หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ

หน้าหลัก » ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อนุภูมิ โซวเกษม » การศึกษาแนวทางการใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
 
เข้าชม : ๙๐๖๙ ครั้ง

''การศึกษาแนวทางการใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี''
 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อนุภูมิ โซวเกษม (2556)

 

การศึกษาแนวทางการใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารจัดการ

องค์การบริหารส่วนตำบลเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

Study on approach of application of ten royal virtues to manage

Sub-district administrative organization area of Songphinong

District Suphanburi province

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อนุภูมิ โซวเกษม

พธ.บ. (มานุษยสงเคราะห์ศาสตร์), M.A. (Pol.)

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการใช้หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการใช้หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยทางสังคม และ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางในการนำหลักธรรมทศพิธราชธรรมไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยดำเนินการวิจัยตามวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มประชากรตัวอย่างที่เป็นประชาชน จำนวน ๓๙๕ คน ซึ่งใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of variance) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญที่น้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD)

จากผลการศึกษา พบว่า ๑. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อทางการใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๐๙) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ประชาชนทั้งหมดมีความคิดเห็นต่อการศึกษาแนวทางการใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบล อยู่ในระดับมากทุกด้าน

๒. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนมีความคิดเห็นต่อทางการใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยทางสังคม พบว่า ประชาชนที่มีอายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน และการมีส่วนร่วมต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการใช้หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ และประชาชนที่มีเพศ ระดับการศึกษาสถานภาพสมรส ญาติของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และมีประสบการณ์กับองค์การบริหารส่วนตำบลต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการใช้หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีแตกต่างกัน ไม่แตกต่างกัน จึงไม่ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓. ข้อมูลเสนอแนะเพื่อใช้เป็นแนวทางในการนำหลักทศพิธราชธรรมไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านทาน การให้ ควรให้ในสิ่งที่ควรให้ เป็นการเผื่อแผ่ให้ปันและการสงเคราะห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการศึกษา ด้านศีล ความประพฤติดีงาม ผู้นำควรประพฤติเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับประชาชนโดยทั่วไป และพนักงานส่วนตำบลที่ทำงานจะต้องอยู่ในศีล และต้องประพฤติดีงามในการทำงานต่อเพื่อนร่วมงานจึงจะทำให้องค์การดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านปริจาคะ การบริจาค การเสียสละเพื่อส่วนรวมในการรับภาระปฏิบัติดำเนินงานของประชาชน หมู่คณะด้วยการเสียสละอย่างแท้จริง และมีใจกว้างขวางเพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์ ด้านอาชชวะ ความซื่อตรง มีความซื่อตรงต่อหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง ต่องาน ต่อบุคคลอื่น มีความภักดีต่อประเทศชาติ และตั้งอยู่ในสุจริตธรรม ด้านมัททวะ ความอ่อนโยน มีความอ่อนโยนซึ่งกันและกัน ผู้บริหารจะต้องมีความอ่อนโยนซึ่งกันและกัน ด้านตปะ ความไม่หลงหมกมุ่นในลาภ ยศ สรรเสริญ ต้องทำงานให้เต็มที่ มีธรรมะในตนเพื่อขจัดความชั่วไม่ให้กำเริบ เป็นอำนาจปราบปรามจิตใจของผู้ปกครองผู้นำท้องถิ่นให้อยู่ในกรอบ ทำงานตามหน้าที่ให้ดีที่สุด ด้านอักโกธะ ความไม่โกรธ การทำงานร่วมกันจะต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ไม่โกรธกับสิ่งยั่วยุกับสิ่งรอบข้าง ควรมีความเมตตา รัก และปรารถนาดีต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน โดยสม่ำเสมอด้วยใจบริสุทธิ์ ด้านอวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน การทำงานร่วมกันทุกคนมีหน้าที่ที่ต้องทำตามตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการอยู่ร่วมกันอย่างบริสุทธิ์ใจ ควรมีความกรุณาช่วยเหลือให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานทำงานอย่างมีความสุข ด้านขันติ ความอดทน ควรมีใจที่เข้มแข็งต่อการปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุเป้าหมาย และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ทุกอย่างให้ได้ สันติภาพก็จะบังเกิดขึ้น ด้านอวิโรธนะ ความธำรงรักษาไว้ซึ่งความยุติธรรม ยึดหลักความยุติธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ ดำรงความยุติธรรม มีความสงบเสงี่ยม มีสติควบคุมรักษามารยาททางกาย วาจาให้เป็นสุจริต และไม่ผิดระเบียบประเพณี ตลอดจนกฎหมายและศีลธรรมให้มีความดีงาม

