หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ

หน้าหลัก » โดย ผศ.ดร. สมิทธิพล เนตรนิมิตร » เชนกับพุทธ : ความเหมือนที่แตกต่าง
 
เข้าชม : ๖๗๖๕๗ ครั้ง

''เชนกับพุทธ : ความเหมือนที่แตกต่าง''
 
ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร (2548)

ถ้าหากในสังคมไม่มีมาตรการใด ไว้คอยควบคุม ใครคิดจะทำอะไรก็ทำไปตามอำเภอใจ สังคมคงสับสนวุ่นวายมากกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เพื่อป้องกันความวุ่นวายสับสน มนุษย์จึงหามาตรการวางไว้เป็นกรอบแห่งความประพฤติ มาตรการในศาสนาถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพราะมีกฎระเบียบไว้บังคับ ถ้าหากยังมีความเคารพในความศักดิสิทธิ์คนจะไม่กล้าฝ่าฝืน แต่ถ้าหากคนไม่เชื่อจนถึงกับลบหลู่ดูแคลน กฎทางศาสนาก็ลดความสำคัญลงไป 

เมื่อพูดถึงมาตรการศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาก็ไม่พ้นความเชื่อถือที่คนในอดีตสร้างไว้ควบคุมสังคมให้อยู่อย่างสงบ

. ความเชื่อทรงอำนาจ

ปัจจุบันนี้ หากมีใครพูดเรื่องราวปรากฏการณ์เหลือวิสัย ยากที่คนสามัญจะทำได้ จะได้ยินคำพูดทำนองว่า “เป็นเรื่องเหลือเชื่อ” ยิ่งในกรณีที่เกี่ยวกับความศรัทธาทางศาสนาด้วยแล้ว จะบอกว่าต้องมีปัญญาด้วยหรือไม่ต้องมีปัญญา ก็ตาม ลงปักใจเชื่อเสียแล้วก็ไม่มีสิ่งใดหยุดยั้งไว้ได้ ศรัทธากับศาสนาจึงเคียงคู่กันเสมอมา เท็จจริงแค่ไหนว่ากันทีหลังขอเชื่อเอาไว้ก่อน ศรัทธา(ความเชื่อ)มีทั้งการสร้างสรรค์ทั้งการทำลายล้าง  การศึกษาอบรมก็ใช่ว่าจะเปลี่ยนความเชื่อไปได้ บางคนปักใจเชื่ออย่างหนึ่ง ครั้นรู้ผิดแผกไปจากที่เคยรู้มา แม้จะรู้ดีว่าที่เคยหลงเชื่อนั้นไม่ถูกต้องอีกต่อไปแล้วแต่ก็ไม่กล้าเปลี่ยนสถานะไปได้ เพราะติดที่ความจำเป็นบางอย่าง จึงฝืนพฤติกรรมตัวเองเหมือนสันทกปริพาชกในอดีต (. . ๑๓/๒๓๖/๒๑๑)   

ความเชื่อมีผลต่อการดำเนินชีวิต เอนเอียงไปข้างคนหมู่มาก ผู้เชื่ออำนาจลึกลับมักจะไม่กระตือรือร้นเพราะเชื่ออยู่ว่าถึงเปลี่ยนแปลงชีวิตก็ป่วยการ อย่างไรเสียย่อมไม่อาจฝืนอำนาจลึกลับได้ ผู้ไม่เชื่ออำนาจลึกลับ ไม่สนใจพรหมลิขิตจะมีทัศนคติไปอีกอย่าง ส่วนผู้ที่เชื่ออย่างผสมผสานจะมีวิถีชีวิตอย่างผสมผสาน ความเชื่อจึงมีผลต่อบุคลิกภาพ แต่ไม่ใช่หมายความว่าในสังคมหนึ่งมนุษย์จะต้องชื่นชมกับความเชื่อของผู้คนในสังคมนั้นเสมอไป

สมัยโบราณ เมื่อมนุษย์ต้องประสบภยันตราย พึ่งตนเองไม่ได้ คนอื่นก็ช่วยไม่ไหวจึงต้องไขว่คว้าหาที่พึ่งด้วยตัวเอง สร้างกลไกขึ้นปกป้องภัยพิบัติ จะสร้างกลไกแบบไหนขึ้นอยู่กับความรู้และความร้ายแรงที่เกิดขึ้น ถึงตอนนี้ คำสอนในศาสนามักเป็นที่คาดหวังได้ ดังคำที่ว่า “พอถูกความกลัวคุกคาม มนุษย์จึงอ้างภูเขา ป่า วัดวาอารามจนถึงรุกขเจดีย์เป็นที่พึ่งพิงอาศัย” จึงเห็นได้ว่าพิธีกรรมในศาสนามักจะแฝงไปด้วยความเชื่อ ที่มนุษย์แสดงออกด้วยความเคารพแล้วยอมรับกันว่าขลัง ที่สำคัญต้องเป็นเรื่องที่ทดสอบพิสูจน์ไม่ได้ ถ้าหากพิสูจน์หรือทดสอบได้จะคลายความขลังไปทันที การพยายามจะรักษาความขลังก็มีสาเหตุอีกเหมือนกัน ครั้นมีสิ่งเหลือเชื่อ ก็มีอะไรต่อมิอะไรตามมาอีกมากมาย ความเหลือเชื่ออาจจะถูกปลูกฝังก็เป็นได้ อ้างสืบต่อกันมาก็มี คนช่างคิดแต่งเติมขึ้นก็มี เกิดจากกระแสข่าวลือก็มี พฤติกรรมสนองความเชื่อก็มักจะเป็นที่ยอมรับกัน แล้วดัดแปลงให้เหมาะกับแต่ละยุค เมื่อความเชื่อกับการสนองความเชื่อไม่ขัดแย้งกันจึงทำให้ไปด้วยกันได้

. ความเชื่อเรื่องการทรมานตนเอง

ในอินเดียโบราณ ความเชื่อที่สอนกันมาว่าการทำตนให้ลำบากเป็นทางแห่งความพ้นทุกข์ เป็นการบำเพ็ญตบะ(ทำให้ร้อน) ตบะมีอำนาจวิเศษเหนืออำนาจพิธีกรรมอื่นใด “สรวงสวรรค์อยู่ในห้วงนภากาศ ห้วงนภากาศอยู่เหนือปฐพี ปฐพีอยู่เหนือมหาสมุทร มหาสมุทรอยู่เหนือสัจจะ สัจจะอยู่เหนือการบูชายัญ การบูชายัญอยู่เหนือการบำเพ็ญตบะ” สอนกันว่า การบำเพ็ญตบะเป็นใบเบิกทางไปสู่พลังอำนาจ ตบะเป็นการสั่งสมบุญบารมี สามัญชนสามารถจะทำให้ตนเองมีฤทธิ์เดชเวทมนต์ได้ด้วยการบำเพ็ญตบะ จะไปสวรรค์วิมานจนพ้นโลกก็เพราะบำเพ็ญตบะนี่แหละ จึงทำให้มีรูปแบบของความเชื่อหลากหลายเช่น จำกัดปริมาณอาหาร กินอาหารมื้อละ - คำ  ๑๕ วันกินต่อ มื้อ บ้างก็เปลือยกาย ใช้แปรงตาลถอนผม ถอนหนวด เอาฝุ่นทาร่างกาย ลงแช่น้ำในฤดูหนาว บ้างก็นุ่งห่มหนังสัตว์

การทำตัวให้ลำบาก ถือว่าเป็นจุดขายที่น่าสนใจ ยิ่งแสดงท่าทางได้พิลึกพิลั่นกว่าใครอื่นจะได้รับความชื่นชม ยิ่งแปลกยิ่งพิสดารจะยิ่งขลัง ยิ่งเป็นที่เลื่องลือ การทรมานตัวเองสืบทอดมาจาก  ทัศนคติที่ว่า เมื่อมีความทุกข์ก็ต้องกำจัดให้หมดไป ครั้นทรมานได้จะทำให้ชีวิตบริสุทธิ์ บางทีทั้งที่ก็รู้ว่าฝืนก็จำยอม จึงมีนักคิดค้นหาวิธีชำระตัวให้สะอาด ด้วยมีความเชื่อเป็นทุนอยู่ว่าในร่างกายมีสิ่งชั่วร้ายแฝงอยู่ หากทรมานได้เข้มงวด จะขจัดสิ่งชั่วร้ายให้หมดไป ผลพลอยได้ก็คือการยกย่องสรรเสริญจากคนรอบข้างที่มีความเชื่อเหมือนกัน 

