หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมานพ จิตฺตสํวโร (เสือแก้ว)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๕ ครั้ง
ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการนำหลักสังคหวัตถุ ๔ มาใช้ในการบริการประชาชนของอาสาสมัครกู้ภัยใต้เต็กเซี่ยงตึ๊ง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อผู้วิจัย : พระมานพ จิตฺตสํวโร (เสือแก้ว) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาปรีดา ขนฺติโสภโณ, ดร. พธ.บ., M.A., Ph.D.
  ผศ.พิเศษ ดร.ส่งศรี ชมภูวงศ์ คบ., คม., ศน.ด.
  .
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

               

                การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้  ๑.  เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการนำหลักสังคหวัตถุ ๔ มาใช้ในการบริการประชาชนของอาสาสมัครกู้ภัยใต้เต็กเซี่ยงตึ๊ง  จังหวัดนครศรีธรรมราช                  ๒. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการนำหลักสังคหวัตถุ ๔ มาใช้ในการบริการประชาชนของอาสาสมัครกู้ภัยใต้เต็กเซี่ยงตึ๊ง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกัน         ๓.  เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหา และแนวทาง การนำหลักสังคหวัตถุ ๔ มาใช้ในการบริการประชาชนของอาสาสมัครกู้ภัยใต้เต็กเซี่ยงตึ๊ง  จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ประชาชนที่ใช้บริการอาสาสมัครกู้ภัยใต้เต็กเซี่ยงตึ๊ง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน  ๔,๗๐๐  คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของ Krejcie และ  Morgan  ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๓๕๕ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามปลายปิดและปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย และ  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า  Z-test   ค่า F-test   ค่า  F และทดสอบความแตกต่างค่าคะแนนเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเซฟเฟ่   

 

 

 

 

 

 

 

      ผลการวิจัยพบว่า

                        ๑)  ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการนำหลักสังคหวัตถุ ๔ มาใช้ในการบริการประชาชนของอาสาสมัครกู้ภัยใต้เต็กเซี่ยงตึ๊ง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านอัตถจริยา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านสมานัตตตา และด้านปิยวาจา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด  ตามลำดับ  เมื่อพิจารณาโดยจำแนกตามเพศ  อายุ  ระดับการศึกษา  และอาชีพ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก

                        ๒)  ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการนำหลักสังคหวัตถุ ๔ มาใช้ในการบริการประชาชนของอาสาสมัครกู้ภัยใต้เต็กเซี่ยงตึ๊ง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑  ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ และอาชีพ แตกต่างกัน มีความคิดเห็น แตกต่างกัน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

                     ๓)  ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไข การนำหลักสังคหวัตถุ ๔ มาใช้ในการบริการประชาชนของอาสาสมัครกู้ภัยใต้เต็กเซี่ยงตึ๊ง จังหวัดนครศรีธรรมราช  พบว่า มีปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ อาสาสมัครกู้ภัยขาดความช่วยเหลือ ผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วย ญาติและผู้อื่น อาสาสมัครกู้ภัย  ยังขาดวัตถุอุปกรณ์ที่ทันสมัยในการขาดความช่วยเหลือ เช่น เครื่องมือช่วยเหลือ ความปลอดภัยแก่ผู้เจ็บและญาติ มีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา คือ อาสาสมัครกู้ภัยควรให้ความช่วยเหลือ ผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วย ญาติ และผู้อื่น ด้วยวัตถุอุปกรณ์ที่ทันสมัย เช่น เครื่องช่วยเหลือ ความปลอดภัยแก่ผู้เจ็บ  ผู้ป่วย  ญาติและผู้อื่น.

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