 

Abstract

 

The Objectives of this research are (1) to study an application of ten royal virtues in managing sub-district administrative organization in area of Amphur Songphinong Suphanburi province. (2) to compare the people’s opinions toward an application of ten royal virtues in managing by dividing individual factors and social factors (3) to study an application approaches of ten royal virtues in managing of mentioned organization by conducting survey research and using questionnaires for collecting data from 395 population sampling which use cluster sampling analysis by frequency percentage average standard deviation t-test and one way analysis of variance and difference comparison of dual average by method of least significant difference (LSD).  The result of research was found that

1. The people have opinions toward an application approaches of the royal virtues in managing sub-district administrative organization as a whole at high level (x = 4.09) when it was divided individually and found that the people have opinions on this an application approaches at high level in every aspect.

2. Comparison about people’s opinions on an application approaches according to individual factor division and social factor was found that the people who have age career and income per month and different participation gave opinions on a different application approaches in managing sub-district administrative organization by least significant difference (LSD) at 0.05 level and the people who have gender, educational level, married status, relative of members in sub-district administrative organization, interest persons, and different experienced persons with sub-district administrative organization toward different application opinions are indifferent rejecting set hypothesis.

3. Suggested data for guided application of ten royal virtues to manage are as follows.  1. Dhana (charity) a person should give charity in suitable aspect. It is generous to each other and welfare work especially in matter of education. 2. SILA (high moral character) The leaders should behave as good model for general people and organization’s staff have to behave SILA and have a good behavior in performing with colleagues which make organization being process efficiently.  3. Parichakha (self-sacrifice) It is sacrifice for whole people and staff work for the benefit of the people with real sacrifice and they are generous for the public.  4. Archava (honesty) A person has honesty for the duty and responsibility for working and others including royalty in the country. They maintain in the good faith. 5. Matthava (kindness) A person has a kindness to each other administrators must have kindness to each other 6. Tapa (self-control) Administrators must not indulge in enrichment position and praise. They have to work fully and have Dhamma in themselves to eradicate evil without occurring it is power to control their minds to behave in the frame of morality with the best performance.         7. Agghodha (self-control) In working with other, persons have to practice their duty as best not anger with irritancy around them. Administrators should have kindness, loving-kindness and good wishes to subjects and colleagues with pure mind. 8. Avihingsa (Non-violence) everyone has duty to perform duty according to position and responsibility among. Administrators should have kindness to help subjects and colleagues to work happily. 9. Khanti (patience) Administrators should have strong minds to perform duty to achieve goal and adapt themselves in every situations then peace will occur.  10. Avirodhana (conformity to the law) Administrators hold justice in performing their duty, maintain justice, have modesty use mindfulness to control bodily action and verbal action in good faith and not violate traditions including law and morality.

 

บทนำ

 

องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นหน่วยงานปกครองท้องถิ่นที่ได้จัดตั้งหลังสุดของการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย  ซึ่งเป็นการกระจายอำนาจการปกครองขึ้นพื้นฐานสู่ประชาชนของรัฐบาลในสมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ กำหนดให้สภาตำบลมีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณล่วงมาแล้ว ๓ ปี เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ หนึ่งแสนห้าหมื่นบาท (หรือตามกระทรวงมหาดไทยจะประกาศกำหนดเกณฑ์รายได้ที่เปลี่ยนแปลงไปอาจจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้โดยทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยและให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้ในวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๓๘) และมีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ถึงปัจจุบันแล้ว ๓ ครั้ง รวม ๖,๓๙๗ แห่งทั่วประเทศ

โครงสร้างองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล สภาองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วยสมาชิก ๒ ประเภท สมาชิกโดยตำแหน่งได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านในตำบล แพทย์ประจำตำบล และสมาชิกเลือกหมู่บ้านละ ๒ มีวารการดำรงตำแหน่ง ๔ ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล  สมาชิกทั้งหมดจะเลือกสมาชิกด้วยกัน ทำหน้าที่เป็นประธาน ๑ คน  รองประธาน ๑ คน และเลขานุการสภาอีก ๑ คน ซึ่งนายอำเภอประกาศแต่งตั้งตามมติสภาองค์การบริหารส่วนตำบล อยู่ในตำแหน่งคราวละ ๒ ปี บุคคลเหล่านี้จะต้องเป็นคณะกรรมการผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเวลาเดียวกัน   

จากโครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล และเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ขององค์การเป็นจำนวนมากทำหน้าที่บริหารและรับผิดชอบงานด้านต่าง ๆ ในองค์การหลายแบบมีปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ มากมาย เช่น ปัญหาการทุจริตต่อหน้าที่ ขาดความรับผิดชอบเอาใจใส่ดูแลประชาชน และไม่มีความโปร่งใส ปัญหาการขาดความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ทำให้เกิดการก้าวก่ายการทำงานกันและกัน การจัดแผนพัฒนาตำบล การใช้จ่ายงบประมาณผิดประเภท การขาดประชุมและการไม่สามารถควบคุมการบริหารงานของคณะกรรมการบริหารได้ เป็นต้น ซึ่งการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้สิ่งจำเป็นหรือปัจจัยที่สำคัญยิ่งสำหรับการบริหารคือ ประชาชนที่มีส่วนร่วมในการบริหารดังกล่าวอันประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ของประชาชน และปัจจัยทางสังคมของประชาชน ได้แก่ การเป็นญาติของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นผู้มีส่วนได้เสีย การเข้าไปมีส่วนร่วม และประสบการณ์ร่วมทำงานกับองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีส่วนร่วมทางการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลอันเป็นตัวบ่งชี้ว่า การบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลมีปัญหาหรือประสบผลสำเร็จมากประการใด และในทางพระพุทธศาสนาได้มีหลักธรรมสำหรับผู้นำหรือผู้บริหารที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้การเป็นผู้นำหรือผู้บริหารงานประสบความสำเร็จทั้งการ “นำ” และการ “บริหาร” ได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย คือ “หลักทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ” ได้แก่ ๑) ทาน (ทานํ)  คือ การให้ทาน การเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมนอกจากเสียสละทรัพย์สิ่งของแล้ว ยังหมายถึงการให้น้ำใจแก่ผู้อื่นด้วย ๒) ศีล (สีลํ) คือความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา และใจ ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา  ๓) บริจาค (ปริจาคํ) คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม ๔) ความซื่อตรง (อาชฺชวํ) คือ ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต ๕) ความอ่อนโยน (มทฺทวํ) คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า ๖) ความเพียร (ตปํ) หรือความเพียร มีความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน ๗)  ความไม่โกรธ (อกฺโกธํ) หรือความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล ๘) ความไม่เบียดเบียน (อวิหึสา) การไม่เบียดเบียน หรือบีบคั้น ไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น ๙) ความอดทน (ขนฺติ) การมีความอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย ๑๐) ความยุติธรรม (อวิโรธนํ) ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่เอนเอียงหวั่นไหวด้วยคำพูด อารมณ์ หรือลาภสักการะใด ๆ

ฉะนั้น จากสภาพปัญหาและปรากฏการณ์ดังกล่าว ผู้ศึกษาวิจัยจึงต้องการศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาแนวทางการใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี” เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเป็นแนวทางในการบริหารองค์การต่อไป

 

เครื่องมือและวิธีการวิจัย

 

ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้  เป็นการศึกษาโดยการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มประชากรตัวอย่างที่เป็นประชาชน จำนวน ๓๙๕ คน ซึ่งใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of variance) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญที่น้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) 

 

 

ผลการวิจัย

 

  จากการศึกษาแนวทางการใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีผู้วิจัยสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้

  ประชาชน มีความคิดเห็นต่อทางการใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๐๙) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน สรุปได้ดังนี้

๑. ด้านทาน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่า การใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบล ด้านทานโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = ๓.๙๕) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ประชาชน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อคำถาม

๒. ด้านศีล พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่า การใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบล ด้านศีลโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = ๔.๐๐) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ประชาชน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อคำถาม

๓. ด้านปริจาคะ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่า การใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบล ด้านปริจาคะโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = ๔.๐๘) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ประชาชน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อคำถาม           

๔. ด้านอาชชวะ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่า การใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบล ด้านอาชชวะโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = ๔.๑๕) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ประชาชน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อคำถาม

๕. ด้านมัททวะ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่า การใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบล ด้านมัททวะโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = ๔.๒๒) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ประชาชน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อคำถาม