. เจ้าลัทธิ คนที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อ 

ผู้เที่ยวประกาศว่า ตนเบื่อโลก มีกิเลสน้อย ชอบทำตัวขลัง ทำตัวซอมซ่อ ดูจะเป็นวิธีการดึงผู้ที่ยังไม่เบื่อหน่าย ยังมีกิเลสให้เกิดศรัทธา คนที่ประกาศว่าเบื่อโลกมักจะได้รับอภิสิทธิ์ เป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธา ถึงมีพฤติกรรมเพี้ยน ไปบ้างก็ไม่มีผู้ถือสาว่ากล่าวแต่อย่างใด ยิ่งมีพฤติกรรมแปลกประหลาดยิ่งกลายเป็นจุดเด่น ยกย่องกันไปว่ามีเอกลักษณ์ แล้วผู้ที่มีทัศนคติแบบเดียวกันก็จะหันไปยกย่องเทิดทูน เมื่อเห็นว่ามีคนมากพอจะสร้างอาณาจักรส่วนตัวได้ก็ตั้งสำนักขึ้นมา 

ในอินเดียโบราณ พราหมณ์เป็นแบบอย่างของนักบวช มีอยู่หลายสำนัก ได้แก่ ปริพาชก นิครนถ์  ดาบส  เกรุยะ (นุ่งผ้าสีแดง) อาชีวก   เป็นต้น

ลัทธิบูชาไฟของมาคัณฑิยะสอนว่าไม่ต้องควบคุมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ปล่อยไปตามอำเภอใจ ไม่ต้องสำรวม  ดูรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัสได้อย่างเต็มที่ ในสำนักของปาราสิยะสอนตรงกันข้าม ให้เคร่งครัดทำตัวเหมือนคนตาบอดหูหนวก ไม่ต้องไปสนใจใครทั้งสิ้น บางสำนักอ้างว่าเป็นสัพพัญญูรู้ไปเสียทุกอย่าง แต่ไม่สามารถจะพาตนให้พ้นทุกข์ได้ บางสำนักเชื่อตามชาวบ้าน บางสำนักชอบคาดเดา บางสำนักไม่รู้อะไรเลยหรือถึงรู้ก็รู้ไม่จริงจัง ครั้นพอถูกไล่เลียงกลับส่ออาการว่ากำลังหลงประเด็น

คนส่วนมากสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิต เรื่องวิญญาณ คำถามยอดนิยมเช่น โลกเที่ยงหรือไม่  ตายแล้วเกิดอีกหรือไม่ วิญญาณกับร่างกายใช่สิ่งเดียวกันหรือไม่ เจ้าลัทธิส่วนมากตกอยู่ในอาการเหมือนดังคนตาบอดคลำช้าง ยึดถือความเชื่อของตนเอง เชื่อว่าตนเป็นฝ่ายถูกต้องคนอื่นผิด สอนตามกันไปเหมือนคนตาบอดจูงคนตาบอด ในสมัยพุทธกาล เจ้าลัทธิผู้เป็นเจ้าหมู่คณะ     (สํฆี, คณี)  ที่เป็นคณาจารย์ (คณาจริโย) มีชื่อเสียงมีเกียรติยศ (ญาโต, ยสสฺสี) ที่เป็นเจ้าลัทธิ (ติตฺถงฺกโร) ที่คนจำนวนมากยกย่องว่าเป็นคนดี (สาธุสมฺมโต) มีประสบการณ์มาก (รตฺตญฺญู ) บวชมานาน      (จิรปพฺพชิโต)  มีชีวิตอยู่หลายรัชสมัย (อทฺธคโต) ล่วงกาลผ่านวันมามาก (วโยอนุปตฺโต)   มี คน 

ทั้ง คน มีคำสอนอยู่ในพระไตรปิฎกของพระพุทธศาสนา  คือ

() ปูรณะ กัสสปะ อาชีวกเปลือยกาย เป็นอเจลกไม่นุ่งผ้า ปูรณะไม่เชื่อเรื่องความดีความชั่ว ถือว่าสิ่งที่ทำไปแล้วก็เป็นอันว่าแล้วกันไป ไม่มีใครต้องรับผิดชอบ โลกนี้มีแต่ความบังเอิญ      ปูรณะเชื่อลัทธิทรมานตัวเอง ถือคติพจน์ว่า โลกเที่ยงถาวร โลกขาดสูญ มีทั้งความเที่ยงถาวรและความดับสูญหรือไม่มีสิ่งใดเหลือเลย ร่างกายกับวิญญาณคือสิ่งเดียวกัน  ปูรณะเป็นคนฉลาดมีปัญญาเต็มปรี่จึงมีชื่อว่าปูรณะ แต่ละวันปูรณะแบ่งอาหารออก ส่วน ให้ส่วนหนึ่งแก่ยาจก ให้ส่วนหนึ่งแก่สัตว์บก ให้ส่วนหนึ่งแก่สัตว์น้ำ ตัวเองกินส่วนหนึ่ง ในคัมภีร์มหาวัสตุ-อวทาน คัมภีร์วินัยของนิกายโลกุตตรวาทิน อ้างว่า   ปูรณะเคยพบปะสนทนากับพระพุทธเจ้าที่ตำบลอุรุเวลา ปูรณะเคยเป็นศิษย์ของมักขลิโคสาละ ทรมานตนเองอยู่ ๑๒ ปี ในวาระสุดท้ายเขาอดอาหารจนสิ้นชีพ บางแหล่งอ้างว่าปูรณะใช้เชือกผูกคอตัวเองเข้ากับถุงทรายแล้วกระโดดลงน้ำฆ่าตัวตาย

() มักขลิโคศาละ ผู้สืบทอดลัทธิอาชีวกในอดีตคนที่ ได้แก่ นันทะวัจฉะ  กิสะสัมกิจจะ และมักขลิโคสาละ มักขลินับถือลัทธิของปารศวนารถ เคยอยู่กับมหาวีระ (ศาสดาของศาสนาเชน) มักขลิเกิดในคอกวัว ที่สารสาละ กรุงสาวัตถี ปัจจุบันอยู่ใน อุตตรประเทศ อินเดีย (in Balrampur State) วันหนึ่ง เขาเดินถือหม้อน้ำย่างเท้าไปบนทางหล่มเลน เจ้านายบอกให้ระวังตัวจะลื่นล้ม เขาเผลอลื่นล้มจนได้ เพราะความกลัวจึงวิ่งหนี เจ้านายวิ่งไปฉุดชายผ้า แต่มักขลิหนีรอดไปทั้งที่ไม่มีผ้านุ่งห่มแล้วไปตั้งสำนักนักบวชเปลือยกาย หลักฐานของนิครนถ์ระบุว่า บิดาของมักขลิ คือ มังคลิ  มารดาชื่อภัททา อาชีพแกะสลัก เมื่อมารดามีครรภ์แก่ใกล้คลอด เดินทางไปกับสามีที่หมู่บ้านศรวณะ ขณะบิดากำลังจัดหาที่พักอาศัย นางหลบอยู่ในคอกวัวของโคภหุลคหบดี ได้คลอดบุตรในคอกวัวนั้นเอง มักขลิเที่ยวเร่ร่อนอยู่ ๑๒ ปี จนได้พบกับมหาวีระ(นิครนถ์นาฏบุตร) ที่ปาณิยภูมิ เมืองนาลันทา อยู่กับมหาวีระ ปี ต่อมาทะเลาะกันจึงแยกไปตั้งสำนักใหม่ที่บ้านช่างหม้อชื่อ ฮลาฮลา ได้สมญานามว่าชินะกำมะลอ (pseudo-Jina) พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงให้ความอุปถัมภ์ มักขลิมีทัศนคติว่า สรรพสิ่งในโลกถูกกำหนดไว้ตายตัว มนุษย์ต้องผ่านการเวียนว่ายตายเกิดหลายร้อยชาติ แต่ถูกกำหนดไว้แล้วแน่นอน กรรมเป็นมายา ความบริสุทธิ์เป็นสิ่งข้ามภพข้ามชาติ มีคติพจน์ว่า ความเพียรของมนุษย์เป็นสิ่งที่ไร้ผล ซึ่งตรงข้ามกับพุทธพจน์ “คนล่วงทุกข์เพราะความเพียร” คำสอนหลักของเขา คือ มหานิมิต   และมรรค   (การร้องเพลงกับการเต้นระบำ)

