หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาทองมี สุทฺธิจิตฺโต (สะพานหล้า)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๖ ครั้ง
การปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้านครหลวงตามหลักอิทธิบาท ๔ กรณีศึกษา การไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ กรุงเทพมหานคร
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาทองมี สุทฺธิจิตฺโต (สะพานหล้า) ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม ป.ธ.๔, พ.ม., พธ.บ., M.A., Ph.D. (Pol.Sc.)
  อาจารย์พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ, ประโยค ๑ - ๒,น.ธ.เอก, พธ.บ. (เกียรตินิยมอันดับ ๑), ศศ.ม. (พัฒนาสังคม)
  ผศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง, พ.ม., พธ.บ, M.A., Ph.D.(Sociology)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ () เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้านครหลวงตามหลักอิทธิบาท ๔  () เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้านครหลวงตามหลักอิทธิบาท ๔ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ () เพื่อศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะในการนำหลักอิทธิบาท ๔ มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้านครหลวงเขตวัดเลียบให้มีประสิทธิภาพ ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานการไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ จำนวน ๑๖๙ คนจากจำนวนประชากรทั้งหมด ๒๙๘ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามการวัดระดับ การปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบตามหลักอิทธิบาท ๔ มีความเชื่อมั่น ๐.๙๕๗ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ โดยการหา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) โดยการทดสอบค่าที(t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One way analysis of variance) และในกรณีที่พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยตั้งแต่ ๓ กลุ่มขึ้นไป จึงทำการทดสอบด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญที่น้อยที่สุด(Least Significant Difference : LSD)

 

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

การปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้านครหลวงตามหลักอิทธิบาท ๔ : กรณีศึกษา การไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =๔.๑๗) และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน   คือ ด้านฉันทะ ด้านวิริยะ ด้านจิตตะและด้านวิมังสา พบว่าพนักงานการไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ   มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากทุกด้าน

ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้านครหลวงตามหลักอิทธิบาท ๔ : กรณีศึกษา การไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลคือ เพศ อายุ การศึกษา รายได้ และอายุการทำงาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลมีผลทำให้การปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบตามหลักอิทธิบาท ๔ แตกต่างกัน ได้แก่ การศึกษา รายได้ และอายุการทำงาน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลทำให้การปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบตามหลักอิทธิบาท ๔ ไม่แตกต่างกัน ได้แก่ เพศ และอายุ จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย      

แนวการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้านครหลวงตามหลักอิทธิบาท ๔ : กรณีศึกษา การไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ กรุงเทพมหานคร สรุปได้ว่า พนักงานทุกคนต้องยึดหลักอิทธิบาท ๔ ในการปฏิบัติงานด้วยการปลูกจิตสำนึกความรักในงาน ให้เห็นคุณค่าและประโยชน์จากการทำงาน รวมทั้งมอบหมายงานให้ตรงตามความสามารถของแต่ละบุคคล ด้วยการปลูกจิตสำนึกว่าเป็นงานที่ท้าทายความสามารถและมีความสำคัญ การสร้างจิตสำนึกในหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบว่าเป็นเรื่องของตนเอง รวมทั้งต้องสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการปฏิบัติงาน ควรมีการประเมินผลการทำงานเป็นระยะเพื่อให้เกิดการพัฒนาในอนาคตต่อไป

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