๖. ด้านตปะ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่า การใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบล ด้านตปะโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = ๔.๑๗) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ประชาชน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อคำถาม

๗. ด้านอักโกธะ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่า การใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบล ด้านอักโกธะโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = ๔.๐๐) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ประชาชน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อคำถาม

๘. ด้านอวิหิงสา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่า การใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบล ด้านอวิหิงสาโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = ๔.๑๑) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ประชาชน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อคำถาม

๙. ด้านขันติ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่า การใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบล ด้านขันติโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = ๔.๐๕) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ประชาชน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อคำถาม

๑๐. ด้านอวิโรธนะ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่า การใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบล ด้านอวิโรธนะโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = ๔.๑๖) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ประชาชน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อคำถาม

ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชากรต่อทางการใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามนำไปสู่การตอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ สามารถแสดงรายละเอียดได้

การเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนมีความคิดเห็นต่อทางการใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยทางสังคม พบว่า ประชาชนที่มีอายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน และการมีส่วนร่วมต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการใช้หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ และประชาชนที่มีเพศ ระดับการศึกษาสถานภาพสมรส ญาติของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และมีประสบการณ์กับองค์การบริหารส่วนตำบลต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการใช้หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีแตกต่างกัน ไม่แตกต่างกัน จึงไม่ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

 

ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนา

 

ผลการศึกษาข้อมูลเสนอแนะเพื่อใช้เป็นแนวทางในการนำหลักทศพิธราชธรรมไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งผู้วิจัยนำเสนอตามประเด็นดังต่อไปนี้ แนวทางในการนำหลักทศพิธราชธรรมไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านทาน การให้ ควรให้ในสิ่งที่ควรให้ เป็นการเผื่อแผ่ให้ปันและการสงเคราะห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการศึกษา ด้านศีล ความประพฤติดีงาม ผู้นำควรประพฤติเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับประชาชนโดยทั่วไป และพนักงานส่วนตำบลที่ทำงานจะต้องอยู่ในศีล และต้องประพฤติดีงามในการทำงานต่อเพื่อนร่วมงานจึงจะทำให้องค์การดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านปริจาคะ การบริจาค การเสียสละเพื่อส่วนรวมในการรับภาระปฏิบัติดำเนินงานของประชาชน หมู่คณะด้วยการเสียสละอย่างแท้จริง และมีใจกว้างขวางเพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์ ด้านอาชชวะ ความซื่อตรง มีความซื่อตรงต่อหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง ต่องาน ต่อบุคคลอื่น มีความภักดีต่อประเทศชาติ และตั้งอยู่ในสุจริตธรรม ด้านมัททวะ ความอ่อนโยน มีความอ่อนโยนซึ่งกันและกัน ผู้บริหารจะต้องมีความอ่อนโยนซึ่งกันและกัน ด้านตปะ ความไม่หลงหมกมุ่นในลาภ ยศ สรรเสริญ ต้องทำงานให้เต็มที่ มีธรรมะในตนเพื่อขจัดความชั่วไม่ให้กำเริบ เป็นอำนาจปราบปรามจิตใจของผู้ปกครองผู้นำท้องถิ่นให้อยู่ในกรอบ ทำงานตามหน้าที่ให้ดีที่สุด ด้านอักโกธะ ความไม่โกรธ การทำงานร่วมกันจะต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ไม่โกรธกับสิ่งยั่วยุกับสิ่งรอบข้าง ควรมีความเมตตา รัก และปรารถนาดีต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน โดยสม่ำเสมอด้วยใจบริสุทธิ์ ด้านอวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน การทำงานร่วมกันทุกคนมีหน้าที่ที่ต้องทำตามตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการอยู่ร่วมกันอย่างบริสุทธิ์ใจ ควรมีความกรุณาช่วยเหลือให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานทำงานอย่างมีความสุข ด้านขันติ ความอดทน ควรมีใจที่เข้มแข็งต่อการปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุเป้าหมาย และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ทุกอย่างให้ได้ สันติภาพก็จะบังเกิดขึ้น ด้านอวิโรธนะ ความธำรงรักษาไว้ซึ่งความยุติธรรม ยึดหลักความยุติธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ ดำรงความยุติธรรม มีความสงบเสงี่ยม มีสติควบคุมรักษามารยาททางกาย วาจาให้เป็นสุจริต และไม่ผิดระเบียบประเพณี ตลอดจนกฎหมายและศีลธรรมให้มีความดีงาม