  อาชีวกมีข้อวัตรปฏิบัติไม่ต่างจากนิครนถ์ เรียกตัวเองว่าชินะบ้าง อรหันต์บ้าง เกวลินบ้าง   มักขลิทรมานตนอยู่ ๒๔ ปี ก่อนจะถึงวาระสุดท้าย เขานั่งเพ่งดวงอาทิตย์ ประสานมือไว้เหนือศีรษะ กินถั่วเป็นอาหารอย่างเดียว วันต่อ มื้อ กินมื้อละ กำมือเท่านั้น   แสงแดดแผดเผาผิวหนังเขาจนดำไหม้เกรียม เขาถือเคร่งอยู่ได้ เดือน จนมีอำนาจเวทมนต์ แต่เขาไม่พูดจากับใครเพราะกลัวเสื่อมจากข้อวัตรปฏิบัติ จนประสบทุกข์แสนสาหัส ฟุ้งซ่าน กระสับกระส่าย สิ้นชีวิตก่อนนิครนถ์นาฏบุตร ๑๖ ปี

() ปกุธะ กัจจายนะ เขาเป็นบุตรหญิงหม้าย เกิดใต้ต้นไม้จึงมีชื่อตามต้นไม้ว่ากกุธะหรือต้นกุมบุก เป็นคนพิการหลังค่อมแต่กำเนิด เมื่อพ่อเลี้ยงตายเขาจึงไปบวช ได้เป็นนักปรมาณูนิยมเก่าแก่ที่สุดในโลก มีสมญานามว่า Empedocles of India เขาเชื่อว่าผู้ที่ใช้อาวุธตัดศีรษะยังไม่มีใครฆ่าใคร เป็นแค่เพียงปรากฏการณ์ที่อาวุธผ่านไปตามสภาวะเท่านั้นเอง เขากลัวน้ำเย็นมากจนไม่ยอมเดินข้ามสะพาน หรือย่างกรายไปในที่ชื้นแฉะ เพราะกลัวจะเสื่อมจากข้อวัตร

() อชิตะ เกสกัมพล เขาตั้งสำนักวัตถุนิยม ไม่เชื่อเรื่องกรรมดีกรรมชั่ว ไม่เชื่อเรื่องโลกนี้ไม่เชื่อว่ามีโลกหน้า เชื่อว่าโลกว่างเปล่า ไม่มีใครมีคุณต่อใคร ไม่มีบิดามารดา มีธาตุทั้ง   ดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้นรวมกัน เมื่อธาตุทั้ง แยกสลายไป ธาตุดินจะกลับคืนสู่ดิน น้ำคืนสู่น้ำ ไฟคืนสู่ไฟ ลมคืนสู่ลม  เขาเชื่อว่าสรรพสิ่งสาบสูญว่างเปล่า ถือว่าชีวะ(วิญญาณ)ก็อันนั้น ร่างกายก็อันนั้น (ตํ ชีวํ ตํ สรีรํ) สอนเหมือนพวกจารวากที่สอนให้กิน ให้ดื่ม ให้เที่ยวเตร่ เพราะวันรุ่งขึ้นเราอาจตายเสียก็ได้ เขามีสมญานามว่า Indian Democritus สอนว่าอย่าให้เสียทีที่เกิดมาเป็นคนเพียงครั้งเดียว มีชีวิตก็ควรหาความบันเทิงให้เต็มที่

เรื่องควรทราบเกี่ยวกับอาชีวก อาชีวกเป็นกลุ่มผู้ครองชีพอย่างมีเป้าหมาย แต่อาชีวกไม่ปฏิบัติตเคร่งครัดเพื่อมุ่งโมกษะ บางคนปฏิบัติเคร่งเครียดจนร่างกายพิกลพิการ จึงเรียกว่า ทัณฑี ซึ่งหมายถึงผู้ใช้ไม้เท้าพยุงไปในเวลาเดิน ทรมานร่างกายจนเสียารทรงตัว บางคนเลียนอย่างค้างคาว ขึ้นไปอยู่บนต้นไม้แล้วห้อยศีรษะ เคลื่อนไหวแบบค้างคาว ที่เป็นนักโหราศาสตร์ก็มี ที่เป็นนักทำนายก็มี ที่เป็นนักพยากรณ์ก็มี อาชีวกบางกลุ่มเคารพต้นอโศกดุจว่าเป็นเทพเจ้า แต่ไม่เชื่อถือคัมภีร์พระเวท ทั้งชอบทำตัวสกปรกมอมแมมนุ่งผ้าเตี่ยว ถือแซ่ขนนกยูง มีโรงชุมนุมเรียกว่าอาชีวกสภา ถือว่าในชีวิตนี้จะต้องประสบกับสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง อย่าง (คล้ายกับโลกธรรม อย่าง) ได้แก่ ลาภ เสื่อมลาภ สุข ทุกข์ ชีวิตและความตาย วาระสุดท้ายของพวกอาชีวกคือ อดอาหารหรือย่างตัวเองบนเชิงตะกอน  

          อาชีวกมีการประพฤติวัตร วิธี ได้แก่() ทรมานตน () อยู่อย่างผู้เศร้าหมอง () รังเกียจบาป () อยู่ในที่สงัด  ปฏิบัติเคร่งเครียดแบบสุดโต่ง

ก่อนตรัสรู้ พระพุทธเจ้าเคยครองชีพอยู่แบบอาชีวกมาแล้ว ทรงพบว่าการปฏิบัติแบบอาชีวกไม่มีสาระประโยชน์ เป็นอัตตกิลมถานุโยค ทำให้เสียเวลา

() สัญชัย เวลัฏฐบุตร เขาเกิดในตระกูลทาส ที่ศีรษะของสัญชัยมีปมขนาดกำมือ เขามีสมญานามว่า Pyrrho of India เขาเชื่อว่า ในโลกนี้ไม่มีใครที่รู้ความจริง(สัจจะ) เขาจึงไม่สอนอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ทั้งไม่ยืนยันเรื่องใด   เขามีวาทศิลป์พูดเก่งเอาตัวรอดได้ทุกครั้งเหมือนปลาไหล เป็นอมราวิกเขปวาท์ จริยธรรมของสัญชัย เรียกว่า อวิรุทธกะ เหตุที่เขาไม่กล้ายืนยันเพราะกลัวการพูดเท็จ กลัวมีคนยึดถือเป็นจริงเป็นจัง กลัวถูกถาม เพราะตนเองก็ไม่รู้อะไรจริงจัง ทีฆนขปริพาชกหลานของพระสารีบุตร (นิครนถ์ว่าเป็นหลานของสัญชัย) เคยเป็นคนกลับกลอกเอาแน่นอนไม่ได้ เป็นคนประเภทสยาทวาท์ ตลบตะแลงยอมรับไปเสียทุกอย่าง ไม่ยอมรับอะไรเลย บางอย่างยอมรับ บางอย่างไม่ยอมรับ นิครนถ์นาฏบุตรนำหลักสยาทวาท์มาจากสัญชัยผู้นี้เอง

 () นิครนถ์ นาฏบุตร ในวินัยปิฎกและสุตตันตปิฎก พบทั้งนิครนถ์และนิครนถ์นาฏบุตร แสดงว่าทั้งสองนี้ไม่ใช่คนกลุ่มเดียวกัน

นิครนถ์ หมายถึงผู้ไร้ปม ผู้ไม่มีกิเลส (นิ = ไม่, คณฺฐ = ปม, กิเลส เช่นคำว่า  สพฺพคณฺฐปฺปหีโน ผู้ละกิเลสได้ทุกอย่าง) ที่เป็นลักษณะของคนหมายถึงผู้ไม่มีกิเลส เรียกลัทธิของผู้ไม่อาลัยในโลก ผู้มีชัยอยู่เหนือกิเลส ว่า ชินะ ไชนะหรือเชน

นิครนถ์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง คือสัจจกนิครนถ์  มีปัญญามากถึงกับใช้แผ่นเหล็กคาดหน้าท้องไว้ป้องกันไม่ให้ความรู้ตนเองไหลรั่วออกมา บิดามารดาของสัจจกนิครนถ์เป็นนักโต้วาที เร่ร่อนไปตามที่ต่าง จนได้มาพบกันแล้วอยู่ด้วยกันที่เมืองเวสาลี

