หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูนิวิฐสาธุวัตร (ทองล่ำ ยโสธโร)
 
เข้าชม : ๒๐๐๕๑ ครั้ง
ศึกษาการพัฒนาสติโดยใช้หลักกายคตาสติในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระครูนิวิฐสาธุวัตร (ทองล่ำ ยโสธโร) ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร ผศ., ป.ธ.๙, M.A., Ph.D
  พระครูใบฎีกามานิตย์ เขมคุตฺโต ศน.บ., M.A., Ph.D.
  ผศ.เวทย์ บรรณกรกุล ป.ธ.๙, พธ.บ., ศษ.ม.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                      วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษากายคตาสติ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาการพัฒนาสติตามหลักกายคตาสติ โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท คือพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

                      ผลการวิจัยพบว่า กายคตาสติ คือ หลักการฝึกสติ โดยใช้อารมณ์ของกรรมฐานที่เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา มีปรากฏอยู่ในหลายๆ พระสูตร เช่น กายคตาสติสูตร เป็นพระสูตรว่าด้วย วิธีการเจริญสติ โดยพิจารณาลมหายใจเข้าออก และการพิจารณาอาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น จัดเป็นอารมณ์ของสมถะ ในมหาสติปัฏฐานสูตร ได้แสดงวิธีการกำหนดลมหายใจเข้าออก จัดอยู่ในหมวดอานาปานบรรพะเป็นอารมณ์ทั้งสมถะและวิปัสสนา และแสดงวิธีการเจริญสติโดยการกำหนดพิจารณาอาการ ๓๒ โดยความเป็นสิ่งปฏิกูล จัดอยู่ในหมวดปฏิกูลมนสิการบรรพะ จัดเป็นอารมณ์ทั้งสมถะและวิปัสสนา

                      สติเป็นหลักธรรมสำคัญในการเจริญปัญญา คือ การปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งรูปนาม พระไตรลักษณ์ สติมักจะเกิดร่วมกับวิริยะ สมาธิ และปัญญา เรียกว่า สัมปยุตธรรม มีแนวทางในการพัฒนาสติ ๖ รูปแบบ ตามที่ปรากฏในกายคตาสติสูตร ๑ รูปแบบ คือ อานาปานสติ และปรากฏในมหาสติปัฏฐานสูตรอีก ๕ รูปแบบ คือ ๑. อิริยาบถ ๒. สัมปชัญญะ   ๓. ปฏิกูลมนสิการ  ๔. ธาตุมนสิการ ๕. นวสีวถิกา

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