เป็นจุดยืนสำคัญของเรา
      อธิการบดี มจร สอบถามว่า ชาวอิสลามที่อยู่ในความปกครองของรัฐบาลที่ไม่นับถือ อิสลาม สามารถอยู่ร่วมกันได้หรือไม่ และสามารถเรียนภาษาอื่นได้ไหม ทางด้านศาสนาให้คำตอบ และตีความหมายเรื่องนี้อย่างไร? ศ.ดร. อัลมัด อัลเตเยบ ตอบว่า คนอิสลามอยู่ในความปกครองของคนที่ไม่นับถือศาสนา อิสลามก็ได้ และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข ให้เรียนภาษาอื่นที่ไม่ใช้ภาษาอารบิกก็ได้ คำสอน ในพระคัมภีร์โกหร่านเป็นภาษาอารบิกก็จริง หากทว่าต้องบังคับให้เรียนแค่อาริบิกภาษาเดียว คนที่อย?ูในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย คงจะยอมรับไม?ได? และไม?มีเหตุผลเลย พระผู้เป็น เจ้าสร้างพระพุทธศาสนา คริสต์ศาสนา และอิสลามเหมือนกัน เราถูกสร้างมาเหมือนกัน และ พระเจ้าสร้างให้เรามีเชื้อชาติและภาษาต่างกัน พระคัมภีร์ระบุไว้ดังนี้ ฉะนั้น จะทำให้เป็นหนึ่ง เดียวไม่ได้เด็ดขาด เจตจำนงของพระเจ้าคือให้เลือกศาสนาและภาษากันเอง มิใช่เป็นการบังคับกัน
       อธิการบดี มจร สอบถามถึงเคล็ดลับที่มหาวิทยาลัยอัลอัซหาร์ดำรงอยู่มาได้ถึง ๑,๐๐๐ ปีคืออะไร ศ.ดร. อัลมัด อัลเตเยบ ตอบว่า เรามีวิธีการ ๒ อย่าง คือ ๑) ต้องให้ทุกคนเรียนพระ คัมภีร์โกหร่าน และ ๒) เราให้เรียนพระคัมภีร์โกหร่านอย่างเดียวก็จริง แต่เราได้สอนหลายอย่าง คือสอนหลักปรัชญาความคิดหลากหลาย ให้นักเรียนเลือกเรียนได้เอง เราสอนเพื่อให้พี่น้องชาว มุสลิมทั่วโลกจงปลอดภัย สอนให้ดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง ไม่ใช้ความรุนแรง เมื่อนักเรียน จบการศึกษาและเดินทางกลับประเทศของตนแล้ว ก็ให้ใช้ทางสายกลางเช่นนี้ดำเนินชีวิต มหา วิทยาลัยอัลอัซหาร์พยายามสร้างความปลอดภัยให้แก่นักเรียนทุกคน แม้จะเรียนจบไปแล้ว
       อธิการบดี มจร กล่าวว่า เท่าที่ทราบมา หลักคำสอนในศาสนาอิสลามไม่มีความขัดแย่ง กับหลักวิทยาศาสตร์เลย จริงไหม แต่ศาสนาคริสต์ยังมีความขัดแย้งกับหลักวิทยาศาสตร์บ้าง ศ.ดร. อัลมัด อัลเตเยบ กล่าวว่า เท่าที่ทราบมา ยังไม่เคยปรากฏความขัดแย้ง ระหว่าง วิทยาศาสตร์กับหลักคำสอนในศาสนาอิสลาม พระคัมภีร์โกหร่านและหลักวิทยาศาสตร์ไม่มีความ ขัดแย้งต่อกันเลย แต่คริสต์กับวิทยาศาสตร์ยังมีความขัดแย้งกันอยู่เสมอ อธิการบดี มจร กล่าวว่า ท่านยอมรับว่า มีความเหมือนกันระหว่างหลักซูฟี่ในอิสลาม และศาสนาพุทธไหม ศ.ดร. อัลมัด อัลเตเยบ ตอบว่า มีความเหมือนกันในข้อปฏิบัติเคร่งครัด เช่นสอนว่า ชนะตนเองดีกว่าชนะผู้อื่น
       อธิการบดี มจร กล่าวสรุปว่า อิสลามหมายถึงสันติภาพ และหมายถึงสันติภาพในการ อยู่ร่วมกันได้ เราจะขอให้รัฐบาลไทยสนับสนุนให้นักเรียนไทยมาเรียนต่อที่นี่ เพราะเป็นมหาวิทยาลัย ที่สอนหลักทางสายกลาง นายนพดล เทพพิทักษ์ เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงไคโร กล่าวเสริมว่า เมื่อเปรียบ เทียบกัมหวิทยาลัยแห่งอื่นแล้ว มหาวิทยาลัยอัลอัซหาร์สอนหลักคำสอนทางสายกลาง ส่วนที่อื่นสอนให้นิยมสุดโต่ง ใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา ฉะนั้น จึงอยากสนับสนุนให้คณะสงฆ์ ไทยมาแลกเปลี่ยนความรู้และแสดงข้อคิดเห็น พร้อมกับสนทนาธรรมระหว่างคนต่างศาสนากัน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ทางด้านศาสนาของกันและกัน มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นปัญหาของโลกใน ระหว่างชาวพุทธ ชาวอิสลาม และผู้นับถือคริสต์ศาสนานิกายคอปติก เพราะเราต่างมีจุดเริ่มต้น เหมือนกัน  เพื่อให้โลกนี้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีสันติภาพ  ถึงจะต่างศาสนากัน  แต่ขอให้เราอยู่ ร่วมกันได้
       ศ.ดร. อัลมัด อัลเตเยบ กล่าวว่า เราขอต้อนรับนักเรียนไทยที่มาเรียนในมหาวิทยาลัย อัลอัซหาร์แห่งนี้ อธิการบดี มจร กล่าวเชิญอธิการบดีมหาวิทยาลัยอัลอัซหาร์ว่า ถ้ามีโอกาสเดินทางไป ประเทศไทยอีกเมื่อไร เราขอต้อนรับให้ไปเยี่ยมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ ของเราที่วังน้อยบ้าง หรือ ถ้ามีการจัดประชุมพูดคุยแลกเปลี่ยนทางด้านศาสนาที่เรียกว่าอินเตอร์เฟท (Interfaith) เราก็จะ ขอเชิญให้ท่านมาร่วมงานประชุมกับเราด้วย