เรื่องราวสมัยแรกของนิครนถ์นาฏบุตร (ศาสดามหาวีระของศาสนาเชน) มีในวินัยปิฎกและสุตตันปิฎก  นิครนถ์นาฏบุตร มีคนนับถือเป็นจำนวนมาก สาวกของนิครนถ์นาฏบุตรเคยสนทนากับพระพุทธเจ้า บางครั้งสนทนากับพระสาวก ไม่มีหลักฐานว่านิครนถ์นาฏบุตรเคยสนทนากับพระพุทธเจ้า เพียงอาศัยอยู่เมืองนาลันทาด้วยกัน สาวกนิครนถ์นาฏบุตรที่หันมานับถือพระรัตนตรัย ได้แก่ อชาตศัตรู (กูณิกะ), อุบาลีคหบดี, อภัยราชกุมาร, สีหเสนาบดี, เจ้าวัปปศากยะ, จิตตคหบดีเคยสนทนากับนิครนถ์นาฏบุตร นิครนถ์บอกว่าเจ้าศากยะ คือ พุทธบิดามารดาและเจ้ามหานามะเคยนับถือลัทธิของปารศวนารถ

นิครนถ์มีตำนานก่อนสมัยพระเวท เจ้าลัทธิเรียกว่า ติตถังกร ติตถังกรคนแรกชื่อฤศภเทพ นิครนถ์เป็นกลุ่มผู้ไม่เชื่อคัมภีร์พระเวทเก่าที่สุด ศาสตราจารย์เฮอร์มานน์ จาคอไบ บอกว่า ปารศวนารถ เป็นเจ้าลัทธิของนิครนถ์คนแรก (ที่สารนาถ เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย มีวัดเชน Sri Dighamber Jain Temble ตั้งอยู่ใกล้ ธัมเมกขสถูป ว่าเป็นที่เกิดของเจ้าสำนักนิครนถ์องค์ที่ ๑๑ ชื่อ เศรยามนสะ และที่สาเหตมเหต เมืองสาวัตถี ว่าเป็นบ้านเกิดของเจ้าสำนักนิครนถ์องค์ที่ ชื่อสัมภวะ) มีตำนานว่า ปารศวนารถเป็นโอรสของพระเจ้าอัศวเสนะ ในราชวงศ์อิสวากุ พระนางวามาเทวี เมืองพาราณสี ก่อนสมภพ มารดาฝันเห็นงูเลื้อยมารัดสีข้าง จึงตั้งชื่อว่าปารศวะ หมายถึงสีข้าง ปารศวะอภิเษกกับเจ้าหญิงประภาวดี ธิดาของพระเจ้าปเสนทิโกศล เมื่อมีพระชนม์ ๓๐ ปี ทรงเห็นภาพติตถังกรของนิครนถ์องค์ที่ ๒๒ คือท่านเนมิ จึงออกผนวชตาม บำเพ็ญตบะอยู่ ๘๔ วันได้บรรลุโมกษะ สิ้นพระชนม์เมื่อชนมายุ ๑๐๐ พรรษา ที่ภูเขาปารสนารถ (ใกล้สถานีรถไฟอิสารี เบงกอล) คำสอนของปารศวนารถ คือ จตุยามสังวรธรรม คือมรรค ได้แก่ การไม่เบียดเบียน การพูดคำสัตย์ การไม่ลักขโมยและการไม่สะสมทรัพย์สมบัติ ปารศวนารถไม่ได้กำหนดว่าผู้ที่ไม่มีกิเลสจะต้องเปลือยกาย (สเจลธรรม) บิดามารดาของท่านมหาวีระปฏิบัติในลัทธิของปารศวนารถ ทั้งสัญชัย       เวลัฏฐบุตร และสัจจกนิครนถ์เคยปฏิบัติในลัทธิของปารศวนารถ ปารศวนารถมีสัญลักษณ์เป็นรูปงูแผ่พังพานอยู่เหนือศีรษะ คล้ายกับพระพุทธรูปปางนาคปรก แต่งองค์ทรงเครื่องคล้ายกับเทพเจ้า ปารศวนารถตั้งคณะนักบวช ทั้งชายหญิง ผู้ปฏิบัติลัทธิปารศวนารถ มีชื่อเรียกว่า นิครนถ์ กุมารบุตร  ผู้รู้บางคนสันนิษฐานว่าปารศวนารถรับอิทธิพลคำสอนมาจากลัทธิโซโรอัสเตอร์ ในเปอร์เซีย  

หลังจากยุคของปารศวนารถประมาณ ๒๕๐ ปี  ท่านมหาวีระหรือนิครนถ์นาฏบุตร (ผู้ไม่มีกิเลส ลูกนักฟ้อนรำ) เจ้าลัทธินิครนถ์องค์ที่ ๒๔ เพิ่มวิธีการประพฤติพรหมจรรย์ขึ้นอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า ปัญจมหาพรต มหาวีระบัญญัติกฎขึ้นใหม่ว่าการเปลือยกาย(อเจลกธรรม)คือรูปแบบของผู้ที่ไม่มีกิเลส คำสอนของปารศวนารถกับมหาวีระ รูปแบบภายนอกไม่เหมือนกัน แต่มีจุดหมายเพื่อเข้าถึงโมกษะ ขั้นตอนการปฏิัติ คือ ติรัตนะ หมายถึงแก้วสามดวง ได้แก่ ความเห็นชอบ  ความรู้ชอบและความประพฤติชอบ  

นิครนถ์นาฏบุตร มีนามเดิมว่า วรรธมานะ มีฉายาว่ามหาวีระหรือวีรนารถ  กัสสปโคตร พี่ชายคือนันทิวรรธนะ เป็นบุตรของหัวหน้าเผ่านักฟ้อนรำชื่อสิทธารถะ กลุ่มเจ้าลิจฉวี เมืองเวสาลี   มารดาเป็นภคินี (ธิดา?)ของพระเจ้าเกฏกะ ชื่อตรีศาลาหรือปิยการิณี มหาวีระออกบวชเมื่อชนมายุ ๒๐ ปี บำเพ็ญพรตทรมานตนเองอยู่ ๑๒ ปี บรรลุธรรมขั้นสูงสุด คือ ไกวัลญาณ เมื่อชนมายุ ๔๒ ปี เที่ยวสั่งสอนอยู่ ๓๐ ปี ในกรุงราชคฤห์ ๑๑ ปี ในกรุงเวสาลี ปี  ในหมู่บ้านวณิชยคาม ปี ในเมืองมิถิลา ปี  ในเมืองนาลันทา ปี  ที่เมืองปาวา ปี  สิ้นชีพ(นิพพาน)ที่เมืองปาวา แคว้นมัลละ (รัฐพิหาร) เมื่อชนมายุได้ ๗๒ ปี ก่อนพุทธปรินิพพาน 

ผู้นับถือศาสดามหาวีระมีมากที่เมืองราชคฤห์ เมืองจำปา กรุงเวสาลี เมืองปาวา มหาวีระประกาศว่าเป็นผู้รู้เห็นด้วยตนเองโดยการบำเพ็ญตบะ ความนิยมในลัทธินิครนถ์ นอกจากการทรมานตนอย่างเข้มงวดก็คือเรื่องอหิงสากับการไม่ถือชนชั้น ศาสดามหาวีระถือกำเนิดในกรุงเวสาลี (ศูนย์กลางของนิครนถ์อยู่ที่กรุงเวสาลี) มีความสัมพันธ์กับราชวงษ์อื่น ในแคว้นมคธและแคว้นโกศล กล่าวคือ มารดาของมหาวีระเป็นภคินีของพระเจ้าเกฏกะ กรุงเวสาลี ในแคว้นวัชชี พระเจ้าเกฏกะมีธิดาชื่อเกลลาอภิเษกกับพระเจ้าพิมพิสาร(เสนิยะ) กรุงราชคฤห์ ในแคว้นมคธ มีพระโอรสคือ อชาตศัตรู(กูณิกะ) พระเจ้าพิมพิสารกับพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงอภิเษกกับภคินีกันและกัน กรุงสาวัตถีเป็นสถานที่เกิดของมักขลิ โคศาละผู้ที่เคยอยู่กับนิครนถ์นาฏบุตร ทั้งเชื่อว่าเป็นที่เกิดของเจ้าลัทธินิครนถ์องค์ที่ ๑๑ ความสัมพันธ์ต่าง   ชวนให้คิดถึงเหตุการณ์อื่น เช่น พระเจ้าพิมพิสารทรงมีความสัมพันธ์กับนิครนถ์นาฏบุตรมากน้อยแค่ไหน อชาตศัตรูกับพระเทวทัตเกี่ยวข้องกับนิครนถ์อย่างไร อภัยราชกุมารโอรสของพระเจ้าพิมพิสารเคยอุปถัมภ์นิครนถ์ ถูกเสี้ยมสอนให้ไปโต้วาทะแต่หันมานับถือพระพุทธเจ้ามีเบื้องหน้าเบื้องหลังอย่างไร พระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาที่กรุงราชคฤห์ เหตุใดจึงประทับจำพรรษาในกรุงสาวัตถีมากกว่ากรุงราชคฤห์ เงื่อนไข อย่างของพระเทวทัต ตรงกับวัตรปฏิบัติของนิครนถ์ได้อย่างไร เหตุใดอชาตศัตรูจึงหันมานับถือพระพุทธเจ้าก่อนพุทธปรินิพพานเพียง ปี ?