อภิปรายผล

 

การอภิปรายผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยจะได้นำประเด็นที่มีความสำคัญ ต่อการใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีประเด็นที่น่าสนใจสามารถนำมาอภิปรายได้ดังนี้

ความคิดเห็นของประชากรต่อการใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

จากผลการวิจัยพบว่า การใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับความเป็นจริง ทั้งนี้เนื่องจาก ประชาชน เห็นด้วยกับการใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบล เพราะการบริหารจัดการด้วยหลักธรรมย่อมทำให้สังคมดี ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ สยุมพร ปุญญาคม ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การบริหารจัดการที่ดี (Good governance) กับหลักพุทธศาสนา ผลการวิจัยพบว่า ประเทศไทยในปัจจุบันประสบปัญหาสภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ ปัญหาที่ทำให้เกิดสภาวะครั้งนี้เป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนเนื่องจากมีปัจจัยและเงื่อนไขภายนอกและภายในหลายประการที่เข้ามาเกี่ยวข้อง จนในที่สุดประเทศไทยจำเป็นต้องหาทางออกโดยการเจรจาขอความช่วยเหลือทางการเงินจาก International Monetary Found (IMF) เพื่อนำเงินมากู้วิกฤติทางเศรษฐกิจในครั้งนี้ เงื่อนไขอย่างหนึ่งที่ประเทศไทยจะต้องมี Good governance และสามารถสรุปคำนี้ออกมาเป็น (๑) ความซื่อสัตย์สุจริต (๒) ความโปร่งใส (๓) ความพร้อมที่จะชี้แจงหรือได้รับการตรวจสอบจากบุคคลหรือสถาบันอื่น (๔) การมีส่วนร่วมของสาธารณชน (๕) การพยากรณ์ได้ (๖) การปกครองแบบประชาธิปไตย (๗) การปกครองโดยกฎหมาย (๘) สิทธิมนุษยชน (๙) ความเสมอภาค (๑๐) สังคมประชา (๑๑) เศรษฐกิจพอเพียง (๑๒) ประสิทธิภาพ (๑๓) ประสิทธิผล (๑๔) ประหยัด (๑๕) คุณธรรมและจริยธรรม และนำหลักทางพุทธศาสนาที่เป็นหลักธรรมคำสอน นำมาใช้เป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารการจัดการที่ดี และสอดคล้องกับความต้องการของสังคมไทยในการปกครองเพื่อสังคมไทยอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข[1]  และสอดคล้องกับผลการวิจัยของ นำศักดิ์ หนูคง  ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “การใช้หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่นครศรีธรรมราช เขต ๑” ผลการวิจัยพบว่า ๑. การใช้หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราชเขต ๑ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านการไม่อาฆาตพยาบาทและเบียดเบียนผู้อื่น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านความสุภาพอ่อนน้อม และด้านการรักษากฎหมาย ระเบียบและวินัย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ๒. การใช้หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราชเขต ๑ ที่มีขนาดโรงเรียนต่างกันโดยรวมพบว่า แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .๐๕ สรุปได้ว่า ๒.๑) ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนการใช้หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราชเขต ๑ ที่มีขนาดโรงเรียนต่างกันโดยรวมพบว่า แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า แตกต่างกัน ๗ ด้าน คือ ด้านการเสียสละ ด้านความซื่อสัตย์และความเที่ยงตรง ด้านความสุภาพอ่อนน้อม ด้านความพากเพียรในการทำงาน ด้านการระงับและการควบคุมอารมณ์ ด้านการมีความอดทนอดกลั้น ด้านการธำรงรักษาความยุติธรรม ไม่แตกต่างกัน ๓ ด้าน คือ ด้านการให้ ด้านการรักษากฎหมาย ระเบียบและวินัย ด้านการไม่อาฆาตพยาบาทและเบียดเบียนผู้อื่น           .๒) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ของการใช้หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราชเขต ๑ ที่มีขนาดต่างกัน โดยรวมพบว่า มีความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ว่า ผู้บริหารโรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ใช้ทศพิธราชธรรมในการบริหารงานแตกต่างกัน โดยที่มีคู่ที่แตกต่างกัน คือ โรงเรียนขนาดเล็กกับโรงเรียนขนาดใหญ่ และโรงเรียนขนาดกลางกับโรงเรียนขนาดใหญ่ และโรงเรียนขนาดเล็กกับโรงเรียนขนาดกลาง และพบว่า การใช้ทศพิธราชธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนขนาดกลาง สูงกว่า ผู้บริหารโรงเรียนขนาดหญ่ และผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก ทุกด้าน[2] จะพบได้ว่าหน่วยงานที่มีการให้หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานทำให้หน่วยงานนั้นมีความเป็นระเบียบและวินัยที่ดีมากยิ่งขึ้น

