หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาไพโรจน์ กนโก และคณะ
 
เข้าชม : ๔๙๗ ครั้ง
การศึกษาการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการจัดการศึกษามหาวิทยาลัย มจร.วข.นครราชสีมา...
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาไพโรจน์ กนโก และคณะ ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๑๑/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
 
 
 
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

รายงานการวิจัย:  การศึกษาการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการจัดการศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครราชสีมา 

                การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการจัดการศึกษา  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครราชสีมา และเพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการจัดการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามพรรษา วุฒิการศึกษา สมณศักดิ์ และตำแหน่งการปกครอง โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ พระสังฆาธิการในจังหวัดนครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2552 จำนวน 340 รูป ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multistage  random  sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีเนื้อหาครอบคลุมการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการจัดการศึกษา 5 ด้าน จำนวน 60 ข้อ  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการทางสถิติ เพื่อแจกแจงความถี่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย   ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าที (t-test)  และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One way ANOVA)
               ผลการวิจัย พบว่า
              1.  การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการจัดการศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครราชสีมา โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง       เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการให้ข้อมูลข่าวสาร รองลงมา ได้แก่  ด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจ ด้านการเกี่ยวข้องเข้ามามีบทบาท  และด้านการให้ความร่วมมือ  ตามลำดับ  ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ ด้านการรับฟังปรึกษาหารือ

              2.  การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการจัดการศึกษา   มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครราชสีมา ที่มีพรรษาแตกต่างกัน โดยภาพรวม พบว่า  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยพบว่า  พระสังฆาธิการที่มีพรรษาตั้งแต่  20  พรรษาขึ้นไป มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการจัดการศึกษา สูงกว่าพระสังฆาธิการที่มีพรรษาต่ำกว่า 20 พรรษา  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ทุกด้าน โดยพบว่า พระสังฆาธิการที่มีพรรษาตั้งแต่  20  พรรษาขึ้นไป  มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการจัดการศึกษา สูงกว่าพระสังฆาธิการที่มีพรรษาต่ำกว่า 20 พรรษา  เช่นเดียวกัน

             3.  การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการจัดการศึกษา   มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครราชสีมา  จำแนกตามวุฒิการศึกษา ทั้งโดยภาพรวมและเป็นรายด้าน พบว่า  ไม่มีความแตกต่างกัน

             4.  การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการจัดการศึกษา   มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามสมณศักดิ์ ทั้งโดยภาพรวมและเป็นรายด้าน พบว่า  ไม่มีความแตกต่างกัน

             5.  การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการจัดการศึกษา   มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามตำแหน่งทางการปกครอง  โดยภาพรวม  พบว่า  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  เมื่อนำมาเปรียบเทียบเป็นรายคู่ตามวิธีการของ Scheffe พบว่า พระสังฆาธิการระดับจังหวัดและระดับอำเภอ มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการจัดการศึกษา สูงกว่าพระสังฆาธิการระดับตำบล และระดับเจ้าอาวาส  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน  พบว่า  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน  4  ด้าน คือ ด้านการให้ข้อมูลข่าวสาร ด้านการเกี่ยวข้องเข้ามามีบทบาท  ด้านการให้ความร่วมมือ  และด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