เจ้าลัทธิทั้ง คนนั้นประกาศตนเองเป็นว่าพุทธะ มีชีวิตอยู่ในสมัยพุทธกาล และสิ้นชีวิตก่อนพระพุทธเจ้า

ข้อวัตรของนักบวชนอกพระพุทธศาสนาเช่นอาชีวก อเจลก นิครนถ์ ปรากฏในพระไตรปิฎก  ดังนี้

. ประพฤติเปลือยกาย

.  ไม่มีมารยาทเลียมือ

. เชิญให้หยุดรับอาหารก็ไม่รับ

. ไม่รับอาหารที่เขาแบ่งไว้

. ไม่รับอาหารที่เขาเจาะจง

. ไม่ยินดีอาหารที่เขาเชิญ

. ไม่รับอาหารจากปากภาชนะ

. ไม่รับอาหารคร่อมธรณีประตู

. ไม่รับอาหารคร่อมท่อนไม้

๑๐. ไม่รับอาหารคร่อมสาก

๑๑ ไม่รับอาหารของคน คนที่กำลังบริโภคอาหาร

๑๒. ไม่รับอาหารจากหญิงมีครรภ์

๑๓ ไม่รับอาหารจากหญิงที่กำลังให้บุตรดื่มนม

๑๔. ไม่รับอาหารจากหญิงที่คลอเคลียชาย

๑๕. ไม่รับอาหารที่นัดแนะกันทำไว้

๑๖. ไม่รับอาหารในที่เลี้ยงสุนัข

๑๗. ไม่รับอาหารในที่มีแมลงวันไต่ตอม

๑๘. ไม่กินปลา

๑๙. ไม่กินเนื้อ

๒๐. ไม่ดื่มสุรา และเมรัย

๒๑. ไม่ดื่มยาดอง

๒๒. รับอาหารในเรือนหลังเดียว และกินแค่คำเดียว

๒๓. รับอาหารในเรือน หลัง และกินแค่ คำ

๒๔. รับอาหารในเรือน หลัง และกินแค่ คำ

๒๕. กินอาหารในถาดเล็ก ใบ

๒๖. กินอาหารในถาดเล็ก ใบ

๒๗. กินอาหารในถาดเล็ก ใบ

๒๘. กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน  วัน

๒๙. กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน วัน

๓๐. กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน วัน

๓๑. กินอาหาร ๑๕ วันต่อ มื้อ

๓๒. กินผักดอง

๓๓. กินข้าวฟ่าง

๓๔. กินลูกเดือย

๓๕. กินกากข้าว

๓๖. กินยางไม้

๓๗. กินสาหร่าย

๓๘. กินรำข้าว

๓๙. กินข้าวตัง

๔๐. กินกำยาน

๔๑. กินหญ้า

๔๒. กินโคมัย

๔๓. กินเหง้าและผลไม้ป่า

๔๔. กินผลไม้หล่น

๔๕. นุ่งห่มผ้าป่าน

๔๖. นุ่งห่มผ้าแกมกัน

๔๗. นุ่งห่มผ้าห่อศพ

๔๘. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล

๔๙. นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้

๕๐. นุ่งห่มหนังเสือ

๕๑. นุ่งห่มหนังเสือมีเล็บ

๕๒. นุ่งห่มผ้าคากรอง

๕๓. นุ่งห่มผ้าเปลือกปอกรอง

๕๔. นุ่งห่มผ้าผลไม้กรอง

๕๕. นุ่งห่มผ้ากัมพลผมมนุษย์

๕๖. นุ่งห่มผ้ากัมพลขนสัตว์

๕๗. นุ่งห่มผ้าขนปีกนกเค้า

๕๘. ถอนผมและหนวด

๕๙. ยืน ไม่ยอมนั่ง

๖๐. เดินกระโหย่ง

๖๑. นอนบนหนาม

๖๒. นอนบนแผ่นกระดาน

๖๓. นอนบนเนินดิน

๖๔. นอนตะแคงข้างเดียว

๖๕. เอาฝุ่นคลุกตัว

๖๖. อยู่กลางแจ้ง

๖๗. นั่งบนอาสนะตามที่ปูไว้

๖๘. กินคูถ

๖๙. ไม่ดื่มน้ำเย็น

๗๐. อาบน้ำวันละ ครั้ง

ข้อวัตรด้วยการจำกัดอาหาร ด้วยการเดิน ด้วยการยืน ด้วยการนั่ง ด้วยการแต่งตัวต่าง    เหล่านี้ พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นการทรมานตนให้ลำบาก

. ความเชื่อเรื่องกรรมเก่า

ทั้ง ลัทธิ บางลัทธิผสมผสานกับความเชื่อในลัทธิอื่นกลายเป็นลัทธิใหม่ บางลัทธิได้สั่งสอนมาจนถึงปัจจุบัน  บางลัทธิแตกแยกไปด้วยสาเหตุต่าง ลัทธิที่มีบทบาทมาถึงทุกวันนี้ก็คือลัทธิอาชีวกกับลัทธินิครนถ์

ลัทธิอาชีวกเผยแพร่อยู่ในอินเดียตอนใต้ (นิกายอณุวาที (Atom-theory) ลัทธิของ ปกุธะ กัจจายนะ) นิครนถ์มีบทบาทในอินเดียใต้และในประเทศศรีลังกา สอนอัตตกิลมถานุโยคคือทรมานตนเอง เหตุที่ลัทธินี้ยังไม่สูญไปเพราะสอนไม่ขัดแย้งความเชื่อในศาสนาดั้งเดิม มีวิธีปฏิบัติสอดคล้องความเชื่อเก่า การสนองความเชื่อไม่ขัดแย้งกับความเชื่อจึงไปด้วยกันได้

          นิครนถ์สอนว่ามนุษย์ได้รับสุขทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ก็เนื่องมาจากกรรมเก่าในอดีตชาติที่ติดตัวมา การปฏิบัติเพื่อให้สิ้นกรรมทำได้โดยทำกรรมเก่าให้หมดไปแล้วไม่สร้างกรรมใหม่ขึ้นอีก ต้องทรมานตัวเพื่อรีดกรรม บำเพ็ญตบะคุมความประพฤติทางกาย(กายทัณฑะ) เมื่อสิ้นกรรมจะหมดทุกข์หมดเวทนา ความทุกข์ทั้งปวงย่อมดับสิ้น นิครนถ์สอนวิธีพ้นกรรมจนถึงการบรรลุโมกษะ การปฏิบัติจะต้องรู้จริง ข่มตัวการใหญ่อันเป็นรากเหง้า(อวิชชา) เพราะอวิชชาทำให้โง่เขลา เมื่อทำลายอวิชชาได้ วิญญาณ(ชีวะ)ย่อมมีสภาวะบริสุทธิ์ 

เรื่องกรรมในลัทธินิครนถ์ต่างจากคำสอนเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนา นิครนถ์สอนว่า พฤติกรรมทางกาย(กายทัณฑะ)สำคัญกว่าพฤติกรรมทางวาจา(วจีทัณฑะ)หรือพฤติกรรมทางใจ (มโนทัณฑะ) การกระทำจะมีเจตนาหรือไม่ก็ตาม จัดเป็นกรรมทั้งสิ้น สุข ทุกข์หรือความไม่สุขไม่ทุกข์ล้วนเป็นผลสืบเนื่องมาจากกรรมเก่าในอดีตชาติ