       ศ.ดร. อัลมัด อัลเตเยบ ตอบรับคำ แต่แสดงข้อวิตกกังวลว่า ท่านจะไม่ขอพักอยู่บนตึก สูงๆ เช่นที่ตึกใบหยก เพราะกลัวความสูงมาก และสอบถามว่าวัดในประเทศไทยมีอายุเก่าแก่มาก สักกี่ปี ซึ่งอธิการบดีตอบว่า วัดในประเทศไทยมี ๒ ประเภท คือ วัดหลวง ซึ่งได้รับการสนับสนุน จากพระมหากษัตริย์และรัฐบาล เช่นวัดเก่าในกรุงเทพฯ มีอายุอย่างน้อย ๒๐๐ ปี แต่ถ้าเป็นวัดใน จังหวัดสุโขทัยก็มีอายุประมาณ ๗๐๐ ปี ตอนท้ายแห่งการสนทนา อธิการบดี มจร. ได้สอบถามว่า เมื่อคราวไปเยี่ยม ๓ จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร และข้อที่ว่า ให้เรียนแนวความเห็นปรัชญาหลายๆ อย่าง (various schools) ในอิสลาม หมายถึงอะไร
       ศ.ดร. อัลมัด อัลเตเยบ กล่าวว่า ในส่วนตัวยังไม่เคยเดินทางไป ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ส่วนปัญหาที่เกิดนั้น ท่านคิดว่า คงเป็นเพราะการใช้หลักคำสอนที่ผิด ใช้ความ รุนแรงแก้ปัญหา จึงอยากให้มหาวิทยาลัยทั้งหลายสอนหลักคำสอนอิสลามที่แท้จริงที่ถูกต้อง คือ สอนให้มนุษย์อยู่ร่วมกันได้ ชาวโลกอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ โดยให้สร้างสายสัมพันธ์กับทุกศาสนา ไม่จำกัดเฉพาะแนวความคิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นสายสุดโต่ง เมื่อเรียนหลายแนวความคิด แล้ว จะเปิดใจกว้างขึ้นเอง ไม่นิยมใช้วิธีรุนแรงในการแก้ไขปัญหา
        อธิการบดี มจร กล่าวเสริมว่า ชาวมุสลิมในประเทศไทยใน ๓ จังหวัดภาคใต้ ไม่ยอม เรียนวิชาพระพุทธศาสนา และกล่าวอ้างไม่ยินยอมให้พระสงฆ์เข้าไปเยี่ยมมัสยิดสุเหร่าด้วย แต่ในประเทศอียิปต์นี้ พระไทยได้รับอนุญาตให้เข้าไปดูภายในมัสยิดสุเหร่าได้ ศ.ดร. อัลมัด อัลเตเยบ กล่าวว่า ชาวมุสลิมควรจะต้องเรียนวิชาหลักศาสนาพุทธและ ศาสนาคริสต์ด่วยเหมือนกัน ท่านเคยอ่านหนังสือเกี่ยวกับหลักศาสนาพุทธที่เขียนโดยนักปราชญ์ อิสลาม ว่าให้ต้องเรียนรู้จากกันและกัน
       อธิการบดี มจร เสนอว่า เราอยากจะให้ทางประเทศอียิปต์เปิดสอนวิชาภาษาไทย หรือ ไทยศึกษา (Thai section) ให้สอนภาษาไทยขึ้นที่นี่บ้าง ส่วนในประเทศไทยเรา มีมหาวิทยาลัย มหาจุฬาฯ และมีวิทยาเขตหลายแห่งเป็นของเราเอง อยากขอร้องให้มหาวิทยาลัยอัลอัซหาร์นี้ไป เปิดสอนที่โน้นบ้าง เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน และใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้เรา ก็ยัง มีวิทยาเขตด้วย จึงอยากให้มีการแลกเปลี่ยนวิชาความรู้กัน หรือตั้งสาขาเปิดสอนวิชาด้านศาสนา แลกเปลี่ยนกัน  ที่ประเทศอียิปต์นี้สวยงามดี  เพราะมีมหาวิทยาลัยอัลอัซหาร์สอนหลักคำสอน อิสลามที่ดีและถูกต้อง ไม่นิยมใช้ความรุนแรงแก้ไขปัญหา
       เมื่อได้เวลาก็อำลาจากกัน  ในภาคค่ำ  คณะเราตกลงแยกกลุ่ม  ให้กลุ่มฆราวาสไป ล่องเรือสำราญตามแม่น้ำไนล์ เขามีโชว์ระบำหน้าท้อง ส่วนคณะพระสงฆ์ไทยนั้น มีรายการไป ชมบ้านเมืองยามราตรี ดูชีวิตกลางคืนของชาวอียิปต์ โดยมีนักเรียนไทยคนหนึ่ง ชื่อเล่นว่าหนุ่ม รับทุนจากกระทรวงการต่างประเทศ กับคุณประกิจ  ศิวะรัตนธำรงค์ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่าย การพานิชย์) ช่วยเป็นไกด์นำทางพาไป
       รถพาคณะสงฆ์ไทยวิ่งผ่านกลางใจเมือง เห็นผู้คนมากมายอย่างกะปลวกออกมาเดินพลุกพล่าน รถราติดหลายแห่ง ผ่านมหาวิทยาลัยอัลอัซหาร์ มองไปทางด้านขวามือเป็นที่ตั้งของสุเหร่า อัสเซนสัญลักษณ์ของกรุงไคโรแห่งหนึ่ง แล้วรถวิ่งไปเข้าเขตเมืองใหม่ชื่อมูกัตตัมฮิลล์ มองเห็น ทิวทัศน์กรุงโคโรยามค่ำคืนสวยงามดี แต่แทนที่เขาจะทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว กลับทับถมเต็ม ไปด้วยกองขยะเกลื่อนกลาด ไม่น่าดูเลย เขาถมดินขึ้นมา มองดูไม่เรียบร้อย ไม่สวยงามเลย มี โอกาสได้พบนักเรียนหญิงคนไทยคนหนึ่ง ชื่อจอย  ได้รับทุนจากประเทศบังคลาเทศให้มาศึกษา เรื่องประชากรศาสตร์ ในระดับอนุปริญญา (Diploma) ๑ ปี ฉันน้ำดื่มที่แขกนำไว้ตั้งขาย ชม แสงสียามค่ำของกรุงไคโร  ท่ามกลางลมหนาวโชยมานิดๆ  แล้วเดินทางกลับถึงที่พัก  ในเวลา ๒๒.๓๐ น.
