Mahachulalongkornrajavidyalaya University
MCU Home Search Contacts Study Events Site Map Thai/Eng
 
MCU

First Page » พระมหาวันชัย ธมฺมชโย (ช่วงสำโรง)
 
Counter : 20000 time
การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องความตาย ตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุ(๒๕๔๘)
Researcher : พระมหาวันชัย ธมฺมชโย (ช่วงสำโรง) date : 23/08/2010
Degree : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
Committee :
  พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ
  ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร
  -
Graduate : ๕ มกราคม ๒๕๔๘
 
Abstract

    งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาหลักการปฏิบัติต่อความตายในพระพุทธศาสนา แนวคิดวิธีปฏิบัติต่อความตายของพุทธทาสภิกขุและอิทธิพลคำสอนเรื่องความตาย ของพุทธทาสภิกขุที่มีต่อสังคมไทย
พระพุทธศาสนาสอนว่าชีวิตมีความตายเป็นที่สุด ทุกชีวิตที่เกิดมาบนโลกนี้ ต้องตายด้วยกันทั้งสิ้น ความตายปรากฏแก่ทุกชีวิตไม่เลือกเวลา หรือสถานที่ เมื่อเข้าใจในความตาย ก็ควรดำรงอยู่ในความไม่ประมาท ขวนขวายทำกิจที่ควรทำ คฤหัสถ์ไม่พึงประมาทในชีวิต รีบเร่งทำความดีต่าง ๆ ก่อนความตายมาเยือน บรรพชิตก็ไม่พึงประมาทในชีวิต รีบเร่งทำความเพียรเพื่อให้บรรลุถึงความสิ้นกิเลส คือการเข้าถึงพระนิพพาน
แนวคิดและวิธีปฏิบัติต่อความตายของพุทธทาสภิกขุเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับ ธรรมชาติ พุทธทาสภิกขุกล่าวว่า ธรรมชาติก็คือธรรม การปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับธรรมก็คือการทำทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นไปตามหลัก แห่งธรรมชาติ พุทธทาสภิกขุมีแนวคิดพื้นฐานที่ความประหยัด ใช้สอยสิ่งของเท่าที่จำเป็น ไม่ทำลายธรรมชาติ รักษาตัวเท่าที่จำเป็น ไม่ตองหอบสังขารหนีความตาย ใช้เหตุการณ์ในชีวิตจริง คือการเจ็บป่วยในแต่ละครั้งเป็นการเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ และอยู่กับธรรมชาติอย่างมีความสุข
คำสอนเรื่องความตายของท่านพุทธทาสมีอิทธิพลต่อสังคมไทยอย่างกว้างขวาง แพทย์ยอมรับในสิทธิของผู้ป่วยมากขึ้น และทำให้มีการศึกษาเรื่องความตายอย่างกว้างขวาง

Download : 254904.pdf

 

Download :
 
 
Copyright © Mahachulalongkornrajavidyalaya University All rights reserved 
Maintained by: webmaster@mcu.ac.th 
Last Update : Thursday February 9, 2012