มีผู้โต้แย้งว่า ที่เชื่ออย่างนั้น รู้หรือไม่ว่าในอดีตชาติเคยเกิดเป็นอะไร เคยทำบาปกรรมไว้หรือไม่ หากตอบข้อสงสัยนี้ไม่ได้ เพราะไม่รู้ชีวิตในชาติอดีตก็ไม่ควรยืนยันความเชื่อของตนเอง การทรมานที่ทำในปัจจุบัน ถ้าเคร่งครัดมากจะทรมานได้มาก ถ้าเคร่งน้อยมีความพยายามน้อยการทรมานจะลดถอยลงไปด้วย ชี้ให้เห็นว่าการทรมานไม่เกี่ยวกับเหตุในอดีตชาติ  แต่เป็นเพราะการลงมือปฏิบัติในปัจจุบันนี้ต่างหาก 

ผู้ทรมานตนเองย่อมไม่พ้นการถูกตำหนิทุกกรณี กล่าวคือ

 . ถ้าสัตว์ที่ได้รับสุขทุกข์ เพราะกรรมเก่าในอดีตชาติ นิครนถ์คงทำความชั่วไว้มาก  จึงต้องทรมานตนเองชดใช้บาปในชาตินี้

 .  ถ้าสัตว์ที่ได้รับสุขทุกข์  เพราะมีผู้บันดาล ผู้บันดาลก็ไม่เป็นกลาง บันดาลให้นิครนถ์เกิดมาทุกข์ทรมาน ขณะที่ผู้ไม่ใช่นิครนถ์ไม่ต้องทรมานเลย

 .  ถ้าสัตว์ที่ได้รับสุขทุกข์เพราะความบังเอิญ นิครนถ์คงมีความบังเอิญที่แสนจะเลวร้าย เพราะบังเอิญเกิดมาทุกข์ทรมาน

 .  ถ้าสัตว์ที่ได้รับสุขทุกข์เพราะชาติกำเนิด นิครนถ์คงมีชาติกำเนิดที่เลวร้าย เพราะต้องเกิดมาทุกข์ทรมาน

. ถ้าสัตว์ที่ได้รับสุขทุกข์ เพราะความเพียรพยายามในชาตินี้ นิครนถ์คงทำความชั่วไว้มาก เพราะพฤติกรรมที่เห็นมีผลมาจากเหตุในอดีต

              . ความเชื่อเรื่องกรรมเก่าในสังคมไทย

สังคมที่สอนเรื่องกรรมแตกต่างกัน พราหมณ์สอนไปอย่างหนึ่ง   มักขลิโคสาละสอนไปอย่างหนึ่ง   นิครนถ์สอนไปอย่างหนึ่ง  พระพุทธเจ้าทรงสอนไปอีกอย่างหนึ่ง อาชีวกสอนว่ากรรมเป็นมายา นิครนถ์สอนว่ากรรมเป็นสิ่งที่ตัดได้  พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้สร้างกรรมใด ผลของมันจะสะท้อนกลับสู่ผู้ก่อในระดับเดียวกัน ผู้ทำกรรมไม่สามารถหลีกหนีจากผลกรรมของตนไปได้ กฎแห่งกรรมอยู่เหนือข้อกำหนดที่มนุษย์ตั้งขึ้นมา มนุษย์เป็นทายาทกรรมของตนเอง นิครนถ์สอนให้ตัดกรรมด้วยการบำเพ็ญตบะ พระพุทธเจ้าทรงเปรียบการบำเพ็ญตบะเหมือนคนต่อเรือข้ามฝาก ตัดต้นไม้ลิดกิ่งใบทำท่อนซุง ถากเกลาแค่ภายนอกให้มองดูเรียบร้อย แต่ไม่ขุดเจาะข้างในแล้วปล่อยลงน้ำจึงใช้ข้ามฝากไม่ได้ ถ้าจะใช้ซุงเป็นเรือข้ามฝากต้องไม่หยุดอยู่เพียงการถากเกลาภายนอก คือไม่ใช่พอใจอยู่แค่ตบะ ต้องอบรมด้านในด้วย พระพุทธเจ้าจึงได้สอนเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเปรียบกับการเจาะซุงและติดตั้งอุปกรณ์ภายในใช้ข้ามฝาก       

ในยุคที่ไม่มีการบันทึกคำสอน เมื่อสิ้นศาสดายากจะรู้ได้ว่าใครสอนเรื่องอะไร หรือสอนว่าอย่างไร ผู้ไม่แยกแยะว่าสิ่งไหนเป็นพระพุทธพจน์ หรือเป็นคำสอนในลัทธิอื่น เมื่อมีคนบอกว่าเรื่องนั้น มีในคัมภีร์ก็เชื่อทันทีว่าถ้ามีในคัมภีร์ต้องเป็นพระพุทธพจน์แน่ บางคนไม่สนใจว่าจะเป็นคำสอนของใครก็ช่างเถิด ถ้าปฏิบัติแล้วทำให้สบายใจก็นับถือทั้งนั้น บางคนใครบอกว่าอะไรดีก็เชื่อ บางคนเชื่อเพราะความพอใจ เป็นธรรมดาที่ความเชื่อมักอยู่เหนือเหตุผล การศึกษาถึงจะมีส่วนสำคัญแต่ตัดสินความเชื่อไม่ได้ อย่างไรก็ตาม แม้ความเชื่อเป็นสิ่งที่บังคับกันไม่ได้ แต่ก็ควรจะเชื่ออย่างมีขอบเขตหรือปรับให้อยู่ในทิศทางเดียวกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างเชื่อ เพราะความเชื่อของคนหนึ่งถ้าหากไม่ถึงกับหลงงมงายคงจะให้ผลดีได้บ้าง แต่ผลที่ได้รับย่อมเหมาะสมแก่เหตุ ผลมาจากการกระทำ การกระทำก็เป็นหน้าที่ของคนนั่นเอง   

ความเชื่อในเรื่องกรรมเก่าของนิครนถ์ดูว่าจะทรงอิทธิพลยิ่งกว่าความเชื่อเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนา เช่นความเชื่อว่า ที่ต้องเกิดมายากจนในชาตินี้ก็เพราะผลกรรมเก่าในชาติอดีตที่เคยทำไว้ จึงต้องมารับผล ยามยากจนถึงแม้จะขยันขันแข็งก็ไม่ทำให้ร่ำรวยขึ้นมาได้ เมื่อเชื่อแบบนี้จึงปล่อยชีวิตไปตามเรื่องตามราว สุดแต่กรรมจะนำไป เรียกว่าไปตามยถากรรม บางคนเมื่อถูกประทุษร้ายก็ถือเสียว่า ชาติก่อนเคยทำร้ายเขา ชาตินี้เขาจึงมาแก้แค้น เชื่อแบบนี้มีผลดีในแง่ที่ไม่ต้องไปแค้นเคืองผู้ทำร้าย แต่ไม่ตรงพระพุทธพจน์ที่ว่า “สิ่งที่บุคคลได้รับในโลกนี้ บางอย่างเกิดเพราะดี บางอย่างเกิดเพราะเสมหะ บางอย่างเกิดเพราะลม บางอย่างเกิดเพราะหลายสาเหตุ บางอย่างเกิดเพราะอากาศแปรปรวน บางอย่างเกิดเพราะไม่บริหารร่างกาย บางอย่างเกิดเพราะความพยายามของตนเอง บางอย่างเกิดเพราะผลกรรมเก่า” พระพุทธศาสนาไม่ปฏิเสธผลกรรมเก่าโดยเด็ดขาด บางคนไม่ทันพิจารณาปักใจเชื่อผลกรรมในอดีตชาติ แต่ปรากฏการณ์ทั้งหลายไม่ใช่เกิดจากผลของกรรมเก่าอย่างเดียว บางอย่างเกิดจากสิ่งแวดล้อม หรือการกระทำในปัจจุบัน บางอย่างเกิดเพราะกรรมเก่า พระพุทธพจน์ที่ตรัสถึงกรรมเก่ามักเกี่ยวกับคุณสมบัติที่ติดมา เช่น ความเป็นคนมีอายุยืน มีอายุสั้น การเกิดในตระกูลสูงตระกูลต่ำ ความร่ำรวย ความยากจน ความสวยงาม ความขี้เหร่ หรือความสามารถทางสติปัญญา ดังนั้น ถ้ามีผู้อ้างว่า ตัวเองมีกรรมเก่า ชาติก่อนทำบุญไว้ไม่ดี งอมืองอเท้าก้มหน้ารับกรรมเก่าไม่ยอมแก้ไขเปลี่ยนแปลง จมปลักกับกรรมเก่าในอดีต  วิธีคิดแบบนี้ไม่ตรงพระพุทธพจน์ แต่กลายเป็นคนมืดมามืดไป ไม่ใช่มืดมาสว่างไป