 
เข้าเยี่ยมเยือนผู้นำสูงสุดในอิสลาม
        ในวันที่  ๑๒  มีนาคม  พ.ศ.๒๕๕๑  ในภาคเช้า  สถานทูตทำบุญเลี้ยงพระ  มีพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา พร้อมคณะมาร่วมทำบุญ พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ และอธิการบดีกล่าว สัมโมทนียกถาในภาคบ่ายเวลา ๑๓.๓๐ น. คณะสงฆ์ไทยเราได้เข้าพบผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลาม ในประเทศอียิปต์ ชื่อ ดร.มูฮัมหมัด ชัยยิด ฏอนฏาวี ตำแหน่งเป็นแกรนด์อิหม่าม ประธานใหญ่ ของอิสลามนิกายสุหนี่  มีสมาชิกทั่วโลกมากกว่า  ๑,๐๐๐  ล้านคน  ท่านแกรนด์อิหม่ามได้เคย เดินทางไปประเทศไทย เมื่อปี ๒๕๕๐ และมีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์พระ ประมุขของประเทศไทย  และพบปะสนทนากับสมเด็จพระพุฒาจารย์  ประธานคณะผู้ปฏิบัติ หน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช และได้เดินทางไปพบปะพี่น้องชาวมุสลิมในสามจังหวัดชายแดน ภาคใต้ด้วย
       ดร.มูฮัมหมัด  ชัยยิด  ฏอนฏาวี  ได้กล่าวต้อนรับคณะสงฆ์ไทย  ที่เดินทางไปเยือนยัง สำนักงานอัลอัซหาร์ กรุงไคโรว่า ตัวท่านเองไปเยี่ยมเมืองไทยมาแล้ว และขอยินดีต้อนรับคนไทย ทุกคนที่เดินทางมาเยือนประเทศอียิปต์ ท่านเห็นว่า ประเทศไทยเป็นเพื่อนมิตรที่ดีมากของประเทศ อียิปต์ ขอยินดีต้อนรับอีกครั้ง และขอขอบใจท่านทูตไทยมากที่ช่วยติดต่อประสานงานเรื่องนี้ให้
        อธิการบดี มจร กล่าวว่า ก่อนจะเดินทางมาอียิปต์นี้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธาน คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช  ได้ฝากความปรารถนาดีมายังท่านแกรนด์อิหม่ามและ ประชาชนชาวอียิปต์ และขอขอบคุณที่เปิดโอกาสให้คณะสงฆ์ไทยเราเข้ามาเยี่ยมเยือนประเทศ แห่งนี้ ข้าพเจ้ารู้สึ้กดีใจมาก ที่ท่านยังมีความรำลึกถึงสิ่งที่ดีเกี่ยวกับประเทศไทยของเรา อิสลามเป็นศาสนาแห่งสันติภาพ และศาสนาพุทธก็สอนเรื่องสันติภาพเช่นกัน ฉะนั้น ขอให้เราจงร่วม กันทำงานในการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้น  ทางเราที่มาเยือนนี้อยากทราบว่า  เมื่อในหลวงองค์ พระประมุขของประเทศไทย ขอให้ท่านลงไปเยี่ยมเยือนพี่น้องชาวมุสลิมทางภาคใต้ของประเทศ ไทย อยากจะทราบความคืบหน้าว่า เมื่อลงไปเยี่ยมมาแล้ว ท่านมีข้อคิดเห็นอย่างไร และความ ขัดแย้งที่เกิดขึ้นในภาคใต้นั้น  อาจจะไม่ใช่มาจากเรื่องศาสนาใช่ไหม  เพราะอาจเป็นเรื่อง ผลประโยชน์ทางการเมืองที่มีความขัดแย้งกันก็ได้ ฉะนั้น อยากขอแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่าง กันและกันเกี่ยวกัสถานการณ์ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้
       ดร.มูฮัมหมัด ชัยยิด ฏอนฏาวี กล่าวตอบว่า เราได้พบปะกับคนไทยและนักเรียนเก่า ของเราที่ประเทศไทย ที่รักและห่วงใยในสันติภาพโลกมาก เราขออวยพรให้คนทั้งหลายที่อยู่ใน ทิศเหนือ  ทิศใต้  ทิศตะวันออก  และทิศตะวันตก  จงมีสันติภาพเกิดขึ้นทั่วกัน  เราเห็นด้วยว่า ผลประโยชน์ทำให้เกิดความขัดแย่งกันขึ้น แต่ศาสนาอิสลามสอนแต่เรื่องให้สร้างสันติภาพขึ้น สอน เรื่องสร้างความรักให้เกิดขึ้นแก่มวลมนุษยชาติ  การเมืองอาจเป็นตัวการสร้างปัญหา  ฉะนั้น ต้องสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมทุกระดับ  ให้มีความรัก  (Love)  และความยุติธรรม (Justice) เกิดขึ้นให้ได้ เราขออวยพรให้ในหลวงของประเทศไทย จงทรงพระเจริญ มีพระชนมา ยุยั่งยืนยาวนาน
        อธิการบดี มจร กล่าวว่า เราจะนำคำอวยพรของท่านไปบอกแก่พี่น้องชาวไทยของเรา และอยากทราบว่าในประเทศอียิปต์ มีคริสต์ศาสนิกชนอยู่ด้วย พวกคริสต์อยู่ร่วมด้วยกันอย่างไร กับผู้นับถืออิสลาม โดยไม่มีความขัดแย้งกัน ดร.มูฮัมหมัด ชัยยิด ฏอนฏาวี ตอบว่า เพราะเขาเป็นเพื่อนที่ดีมากของเรา ชาวคริสต์ เป็นเพื่อนที่ดีของชาวมุสลิม ท่านโป๊ปเป็นคนดี เป็นมิตรที่ดีของเรา เมื่อเป็นมิตรกัน ความเป็น ศัตรูก็ไม่มีต่อกัน
