หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสิทธิธรรมาภรณ์ (สุวัฒน์ อภิวฑฺฒโน/เชิดพานิชย์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๔ ครั้ง
การศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณีบุญข้าวจี่ และข้าวแดกงา ของชาวเทศบาล ตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสิทธิธรรมาภรณ์ (สุวัฒน์ อภิวฑฺฒโน/เชิดพานิชย์) ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ, ดร. ป.ธ.๔, พธ.บ.(รัฐศาสตร์), พธ.ม. (พระพุทธศาสนา) (Bud.), Ph.D.(Bud.)
  ดร. ประยูร แสงใส ป.ธ.๔,พธ.บ., M.A.(Ed.),P.G.DIP.IN Journalism, Ph.D. (Ed.)
  ผศ.ดร.สุวิน ทองปั้น พธ.บ. (ปรัชญา), M.A.(Phil), Ph.D. (Phil.)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

­วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของประเพณีบุญข้าวจี่และข้าวแดกงา ของชาวเทศบาลตำบลนาอ้ออำเภอเมือง จังหวัดเลย๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณีบุญข้าวจี่ และข้าวแดกงา ของชาวเทศบาลตำบลนาอ้อ  อำเภอเมือง จังหวัดเลย  และ ๓)  เพื่อศึกษาคุณค่าของประเพณีบุญข้าวจี่ และข้าวแดกงา ที่มีต่อวิถีชีวิตของชาวเทศบาลตำบลนาอ้อ  อำเภอเมือง  จังหวัดเลย

ผลการวิจัยพบว่าประวัติความเป็นมาของประเพณีบุญข้าวจี่และข้าวแดกงา ของชาวเทศบาลตำบลนาอ้อ  อำเภอเมือง  จังหวัดเลย  พบว่า ตำบลนาอ้อ ได้มีการฟื้นฟูประเพณีบุญข้าวจี่อย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่ง เป็นปีที่บ้านนาอ้อ ได้รับยกย่องจากสภาวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็นหมู่บ้านวัฒนธรรมต้นแบบของ จังหวัดเลยและมีการจัดงานประเพณีแบบเป็นระเบียบแบบแผนและจัดงานอย่างต่อเนื่องมาทุกปีและชาวเทศบาลตำบล นาอ้อ  มีความเชื่อในเรื่องการให้ทานข้าวจี่ของนางปุณณทาสี เพราะนางได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นอริยบุคคลหลังจากที่ได้ถวายข้าวจี่ให้กับพระพุทธเจ้า   จึงเป็นมูลเหตุที่มาของประเพณีบุญข้าวจี่และ           ข้าวแดกงา ของชาวเทศบาลตำบลนาอ้อสืบมา

หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณีบุญข้าวจี่ และข้าวแดกงา ของชาวเทศบาลตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย ได้แก่หลักบุญกิริยาวัตถุ ๓  คือ ทาน ศีล ภาวนา ซึ่งชาวเทศบาลตำบลนาอ้อได้ร่วมกันปฏิบัติเป็นประจำ หลักสามัคคีธรรม แต่ละครอบครัวได้แสดงออกทางกายสามัคคี และหลักขันติธรรม วิริยะ สมาธิที่มียู่ในตัวบุคคล

ประเพณีบุญข้าวจี่  และข้าวแดกงาที่มีต่อวิถีชีวิตของชาวเทศบาลตำบลนาอ้อ  ซึ่งเกิดคุณค่าในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านจิตใจ ทำให้เกิดความภูมิใจ ช่วยกันอนุรักษ์สืบต่อประเพณีให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ด้านความสามัคคีของคนในชุมชน ด้านวิถีชีวิตของคนในชุมชน ทำให้เกิดศรัทธา ยอมรับและปฏิบัติตามประเพณี ด้านศาสนา ชาวเทศบาลตำบลนาอ้อได้ถวายอุปถัมภ์ปัจจัย ๔ แก่พระภิกษุสามเณร ในด้านวัฒนธรรม สภาวัฒนธรรมแห่งชาติได้ยกย่องให้ประเพณีบุญข้าวจี่และข้าวแดกงาของชาวเทศบาลตำบลนาอ้อ  เป็นวัฒนธรรมต้นแบบต่อไป

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