พระพุทธศาสนาสอนว่า หว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น สอนความสงบสุขในชีวิตปัจจุบันยิ่งกว่าเน้นเรื่องอดีตหรืออนาคต อดีตเป็นเรื่องส่งเสริมความดีของผู้ที่เคยทำความดี ไม่มีข้อห้ามว่าอย่าเชื่อเรื่องอดีต ความเชื่อเรื่องอดีตชาติเชื่อสิ่งลี้ลับย่อมบ่งบอกภาวะทางจิตของมนุษย์ที่ยังยึดติดกับความลึกลับ สิ่งลึกลับไม่ใช่ที่พึ่งอันมั่นคง ไม่ใช่ที่พึ่งแดนเกษม ไม่ใช่ที่พึ่งอย่างแท้จริง คนที่เชื่อถือสิ่งลึกลับยังจะไม่พ้นจากทุกข์ได้จริง จึงเห็นได้ว่าพฤติกรรมด้านพิธีกรรมในปัจจุบันกับอดีตต่างกันเพียงรูปแบบภายนอกเท่านั้น จุดมุ่งหมายยังเหมือนเดิม ตรงกับที่พูดกันว่า แม้สังคมจะได้พัฒนาด้านวัตถุไปมากมาย แต่จิตใจและความนึกคิดของมนุษย์ก็ยังคงคล้ายคลึงกับจิตใจและความนึกคิดของมนุษย์ในยุคบรรพกาล

         . เปรียบเทียบเชนกับพุทธ

          เชน(นิครนถ์นาฏบุตร)กับพุทธมีคำสอนคล้ายกันมาก บางคนเข้าใจว่าเชนเป็นนิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนา เชนกับพุทธมีประวัติศาสตร์และคำสอนในภูมิประเทศเดียวกัน เผยแผ่ในยุคเดียวกัน พระศาสดาเป็นบุคคลที่มีชีวิตอยู่ทางเหนือคืออุตตรประเทศ ในอินเดีย  เปรียบเทียบโดยสรุป ดังนี้

          .  ตำนานเล่าว่าเชนมีอยู่ก่อนสมัยพระเวท เมื่อกว่า ,๐๐๐  ปี  ผู้ตั้งลัทธิมี  ๒๔ องค์    พระพุทธศาสนาเล่าถึงพระพุทธเจ้าในอดีต ๒๔ พระองค์   ชื่อผู้ตั้งลัทธิเชนกับพระพุทธเจ้าในอดีตและพระปัจเจกพุทธเจ้า มีพ้องกันหลายชื่อ

. นิครนถ์นาฏบุตร(มหาวีระ) ถือกำเนิดในวรรณะกษัตริย์ กรุงเวสาลี แคว้นวัชชี ก่อนพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าถือกำเนิดในวรรณะกษัตริย์ กรุงกบิลพัสดุ์ สักกชนบท แคว้นโกศล พระศาสดาทั้งสองมาจากระบอบปกครองแบบสาธารณรัฐ ผู้บวชตามปารศวนารถ เรียกว่า นิครนถ์ กุมารบุตร ผู้บวชตามมหาวีระ เรียกว่า นิครนถ์ นาฏบุตร ผู้บวชตามพระพุทธเจ้า เรียกว่า สมณะ ศากยบุตร

เชนและพุทธเป็นศาสนาอไวทิกะ ไม่นับถือคัมภีร์พระเวท (non-Vedic) ไม่ถือชนชั้น ยุคแรก ไม่มีเรื่องเทวดา เป็นนาสติกะ ปฏิเสธผู้สร้างโลก N. Aiyaswami  Sastri  อ้างคำพูดของท่านนาคารชุน ในคัมภีร์รัตนวาลี ที่บอกว่า “A nastika is doomed to hell” นิครนถ์กับพระพุทธศาสนาจึงไม่ใช่นาสติกะ(nastika)  นาสติกะตามนัยหลังหมายถึงลัทธิปฏิเสธปรโลกคือพวกจารวาก

เชนดัดแปลงคำสอนมาจากหลัก จตุยามสังวรธรรม ของปารศวนารถ เป็นลัทธิอัตตกิลมถานุโยค เชื่อว่าการเปลือยกายเป็นสัญลักษณ์ของคนไม่มีกิเลส พระพุทธศาสนามีคำสอนหลักคือ  จตุราริยสัจ(อริยสัจ ) เป็นทางสายกลาง(มัชฌิมาปฏิปทา) พระพุทธศาสนามี ปัญจศีล นิครนถ์มี ปัญจพรต ปฏิจจสมุปบาทของพระพุทธเจ้าปฏิเสธกิริยวาทะของมหาวีระ

 คำสอนที่ปะปนกัน ทรรศนะในยุคนั้น ได้แก่ () สังสารสุทธิหรืออาหารสุทธิของอาชีวก () สยาทวาท์หรือกิริยวาทะของนิครนถ์ นาฎบุตร () วิภัชชวาทะหรือกรรมวาทะของพระพุทธเจ้า

. เชนเชื่อว่าชีวิตมีผลจากกรรมเก่าในชาติอดีต คนจะมีสุขทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ก็เพราะกรรมเก่า กายทัณฑะ(กายกรรม)สำคัญยิ่งกว่าวจีทัณฑะและมโนทัณฑะ การกระทำจะมีเจตนาหรือไม่มีเจตนาจัดเป็นกรรมทั้งสิ้น พระพุทธศาสนาสอนว่ามนุษย์เป็นทายาทแห่งกรรม การกระทำที่มีเจตนาเท่านั้นจึงจัดว่าเป็นกรรม มโนกรรมสำคัญยิ่งกว่ากายกรรมและวจีกรรม  สอนเน้นปัจจุบันมากกว่าเน้นเรื่องอดีตและเรื่องอนาคต

.  เชนเป็นศาสนาสำหรับชาวอินเดีย พุทธเป็นศาสนาสำหรับชาวโลก นิครนถ์และพระพุทธศาสนาต่างเป็นกรรมวาที เน้นการกระทำเหมือนกัน แต่มีความหมายต่างกัน พระพุทธเจ้าทรงสอนว่ากรรมเป็นสิ่งเกินขีดความสามารถที่สามัญชนจะรู้ เป็นอจินไตย นอกจากกรรมที่ต่างกัน ยังมีคำที่เขียนตรงกันแต่ใช้ต่างกัน ได้แก่ วินยวาทะ อรหันต์  ญาณ สัมมาทิฐิ มิจฉาทิฐิ  ติสรณะ วิญญาณ อาสวะ ธรรม เป็นต้น

. เชนและพุทธสอนว่าอวิชชาคือรากเหง้าแห่งกรรม จุดหมายของนิครนถ์คือความหลุดพ้น(โมกษะ) ความหลุดพ้นในพระพุทธศาสนา เรียกว่านิพพานหรือวิมุตติ วิธีการปฏิบัติไปสู่ความหลุดพ้นก็แตกต่างกัน

. ก่อนศาสดามหาวีระ ๒๕๐ ปี (๑๗๘ ปี?) ปารศวนารถประกาศคำสอนเรียกว่า จตุยามสังวรธรรม ไม่กำหนดว่าคนที่บรรลุโมกษะจะต้องเปลือยกาย อนุญาตให้สตรีบวชเป็นนิครนถ์ได้ มหาวีระปรับเปลี่ยนจตุยามสังวรธรรมเป็นปัญจมหาพรต กำหนดว่าผู้ได้บรรลุโมกษะจะต้องเปลือยกาย นิกายดั้งเดิม(ทิคัมพร) ถือปฏิบัติเคร่งครัด ทั้งห้ามสตรีบวช  ส่วนนิกายนุ่งห่มขาว(เสวตัมพร) อนุญาตให้สตรีบวชได้ มีองค์กรทางศาสนาเรียกว่า จตุวิธสงฆ์  ได้แก่ มุนี  อารยิกา  สาวกและสาวิกา   