       อธิการบดี มจร กล่าวว่า ขอให้มวลมนุษย์ทุกคนจงอยู่ร่วมกันอย่างสันติภาพ โดยเรา จะต้องพยายามสร้างสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้นำศาสนาต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ขอให้เรา จงมีความสัมพันธ์ทางด้านส่วนตัว และสร้างมิตรภาพที่ดีต่อกันมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ เราจึงมา เยืยนบ้านเมืองอียิปต์แห่งนี้ เพื่อเป็นการตอบแทนมิตรไมตรีที่ท่านเคยไปเยี่ยมประเทศไทย ดร.มูฮัมหมัด  ชัยยิด  ฏอนฏาวี  กล่าวว่า  ทุกคนไม่ว่าคนไทย  คนจีน  ชาวพุทธ  ชาว มุสลิม ต่างก็มีพ่อแม่คนเดียวกัน เป็นเพื่อนมนุษย์เหมือนกัน เป็นดั่งพี่น้องร่วมท่องอุทรเดียวกัน ดังนั้น ขอให้เราร่วมมือกันทำงานเพื่อให้เกิดสันติสุขในโลก
       อธิการบดี มจร กล่าวปิดท้ายว่า เราเดินทางมาที่ประเทศอียิปต์นี้ เพื่อความเจริญงอก งามแห่งสัมพันธไมตรี และสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน ให้ความเคารพต่อกันและกัน เราจะนำ ข่าวสาส์นการเข้าพบปะเยี่ยมเยือน และนำเอาความปรารถนาดีของท่านไปแจ้งให้พี่น้องชาวพุทธ และชาวมุสลิมในประเทศไทยได้ทราบต่อไป ดร.มูฮัมหมัด  ชัยยิด  ฏอนฏาวี  กล่าวว่า  เรารู้สึกสุขใจมากที่มีโอกาสต้อนรับคณะ พวกท่าน และรู้สึกดีใจที่ได้ยินคำพูดเช่นนี้ ในสุดท้ายนี้ ขอส่งสาส์นและความปราถนาดีถึงในหลวง และชาวไทยด้วย

สรุปข่าว หลังจากเข้าพบผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลาม
  อธิการบดี มจร ได้ให้สัมภาษณ์และสรุปประเด็นในการมาเยือนประเทศอียิปต์ครั้งนี้ว่า เมื่อเรามีโอกาสเข้าพบแกรนด์อิหม่ามนั้น ท่านได้กล่าวท้าวความหลัง ในคราวที่ท่านผู้นำสูงสุด ของอิสลามไปเยี่ยมประเทศไทยเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๐ เพราะท่านยังรำลึกได้ว่าคนไทยเป็น คนรักสันติภาพ และพระพุทธศาสนามีส่วนกล่อมเกลาช่วยให้คนไทยมีอัธยาศัยไมตรีที่ดีงาม หลัง จากนั้นได้พูดคุยกันว่า การมาเยือนของคณะเรานี้เป็นการเยือนตอบ และท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ยังได้ฝากความระลึกถึงเป็นการ ส่วนตัว เจ้าประคุณฯ ขอส่งความปรารถนาดีมายังแกรนด์อิหม่ามและชาวมุสลิมทุกคนในประเทศ อียิปต์ด้วย
        เมื่อฝ่ายเราสอบถามว่า  ในการไปเยือนประเทศไทยครั้งนั้น  ในหลวงขอให้ท่านลงไป ช่วยเหลือที่ภาคใต้ ได้ผลเป็นอย่างไร และรู้สึกอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านฏอนฏาวีตอบว่า ทุกฝ่ายรัก สันติภาพเหมือนกัน ขอให้อยู่ร่วมกันแบบสันติ ซึ่งไม่เป็นเรื่องยากนักเลย ในการให้ทุกคนอยู่ร่วม กันอย่างสงบสุขได้ ท่านยังกล่าวอีกว่า ในหลวงเป็นคนดี ทรงรักความยุติธรรม จึงขออวยพรให้ ในหลวงของประเทศไทยจงทรงพระเจริญ และท่านเห็นว่า ความขัดแย้งใดๆ ในโลกโดยเฉพาะ ที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย  ไม่ใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา  แต่เป็นเรื่อง ผลประโยชน์ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง และมีองค์ประกอบอื่นๆ เช่นการเมือง ซึ่งขยายผลออกไปในทาง ไม่ดี และสรุปว่า ชาวพุทธรักสันติภาพ ชาวอิสลามก็รักสันติภาพเหมือนกัน ฉะนั้น ทำอย่างไรจึง จะให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติได้
       ท่านแกรนด์อิหม่าม กล่าวว่า การอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้นั้น ต้องให้ถือว่า เราเป็นพี่ น้องร่วมอุทรเดียวกัน ตัวท่านเองสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ดีกับท่านโป๊ป และต่างให้ความเคารพ นับถือกันและกันมาก ทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคริสต์กับอิสลามใน ประเทศอียิปต์ราบเรียบ เป็นไปด้วยดี ฉะนั้น ถึงเราจะนับถือศาสนาต่างกันก็ตาม แต่ต้องให้มี การพูดคุยสนทนาปรึกษาหารือกันตลอดเวลา เราต้องสร้างความสนิทสนมต่อกัน ในการมาเยือน อียิปต์ครั้งนี้ ถือว่าเป็นการสานต่อเชื่อมสัมพันธไมตรีที่ดี ซึ่งจะดำรงสืบต่อไปในภายหน้า
