หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ (ไสว โชติโก) และ คณะ
 
เข้าชม : ๕๓๔ ครั้ง
วิเคราะห์ยุทธศาสตร์หลักในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในอินเดีย
ชื่อผู้วิจัย : พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ (ไสว โชติโก) และ คณะ ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๑๑/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
 
 
 
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

                          การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey  Research )และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)  โดยมีวัตถุประสงค์ คือเพื่อศึกษาวิเคราะห์ยุทธศาสตร์หลักในการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในอินเดีย เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านคุณสมบัติของพระธรรมทูต ความคิดเห็นด้านการเผยแผ่ของพระธรรมทูตและเพื่อค้นหาปัญหาและอุปสรรคต่อยุทธศาสตร์หลักในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในอินเดีย  ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ พระธรรมทูตที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในประเทศอินเดีย ได้แก่วัดไทยพุทธคยา-อินเดีย ตำบลโพธิ์คยา อำเภอคยา รัฐพิหาร  วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ กุสินาการ์ รัฐอุตตรประเทศ และวัดไทยสิริราชคฤห์ เมืองราชคฤห์ พิหารซารีฟ รัฐพิหาร และพระธรรมทูตที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำพุทธสถานของมหาวิทยาลัย รวมทั้งหมดจำนวน ๘๗รูป/คนโดยแบ่งเป็น ๓ กลุ่มคือ กลุ่มพระธรรมทูต  จำนวน ๖๖ รูป กลุ่มเจาะจง จำนวน ๗ รูป และ กลุ่มสัมภาษณ์  ๑๔รูป/คน  และใช้การ แบ่งกลุ่มแบบสัดส่วน (Proportionate Stratified  Sampling)    ด้วยวิธีการหาได้จากสูตรของ   R.V.Krejcie and R.W. Morgan ไปสุ่มตัวอย่างในแต่ละพื้นที่เป็นตัวแทนกลุ่ม

ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้

ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง พบว่า การปฏิบัติศาสนกิจของพระธรรมทูต วัดไทยในอินเดีย ถือเป็นยุคทองของพระธรรมทูต วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธในอินเดียและชาวพุทธต่างชาติ  ได้ประกาศเกียรติคุณของชาติให้ประจักษ์แก่คนทั่วโลก  ในส่วนข้อเสนอแนะพบว่า  พระธรรมทูตปัจจุบันมีจำนวนน้อยมาก  การทำงานไม่เป็นทีม ขาดการมีส่วนร่วม ไม่มีเครือข่ายชาวพุทธระดับนานาชาติและองค์กรหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องสร้างสำนักงานพระธรรมทูตให้ชัดเจน เพื่อสร้างเครือข่ายในระดับองค์กรได้

ด้านการศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง พบว่า พระธรรมทูตได้ให้การสงเคราะห์ด้านการศึกษา มีการสร้างโรงเรียนปัญจศีล และโรงเรียนต้นกล้า มีการสนับสนุนทุนการศึกษาให้และเด็กและเยาวชน ได้นำเยาวชนมาปฏิบัติธรรมในวัด  มีการทำวัตรสวดมนต์ เจริญจิตภาวนา  ในส่วนข้อเสนอแนะ พบว่า วัดยังไม่ได้สร้างเครือข่ายศูนย์การศึกษา เพื่อประสานงานกับองค์กรข้างนอก   ผู้สอนขาดทักษะด้านภาษาท้องถิ่น และการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนยังไม่เพียงพอ  จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายต้องเข้ามาช่วยเหลือ

ด้านการสงเคราะห์  มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง พบว่า พระธรรมทูตเป็นสัญลักษณ์ของความเมตตา  ได้มีการอนุเคราะห์ต่อผู้อื่น มีการแจกสิ่งของเครื่องใช้อุปโภค บริโภคและการดูแลรักษาพยาบาลให้  มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการอนุเคราะห์การศึกษาเผยแผ่        ในส่วนข้อเสนอแนะพบว่า วัดยังขาดกองทุนเพื่อการสงเคราะห์สุขภาพชุมชน เมื่อประสบภัยพิบัติ  ขาดทุนทรัพย์ในการบริหาร    จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องหาแนวทางในการตั้งเป็นกองทุน หรือมูลนิธิขึ้น เพื่อจะเอื้อต่อการทำงานสงเคราะห์ด้านนี้

ด้านคุณสมบัติของพระธรรมทูต มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง พบว่าจากการปฏิบัติศาสนกิจของพระธรรมทูต  ได้มองเห็นประโยชน์ในการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนทางศาสนา มีความมั่นใจในคุณค่า ความดีงามและมุ่งมั่นแน่วแน่ต่ออุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา ทำให้เห็นประโยชน์ ที่เป็นคุณสมบัติของพระธรรมทูต  ส่วนข้อเสนอแนะพบว่า พระธรรมทูตที่ทำงานไม่ต่อเนื่อง เกิดอาการท้อแท้ หมดกำลังใจ รู้สึกเบื่อต่อภาระที่รับผิดชอบและเกิดความรู้สึกว่าการมาปฏิบัติหน้าที่พระธรรมทูต ทำให้ความรู้ ความสามารถของตนเองด้อยลง จำเป็นต้องสร้างกำลังใจและพึงพอใจในการทำงานให้มากขึ้น

                          ด้านความคิดเห็น มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก พบว่าแนวความคิดเห็นของพระธรรมทูตได้เกิดรู้สึกมีความเสียสละ มีความรับผิดชอบด้านการเผยแผ่และได้ทุ่มเทกำลังกายและใจให้กับภารกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  ในส่วนข้อเสนอแนะพบว่า พระธรรมทูตควรพัฒนาทัศนคติต่อความเชื่อมั่นในตนเอง เพราะจะขาดความรู้ ขาดประสบการณ์  ขาดทักษะในด้านภาษาอังกฤษและการสื่อสาร จึงมีค่าเฉลี่ยน้อยตามอันดับ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