 

 

 

 

ข้อเสนอแนะ

 

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย       

๑) ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ควรกำหนดนโยบายโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดกับประชาชน โดยการประยุกต์หลักทศพิธราชธรรมเป็นแนวทาง วิธีทางในการกำหนดโนบายสาธารณะ

๒) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาให้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับพนักงาน เจ้าหน้าที่           

๓) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดผู้บริหารบุคคลต้นแบบที่มีการประยุกต์หลักธรรมสำหรับการบริหารงานแล้วประสบผลสำเร็จ เพื่อเป็นแบบอย่างสำหรับหน่วยงานอื่น ๆต่อไป

ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ         

๑) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรกำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมคุณธรรมสำหรับการทำงานให้ประสบผลสำเร็จแก่บุคลากร

๒) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรมีการกำหนดตัวชี้วัดในการปฏิบัติงานของแต่ละตำแหน่งโดยการประยุกต์หลักธรรมเป็นแนวทางหลักในการดำเนินงาน

๓) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่แสดงถึงการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอันได้รับอิทธิพลจากคำสอนทางพระพุทธศาสนาให้แก่ประชาชน เพื่อสร้างจิตสำนึกความมีส่วนร่วมในการบริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป                         

หากมีการวิจัยเกี่ยวกับ แนวทางการใช้หลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบล ในครั้งต่อไป ผู้วิจัยขอเสนอแนะการดำเนินการวิจัยในลักษณะต่อไปนี้

๑) ควรส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัย เพื่อศึกษาวิจัยการใช้หลักทศพิธราชธรรมในองค์การของรัฐกับภาคเอกชน เพื่อนำปัญหา อุปสรรคที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ไปพัฒนา ปรับปรุง ประสิทธิภาพบุคลากรที่ปฏิบัติงานในทุกๆ องค์กรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

๒) ควรศึกษาวิจัยกระบวนการสร้างระบบคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารและพนักงานในหน่วยงานภาครัฐกับภาคเอกชน

๓) ควรทำการศึกษารูปแบบการเปรียบเทียบการพัฒนาบุคลากรตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กับการพัฒนาตามหลักทฤษฎีตะวันตก

๔) ควรทำการวิจัยและพัฒนาโปรแกรมระบบการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการปฏิบัติตน ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนากับหน่วยงานของทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการต่อไป

 

เอกสารอ้างอิง

 

๑. ภาษาไทย :

     ๑.๑ ข้อมูลปฐมภูมิ 

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.  พระไตรปิฏกฉบับภาษาไทย.  ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช

              วิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

 

     ๑.๒ ข้อมูลทุติยภูมิ

            หนังสือ/งานวิจัย

พิเชษฐ์ วงศ์เกียรติ์ขจร.  แนวคิด ยุทธศาสตร์ การบริหารการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท) ในยุคโลกาภิวัตน์.  กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน, ๒๕๕๒.

นำศักดิ์  หนูคง. “การใช้หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่นครศรีธรรมราช เขต ๑”. รายงานการวิจัย,  สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, ๒๕๕๐.

สยุมพร ปุญญาคม.  การบริหารจัดการที่ดี (good governance) กับลักษณะพระพุทธศาสนา”.  รายงานการวิจัย, สถาบันวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๑.



[1] สยุมพร ปุญญาคม,การบริหารจัดการที่ดี (good governance) กับลักษณะพระพุทธศาสนา”, รายงานการวิจัย, สาขารัฐศาสตร์, (กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๑), บทคัดย่อ.

[2]นำศักดิ์  หนูคง, “การใช้หลักทศพิธราชธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่นครศรีธรรมราช เขต ๑”, รายงานการวิจัย, (สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, ๒๕๕๐), บทคัดย่อ.

(ที่มา: บทความทางวิชาการ)
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