       การเชื่อมความสัมพันธ์ของกันและกัน จะทำให้เหตุการณ์เลวร้ายต่างๆ ดีขึ้นได้เหมือน ตัวท่านเองกับท่านโป๊ปที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้ประเทศอียิปต์เกิดความสงบสุข มีสันติภาพ ในการอยู่ร่วมกันระหว่างพี่น้องชาวอิสลามและคริสต์ ฉะนั้น ขอให้ถือว่ามวลมนุษยชาติทั้งผอง ต่างเป็นพี่น้องท้องเดียวกัน เป็นญาติสนิทชิดเชื้อกัน เมื่อทุกคนต้องการอยู่ร่วมอย่างสันติ ก็ต้อง ให้หันหน้าเข้าหากัน ให้หมั่นระลึกอยู่เสมอว่า เราเป็นสมาชิกของมวลมนุษยชาติด้วยกัน ทำให้เกิดความร่วมมือในการทำงานร่วมกันให้ได้ ขอให้มองถึงตัวศาสนาว่า  เราต่างก็เป็นพี่น้องท้อง เดียวกัน ศาสนาพุทธสอนเรื่องความรักเรื่องความเมตตา สอนให้คนไทยรักสุขสงบศึก ศาสนา อิสลามก็สอนเหมือนกัน ทุกศาสนาสอนอย่างเดียวกัน ต่างมุ่งหวังให้เกิดสันติภาพ

เข้าพบปะหารือกับนักปราชญ์อิสลาม
      ในเวลา  ๑๔.๑๕  น.  คณะสงฆ์ไทยได้เข้าพบปะสนทนาทางด้านวิชาการกับเชก  อาลี โกม่า (Sheikh Ali Gouma'a) ตำแหน่งมุฟติแห่งสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ (Mufti of the Arab Republic of Egypt) ท่านเป็นนักปราชญ์และประมุขสูงสุดทางด้านศาสนาอิสลาม มีสำนักงาน ใหญ่ตั้งอยู่ใกล้ๆ  กับสำนักงานของแกรนด์อิหม่าม  ในมหาวิทยาลัยอัลอัซหาร์  กลางกรุงไคโร นั่นเอง
       ก่อนเข้าพบท่านมุฟติ เจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของท่านมุฟติว่า มีหน้าที่ให้คำปรึกษาหารือทั่วไป แต่ละวันรับสายโทรศัพท์ประมาณ ๓๐๐ ถึง ๔๐๐ ครั้ง มีคอลเซ็น เตอร์ (ในกรุงไคโร หมุน ๑๐๗) เป็นศูนย์กลาง มีภาษาต่างประเทศให้เลือกใช้สื่อสารพูดคุยได้ถึง ๑๔ ภาษา มีหน้าที่ให้คำปรึกษาหารือเกี่ยวกับหลักคำสอนในศาสนาอิสลาม ส่วนใหญ่สอนให้ดำเนิน ชีวิตตามทางสายกลาง มีเว็บไซท์เป็นของตนเอง ตอบและรับเมลแต่ละวัน ไม่น้อยกว่า ๒๐๐ เมล ท่านมุฟติเชก อาลี มีอายุ ๕๕ ปี แต่เป็นนักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศาสนามุสลิมมาก และ เมื่อถึงเวลานัดหมายไว้ได้เข้าพบปะพูดคุยกัน สรุปได้ดังนี้
       ท่านมุฟติเชก อาลี กล่าวว่า ขอยินดีต้อนรับคณะพระสงฆ์ไทยทุกท่านสู่กรุงไคโร  ทาง เราต้องการทำงานร่วมมือกับคนไทย ท่านเป็นผู้แทนศาสนาพุทธ เป็นเพื่อนบ้านที่ดีของเราชาว อียิปต์ ฉะนั้น ขอให้เปิดใจกว้างต่อกัน อธิการบดี มจร กล่าวว่า เมื่อปี ๒๕๔๓ (ค.ศ.๒๐๐๐) ตัวท่านเองเคยเดินทางไปร่วม ประชุมยูเอ็น (สหประชาชาติ) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้น ไทยเราได้เชิญผู้นำศาสนา ทั่วโลกมาร่วมประชุมกันที่ประเทศไทย ซึ่งในช่วงนั้น ประเทศไทยยังไม่มีความขัดแย้งความรุนแรง เกิดขึ้น เหมือนกับเหตุการณ์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบัน ทางเราขอเชิญท่านไปเยี่ยม เมืองไทยบ้าง โดยเชิญผ่านมาทางท่านเอกอัครราชทูตไทย
       ท่านมุฟติเชก อาลี กล่าวว่า เราอยู่ในโลกเดียวกัน (Global village) ไม่มีสิ่งกีดขวางซึ่ง กันและกัน ผู้นำศาสนาส่วนใหญ่ต่างเข้าใจเรื่องประเด็นสันติภาพกันดี ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า ผู้ที่นำเอาข่าวสาส์นไปให้คนสามัญ นำไปอย่างไร มีการบิดเบือนหรือไม่ งานของเราคือสร้างระบบ ให้ผู้นำศาสนากับคนสามัญอยู่ร่วมด้วยกันได้ เราทำงานพูดคุยเรื่องศาสนา (Interfaith) มาเป็น เวลา ๒๐ ปีแล้ว
       อธิการบดี  มจร  ซักถามว่า  ในพระพุทธศาสนา  อนุญาตให้ผู้นับถือศาสนาอื่นเรียนพระพุทธศาสนาได้ แต่ชาวมุสลิมในประเทศไทยกลับไม่ยินยอมให้ศาสนิกของตนเรียนศาสนาอื่น เรื่องอย่างนี้มีในประเทศอียิปต์ไหม ซึ่งได้รับคำตอบยืนยันว่า เป็นเรื่องที่ควรส่งเสริมให้มีการเรียน รู้ซึ่งกันและกัน จะได้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อกัน
 
เก็บตก
