Mahachulalongkornrajavidyalaya University
MCU Home Search Contacts Study Events Site Map Thai/Eng
 
MCU

First Page » พระมหาบุญทัน จิตฺตวิสุทฺธิ (สลุงอยู่ )
 
Counter : 20005 time
ศึกษาวิเคราะห์เรื่องทาสที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา(๒๕๕๐)
Researcher : พระมหาบุญทัน จิตฺตวิสุทฺธิ (สลุงอยู่ ) date : 28/07/2010
Degree : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
Committee :
  พระเมธีรัตนดิลก
  พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร
  นายรังษี สุทนต์
Graduate : ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
 
Abstract

     วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาความสำคัญและอิทธิพลของพระพุทธศาสนาเฉพาะทางด้านแนว ความคิดที่เกี่ยวทาส มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาวิเคราะห์เรื่องทาสที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธ ศาสนา ใน ๓ ประเด็นด้วยกันคือ ประวัติความเป็นมาและสถานภาพของทาสท่าทีของพระพุทธศาสนาที่มีต่อทาส และศึกษาวิเคราะห์วิธีการแก้ปัญหาเรื่องทาสในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.๕)การศึกษานี้เป็นการศึกษาภาคเอกสาร ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับทาสในคัมภีร์พระไตรปิฎกรวมทั้งเอกสารอื่นๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องและได้วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆนำมาเรียบเรียงเพื่อนำเสนอ เป็นแนวทางการศึกษาผลของการวิจัยได้พบว่า ทาส มีความเกี่ยวข้องกับสังคมมนุษย์ช้านาน ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงการตกเป็นทาส ๔ ประการคือ ทาสในเรือนเบี้ย ทาสสินไถ่ ผู้ที่มาเป็นทาสด้วยความสมัครใจ และ ทาสเชลย ผู้ที่ตกเป็นทาส มีสภาพเป็นเหมือนดังทรัพย์สมบัติของนาย ขาดอิสรภาพในตัวเอง พระพุทธศาสนาสอนให้มนุษย์มีเมตตาต่อกันมีสิทธิเสรีภาคเท่าเทียมกันรวมทั้งมี คำสอนเกี่ยวกับข้อปฏิบัติต่อทาสเช่น ให้อาหารที่เพียงพอแก่การดำรงชีวิตให้การรักษาพยาบาลเมื่อทาสเจ็บป่วย ไม่ทอดทิ้งทาสยามข้าวยากหมากแพง การหลุดพ้นจากความเป็นทาสเกิดขึ้นได้ด้วยความพอใจของนายและทาสที่บวชในพระ พุทธศาสนาจะพ้นจากการเป็นทาสแม้ลาสิกขาไปแล้วก็ยังคงได้รับการเป็นไทตลอดไป ในประเทศไทยสภาพของทาสไม่แตกต่างจากสภาพของทาสที่มีในอื่นๆ การมีทาสแสดงถึงความไม่มีอารยธรรมของประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( ร. ๕ )
ทรงพยายามหาวิธีการเลิกทาสของพระองค์กระทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยพระองค์ทรงยึดหลักทางสายกลางตามมัชฌิมปฎิปทา โดยไม่ให้ใครเสียผลประโยชน์ เพราะพระองค์อาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่พระองค์ประพฤติปฏิบัติมาแล้ว งานวิจัยนี้ทำให้เห็นสถานภาพของทาสในอดีตจนสามารถมองเห็นสภาพผู้ที่มี สถานภาพคล้ายทาสในปัจจุบันโดยการเทียบเคียง ซึ่งจัดเป็นปัญหาทางสังคมอย่างหนึ่งซึ่งสามารถแก้ไขได้หากนำหลักการทางพระ พุทธศาสนามาประยุกต์ใช้
Download :  255119.pdf

Download :
 
 
Copyright © Mahachulalongkornrajavidyalaya University All rights reserved 
Maintained by: webmaster@mcu.ac.th 
Last Update : Thursday February 9, 2012