ในวินัยปิฎกมีเรื่องว่า สมัยพุทธกาลมีนักบวชสตรีนอกพระพุทธศาสนา เรียกว่าสมณี ไม่ระบุว่าเป็นสมณีของฝ่ายใด “กินฺนุมา สมณิโย สกฺยธีตโร สนฺตญฺญาปิ สมณิโย ลชฺชนิโย กุกฺกุจฺจิกา สิกฺขกามา : มีเพียงสมณะหญิงศากยะเท่านั้นหรือ ยังมีสมณะหญิงอื่นที่มีความละอายรังเกียจบาป ใฝ่ศึกษา”  

พระพุทธศาสนามีองค์กร คือ พุทธบริษัท ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกา  นิกายดั้งเดิม(เถรวาท)ถือว่าชีวิตนักบวชเปิดโอกาสให้หลุดพ้นได้มากกว่าชีวิตผู้ครองเรือน นิกายมหายาน (พวกมาก) ดำเนินตามปฏิปทาของพระโพธิสัตว์ เน้นที่ความกรุณา ปรับประยุกต์คำสอนจนมีชื่ออีกอย่างว่า อาจริยวาท ซึ่งหมายถึงคำสอนจากอาจารย์

. เชนรวบรวมคำสอนครั้งแรกที่ปาฏลีบุตร(รัฐวิหาร) รวบรวมครั้งที่ ที่วัลลภี คัมภีร์ของเชนเรียกว่าอาคม มี ระดับ ได้แก่ อังคะ(คัมภีร์ย่อยมี ๑๒ คัมภีร์) ปูรวะ (คัมภีร์ย่อยมี ๑๔ คัมภีร์) และประกีรณะ (คัมภีร์ย่อยมี ๑๖ คัมภีร์) เกิดขึ้นในการสังคายนาที่วัลลภี นิกายทิคัมพรเชื่อว่าคำสอนเดิมของมหาวีระสูญหายไปแล้ว ไม่เชื่อว่ามหาวีระเคยแต่งงาน แต่ยอมรับคัมภีร์ของนิกายเสวตัมพร    

เชนมีคำสอนเป็นหมวดหมู่หลังมีพระไตรปิฎก ใช้ภาษาปรากฤต เรียกว่า อรรธมาคธี (Ardha-Magadhi or Jaina Prakrit) ที่รับอิทธิพลไปจากพระไตรปิฎก เช่น คำว่า คณิปิฎก ของนิกายเสวตัมพร ชื่อเหมือนกับติปิฏก  ส่วนพุทธมีสุทธมาคธี หรือภาษาบาลี เป็นภาษาคัมภีร์

. ปัจจุบันในประเทศอินเดียมีผู้นับถือเชนราว ล้านคน   (ไม่รวมในประเทศศรีลังกา) วันเทศกาลของเชน คือ การบูชาประทีป เรียกว่าทีปวาลี(Dipavali หรือ Divali) (ในเดือนพฤศจิกายน) ตำนานเล่าว่า เมื่อชาวบ้านรู้ข่าวการสิ้นชีวิตของท่านมหาวีระที่เมืองปาวา ได้พากันจุดไฟตามประทีปสว่างไสวแสดงความอาลัยอาวรณ์

. สรุป

นักประวัติศาสตร์อินเดียอ้างข้อมูลในวินัยปิฎกหรือไม่ก็เรื่องราวจากชาดก หรือข้อมูลในคัมภีร์เชนที่ชาวพุทธรู้จักชื่อว่านิครนถ์นาฏบุตร นิครนถ์นาฏบุตรมีชีวิตสมัยเดียวกับพระพุทธเจ้า มีชนมายุมากกว่า เชนยอมรับว่าคัมภีร์ของตนรับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา เหตุการณ์ของนิครนถ์นาฏบุตรยุคแรก ปะปนอยู่ในพระไตรปิฎก ชาวพุทธไทยเคารพพระพุทธเจ้าในฐานะที่ทรงเป็นพระบรมศาสดา แต่ถ้าหากใครมาถามเกี่ยวกับนิครนถ์นาฏบุตร  ชาวพุทธไทยก็คงจะไม่ตอบ ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าตอบไม่ได้ หรือเห็นว่านิครนถ์เป็นคนที่ไม่น่าสนใจ  แต่สำหรับชาวอินเดีย พระศาสดาทั้งสองคือผู้สร้างอารยธรรมให้แก่สังคมที่สืบมาจนถึงปัจจุบัน

คำสอนเรื่องกรรมเก่าของเชน เป็นมาตรการอย่างหนึ่งในการช่วยรักษาสังคม ความเชื่อที่ว่าวิญญาณ(ชีวะ)เป็นสิ่งบริสุทธิ์ถูกห่อหุ้มไว้ ถ้าปล่อยวิญญาณให้เป็นอิสระจะต้องทรมานร่างกาย เพื่อกำจัดกรรมเก่าให้หมดสิ้น ทั้งไม่เพิ่มกรรมใหม่  ความเชื่อกรรมเก่าที่สอนว่าเมื่อคนสิ้นชีวิตวิญญาณจะหลุดลอยออกจากร่างหรือความเชื่ออื่น เช่นการรับส่งวิญญาณของผู้สิ้นชีวิต การเซ่นสรวงบูชา การปัดรังควาน การสะเดาะเคราะห์ต่อชะตาชีวิต ความเชื่อว่ามีวิญญาณล่องลอย เหล่านี้ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า แต่ถูกดัดแปลงให้สอดคล้องกับพระพุทธศาสนาและปะปนอยู่ในพระพุทธศาสนา อาศัยพระสงฆ์เป็นสื่อ พระสงฆ์กลายเป็นผู้มีอำนาจพิเศษในการติดต่อกับความลึกลับ พระสงฆ์มีศีลมาก เลยเชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์จนเป็นที่หวั่นเกรงแห่งอำนาจชั่วร้ายทั้งปวง แม้แต่เทวดาก็ยังให้ความเคารพเกรงใจพระสงฆ์ 

ปัจจุบัน ปัญหาสังคมบีบรัดคนไทยอยู่รอบด้าน ผู้ที่หันมาศึกษาพระพุทธศาสนา เพราะความอยากรู้หรือเพื่อแก้ปัญหาในชีวิต บางคนที่เพิ่งสนใจก็จะขอคำแนะนำจากคนใกล้ชิด ว่าควรจะเริ่มต้นที่ไหน จะไปที่ไหน ที่วัดไหน ที่สำนักไหน ผู้แนะนำก็มักตอบไป “ตามสาย” ตนเองศรัทธา “สายไหน” ก็แนะไป “สายนั้น” แท้จริงแล้วพระพุทธศาสนาไม่มีสายนั้นสายนี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนทางสายเดียว เป็นทางสายเอก เรียกว่าเอกายนมรรค ซึ่งเป็นสายรวมใจของคนไทยมาตั้งแต่อดีตเท่านั้น.



 

บรรณานุกรม

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ผู้จัดพิมพ์). มหาจุฬาเตปิฏกํ. กรุงเทพ : โรงพิมพ์มหาจุฬา, ...

_______. มหาจุฬาอฏฺฐกถา สุมงฺคลวิลาสินิยา นาม ทีฆนิกายฏฺฐกถาย สีลวคฺค-มหาวคฺค-ปาฏิก

               วคฺควณฺณนา. กรุงเทพ : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๒.

Barnett, L.D. History of Doctrines of The Ajivakas. Delhi : Motilal Banarasidass

               Publishers,1981.

Barua, Benimadhab. A History of Pre-Buddhistic Indian Philosophy. Delhi : Motilal

               Banarasidass Publishers,1981.

Jain, J. Studies in Early Jainism. New Delhi : Navrang,1992.

Kamal Jain, U. Jaina Sects and Schools. Delhi : Concept Publishing Company, 1975.

Nagrajji,Muni Shri.The Contemporaneity and the Chronology of   Mahavira and Buddha.

              Delhi : Today and Tomorrow’s Book Agency, 1970.

Prashad, Sital.  A Comparative Study of Jainism and Buddhism.  Delhi  :

Mehra  Offset  Press ,1995.

 

 

 

(ที่มา: -)
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