       ต่อมา คณะเรามีโอกาสเข้าเยี่ยมชมป้อมปราการแห่งกรุงไคโรชื่อซิตาเดล ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญมาก ชมรูปภาพเจ้าใหญ่นายโต ตอนที่เดินทางมาเปิดคลองสุเอซ ในซิตาเดลนี้ม
นาฬิกาจากยุโรปเป็นสัญลักษณ์ มีโคมไฟฟ้าในสุเหร่า จำนวน ๓๖๕ ดวง เขาบอกว่า เป็นของ ขวัญจากประเทศฝรั่งเศส ในการแลกเปลี่ยนกับเสาโอเบลิสต์ (นักเรียนไทยคนหนึ่งให้ข้อมูลว่า เสา โอเบลิสต์แบบนี้ ฝรั่งนำไปตั้งในสถานที่ต่าง ๆ เท่าที่ทราบมี ๓  ที่ คือ มหานครนิวยอร์ก ประเทศ สหรัฐอเมริกา, ที่ริมแม่น้ำเทมส์ ประเทศสหราชอาณาจักรอังกฤษ และในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส) เสาโอเบลิสต์ เป็นเสาจารึกแสดงถึงความรุ่งโรจน์รุ่งเรืองของราชวงษ์ฟาร์โรห์ที่ปกครองในอียิปต์ สมัยโบราณ เขาเชื่อว่าเสานี้ไปตั้งอยู่ที่ใด แสดงว่าที่นั่นเป็นประเทศมหาอำนาจ
       รายการเที่ยวชม เมื่อมาแล้ว ถือเป็นกำไรกลับไปฝากเมืองไทย คือ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ อียิปต์ เยี่ยมชมเตียงหั่นศพทำมัมมี่ มัมมี่รามเสสที่สอง ซึ่งเห็นผมบนศีรษะติดอยู่ ชมบัลลังก์นั่ง ของยุวกษัตริย์หนุ่มพระนามว่าตุตันคามุน ซึ่งเขาอธิบายว่ามีรูปพระมเหสีกำลังยื่นตัวทอดเข้าไป หา เป็นภาพน่ารักมาก ชมเตียงโบราณพับได้ หีบ ห้องทรัพย์สมบัติ โลงพระศพตุตันคามุน ระเบียง ภาพตัดสินดีชั่ว ไปนรกหรือสวรรค์
        ที่ชอบใจมากอย่างไม่ลืมเลือนเลย คือมีโอกาสเยี่ยมชมโลงพระศพของตุตันคามุน ใบหน้า สวมหน้ากากทองคำหนักถึง  ๑๑  กิโลกรัม  พระองค์สวมใส่รูปชุดทรงฟาโรห์สวมเครื่องประดับ ศิราภรณ์ มีนกแร้งและงูเห่าอสรพิษปรากฏอยู่เหนือนลาฏ (หน้าผาก) เครื่องหมายแสดงผู้พิชิต ดินแดนอียิปต์บนและอียิปต์ล่าง มีพระเครายาวทำจากแก้วสีเขียวคราม แผงพระศอประดับด้วย หินหลากสีมีค้าต่างๆ ทรงถือตะขอและแส้ในพระหัตถ์ แสดงสัญลักษณ์แห่งสถานะกษัตริย์ถือไขว้ มือกัน
       สิ่งที่ระลึกจากอียิปต์ คือคัมภีร์มรณะ ชีวิตหลังความตาย โดยเฉพาะรูปภาพที่นำเอาหัวใจ ของมนุษย์มาชั่งด้านหนึ่ง กับใส่ขนนกอีกข้างหนึ่ง ถ้าหัวใจหนัก แสดงว่าทำบาปมาก ต้องปล่อย ให้สัตว์กัดกิน  ไม่ให้ขึ้นสวรรค์  อียิปต์ดินแดนมหัศจรรย์ที่สรรสร้างปฏิทิน  ๓๖๕  วัน  กระดาษ ปิลารุส ความล้ำหน้าทางด้านเกษตรกรรมในสมัยก่อน และวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สร้างมหาพีระมิด ขึ้นมาให้โลกปัจจุบันทึ่งและฉงนใจคณะเรายังมีโอกาสได้นั่งเรือด่วน ชมสองฟากฝั่งของแม่น้ำไนล์ มองเห็นยอดสุเหร่า มากมาย แซมด้วยโบสถ์ไม้กางเขนบ้าง นั่งเล่นกินลม ชมสภาพกรุงไคโร สภาพบ้านเมืองปัจจุบัน จากแม่น้ำยังสามารถมองเห็นมหาพีระมิดในยามพลบค่ำเช่นนี้ นึกย้อนถอยหลังกลับไปอดีตแห่ง จอมกษัตริย์ฟาโรห์ ดื่มด่ำกับกระแสแม่น้ำไนล์ ธรรมชาติอันสวยงามยิ่ง แม่น้ำสายนี้มีสิ่งต่างๆ มากมาย สุดท้ายก็จมลงใต้กระแสธาราอันเชี่ยวกราก ไม่มีอะไรยั่งยืน นอกจากความดีความชั่วที่ ตัวเองกระทำฝากไว้ให้โลกรับรู้ นี่แหล่ะอียิปต์ ของขวัญชิ้นสำคัญของแม่น้ำไนล์ ซึ่งปัจจุบันกำลังมีสภาพเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เพราะฝีมือมนุษย์ที่สร้างเขื่อนกักน้ำชื่ออัสวานขึ้นมา เป็นเขื่อน กักน้ำขนาดใหญ่อันดับ ๒ ของโลกด้วยเหตุผลทางด้านเกษตรกรรมและป้องกันน้ำท่วม ถึงคราว หน้าแล้งไม่ต้องกลัวน้ำหมดไป ด้วยเหตุนี้ องค์การยูเนสโกต้องขึ้นไปช่วยดูแลและขนเคลื่อนย้าย แหล่งมรดกโลกให้พ้นภัยของธรรมชาติ โฉมหน้าประวัติศาสตร์กำลังเปลี่ยนไป
 
บทสรุปส่งท้าย
       อธิการบดี มจร. ได้ให้นโยบายเชิงปฏิบัติว่า ในด้านวิชาการ มหาจุฬาฯ จะจัดให้มีการ สอนศาสนาอิสลาม โดยเชิญนักปราชญ์อิสลามให้มาช่วยสอน สร้างเครือข่ายให้มีความร่วมมือ กับมหาวิทยาลัยอัลอัซหาร์ ส่วนในด้านนโยบาย จะให้คณะพุทธศาสตร์เปิดสอนวิชาพุทธศิลป์ เพื่อ เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในโลก ในประเทศผู้นับถืออิสลาม เขามีมหาวิทยาลัยอัลอัซหาร์ ซึ่งก่อตั้งมาเมื่อ ๑,๐๐๐ กว่าปี เก่าแก่กว่ามหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด แห่งสหราชอาณาจักรเสียอีก ดังนั้น ต้องถือว่า ประเทศอียิปต์เป็นจุดศูนย์กลางของโลกอิสลามหรือผู้พูดภาษาอารบิกหรืออาหรับ ทั้งหมด มีความเก่าแก่เท่ากับมหาวิทยาลัยนาลันทาของพุทธเรา เขาดำเนินการเปิดสอนหลายสาขา วิชา มีการให้ทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนไทยที่มาเรียนต่อที่นี่ เมื่อปี ๒๕๕๐ รัฐบาลไทยได้ช่วย เหลือบริจาคเงินเป็นทุนการศึกษาให้เขา จำนวน ๑ ล้านบาท เพื่อพยายามเบี่ยงเบนไม่ให้เด็กไทย มุสลิมไปเรียนต่อที่ประเทศอื่น ซึ่งประเทศนั้นอาจจะสอนให้ใช้วิธีรุนแรงในการแก้ไขปัญหา ขยาย ความรุนแรงในประเทศไทยได้
       ชาวพุทธเอง ควรจะต้องแยกแยะอิสลามิกชน ระหว่างสายรุนแรงกับสายกลางให้ออก ชัดเจน คือแยกสายระหว่างสายเหยี่ยว (เช่นอัฟกานิสถาน) ซึ่งนิยมความรุนแรง กับสายพิราบ เช่นประเทศอียิปต์ และเลือกคบหาสมาคมกับพวกสายกลาง ซึ่งถือว่าเป็นการเลือกที่ถูกทิศทาง ข้อมูลสถิติของประเทศอิสลาม ร้อยละ ๙๐ นับถือนิกายสุหนี่ อีกร้อยละ ๑๐ นับถือ นิกายชีอะห์ สรุปว่าร้อยละ ๗๐ ทั่วทั้งโลกรวมทั้งในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย ล้วนนับถือ อิสลามนิกายสุหนี่เกือบทั้งนั้น ที่เหลือนิดหน่อยนับถืออิสลามนิกายชีอะห์ ซึ่งรวมพวกมุสลิมที่จังหวัด พระนครศรีอยุธยาด้วย แต่ได้ถูกกลืนและหลอมละลายเป็นคนไทยไปเกือบหมดแล้ว เรื่องนิกาย ศาสนาไม่ใช่เป็นประเด็นสำคัญ แต่อยู่ที่คนปฏิบัติต่างหากเป็นสิ่งสำคัญ และต้องให้คำนึงอยู่เสมอ ว่า จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้อย่างไร ในดินแดนแผ่นเดียวกัน ดร.มูฮัมหมัด ชัยยิด ฏอนฏาวี เป็นแกรนด์อิหม่าม มีฐานะเป็นนายกสภามหาวิทยาลัย อัลอัซหาร์ เป็นผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ มีผู้นับถือประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านคน มีฐานะ เท่ากับโป๊ปสันตะปาปา แห่งสำนักวาติกัน จึงมีบทบาทโดดเด่นชัดมาก ท่านแกรนด์อิหม่ามกล้า กล่าวคัดค้านการใช้ความรุนแรง เช่น การถล่มตึกเวิล์ดเทรดเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๓ เพราะท่านไม่เห็นด้วย กับวิธีการที่ชาวอาหรับทั่วโลกรุมเข้าบุกโจมตีประเทศอิสราเอล
       รัฐบาลไทยเริ่มจับทิศทางถูกจุด โดยเชิญให้แกรนด์อิหม่ามไปเยี่ยมประเทศไทย  และ พลเอกสนธิ บุณยรัตกลิน อดีตประธาน คมช. เริ่มเปิดฉากการคบหาสมาคมกับโลกอิสลามนิกาย สุหนี่ในมุมมองแบบใหม่ ตรงนี้อาจจะถือว่าเป็นการส่งสัญญาณไปยังสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งถึงประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียให้ทราบ ว่าประเทศไทยเราเริ่มเป็นเพื่อนกับหัวหน้าของ เขาแล้ว ความคาดหวังของท่านเอกอัครราชทูตไทย นายนพดล เทพพิทักษ์ ถือว่าเป็นมิติใหม่ เพราะได้สร้างจารึกเป็นประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ เป็นครั้งแรกที่คณะสงฆ์ไทยไปเยือนประเทศอียิปต์ อย่างเป็นทางการ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ได้มอบหมายงานให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ โดยเฉพาะอธิการบดี ให้มาสืบสานดำเนินการต่อไป แต่มีประเด็นที่อ่อนไหวมาก ต้องระมัดระวัง กล่าวคือ
       ๑ .  เรื่องสามจังหวัดชายแดนภาคใต้  และเรื่องเกี่ยวกับการเมือง  ซึ่งในสังคมไทย พระสงฆ์เราพูดไม่ได้ ฉะนั้น ให้มีเวทีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันเยี่ยงนักปราชญ์ ในงานทางวิชาการ เท่านั้น อย่ายุ่งเกี่ยวกับการเมือง โดยพยายามอย่าพูดถึงประเทศอิสราเอลอย่างเด็ดขาด
       ๒ .  ในการประชุมผู้นำศาสนาโลก (Religious World Council) มหาจุฬาฯ เราจะเชิญ ให้ผู้นำอิสลามในประเทศอียิปต์ไปร่วมงานประชุมด้วย ประเด็นนี้พูดชี้แจงแถลงการณ์เป็นเอกสาร ได้
       ๓  . ท่านเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงไคโร นายนพดล เทพพิทักษ์ ได้คาดหวังคณะสงฆ์ ไทย ท่านอยากให้คนไทยมองเห็นความสัมพันธ์ที่ดีในมิติทางด้านศาสนา โดยจัดให้มีการแลกเปลี่ยน สนทนาธรรมกันระหว่างพุทธกับอิสลาม  ไทยกับอียิปต์  อยากให้ชาวไทยเข้าใจจิตวิญญาณของ ประเทศอียิปต์ว่า อียิปต์เป็นสังคมเปิดใจกว้าง ยอมรับศาสนาอื่นให้อยู่ร่วมกันได้ เพราะในประเทศ อียิปต์มีคริสต์คอปติกสายออร์โธดอกซ์ตั้งอยู่ภายในประเทศอียิปต์ที่มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนา ประจำชาติได้แถมคริสต์กับอิสลามยังเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน คณะสงฆ์ไทยเรามีโอกาสเข้าพบปะพูด คุยกับท่านโป๊ปหรือสมเด็จพระสันตะปาปา ผู้นำสูงสุดของคริสต์ศาสนาในอียิปต์ มีผู้นับถือศาสนา ร้อยละ ๑๐ เป็นพวกนับถือคริสต์ศาสนาสายนิกายกรีกออร์โธดอกซ์ ในจุดตรงนี้ ต้องมองให้เห็น ว่าในประเทศอียิปต์เขาก็มีหลายศาสนาเช่นกัน เขามีใจกว้าง มีขันติธรรม (tolerance) เปิดประตู ใจรับให้ศาสนาอื่นอยู่ร่วมด้วย เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์กับทุกศาสนา โดยเฉพาะพวกเราชาวพุทธ
       พวกนิยมทางสายกลางในประเทศอียิปต์ เขามีสอนที่มหาวิทยาลัยอัลอัซหาร์ ซึ่งสอนเรื่อง เกี่ยวกับชีวิตในโลกนี้และโลกหน้า เช่นให้ทำละหมาด (เป็นการปฏิบัติสมาธิ) และสอนเรื่องซะกาดซ์ บริจาคทรัพย์ให้ทานเพื่อช่วยเหลือกัน ในศาสนาพราหมณ์สอนช่วงวัยชีวิตไว้ ๔ อย่าง คือ พรหมจารี ศึกษาเล่าเรียน คฤหัสถ์ แต่งงานอยู่ครองเรือน วนปรัสถ์ แสวงหาสัจธรรม และสันยาสี ออกบวช ไม่มีเรือน  ส่วนในพระพุทธศาสนา  มีหลักคำสอนเกี่ยวกับประโยชน์สามอย่าง  คือ  ทิฏฐธัมมิก ประโยชน์ ให้ขยันทำมาหากิน รู้จักเก็บรักษาทรัพย์สินที่แสวงหามาได้ คบเพื่อนดีเป็นกัลยาณมิตร และดำรงชีวิตพอเพียง และสอนหลักสัมปรายิกัตถประโยชน์ คือให้มีศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัยรักษาศีลห้า เคารพกฎระเบียบของสังคม รู้จักเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง (ซึ่ง เทียบได้กับซะกาดซ์ในอิสลาม) และสอนเรื่องปัญญา เจริญจิตพัฒนาปัญญา สอนเพื่อให้เข้าถึง หลักไตรลักษณ์ความจริงแท้ มองเห็นว่า ทุกอย่างไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เพื่อจะได้ไม่ยึด มั่นถือมั่นเป็นอุปาทาน อันเป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์ทั้งมวลในโลกนี้ พระพุทธศาสนายังสอนเรื่อง ปรมัตถประโยชน์ คือการดับทุกข์ โดยเข้าถึงตัวพระนิพพาน ดับทุกข์เดี๋ยวนี้ หมดทุกข์โดยประการ ทั้งปวง เป็นเป้าหมายหลักอีกด้วย สรุปว่าสอนประโยชน์ ๓ โลก คือโลกนี้ (ปัจจุบัน) โลกหน้า (อนาคต) และเหนือโลกทั้งสอง
        จุดเหมือนกันของศาสนา คือสอนเรื่องการทำสมถภาวนา ในศาสนาอิสลาม เรียกว่า วิวร ณ์ ซึ่งเป็นคำสอนของพระเจ้า หรือที่เขาใช้คำว่า พระเจ้าตรัสบอก (God said) ในประเด็นสุดท้ายที่ต้องทำความกระจ่างให้เกิดขึ้น คือ เรื่องภาษายาวี ซึ่งไม่ใช้ภาษา ของพระเจ้า และไม่ใช่ภาษาของอิสลาม เพียงเป็นภาษาของชนกลุ่มหนึ่งเท่านั้นที่ใช้พูดเท่านั้น ภาษา อารบิกหรือภาษาอาหรับต่างหากที่เป็นภาษาของพระเจ้า ที่เขาสอนให้ชาวอิสลามต้องเรียนต้องรู้ กัน เพื่อสื่อสารกับพระเจ้าได้อย่างถูกต้อง ขอส่งท้ายว่า เรากำลังจะกลืนเขา ซึ่งเรียกว่าหลอมละลายเขาให้เข้ากับเรา ทำเขาให้ เป็นเราได้อย่างไร ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ใช่เป็นเรื่องของศาสนา แต่ประเด็น สำคัญอยู่ที่ว่าเราจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้อย่างไร ขอฝากไว้เป็นของขวัญข้อคิดจากแม่น้ำไนล์ ใน การเยือนอียิปต์ของคณะสงฆไทยครั้งนี้

(Source: สารนิพนธ์)
 
 
 
Copyright © Mahachulalongkornrajavidyalaya University All rights reserved 
Maintained by: webmaster@mcu.ac.th 
Last Update : Thursday February 9, 2012