หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสุตธรรมวิสุทธิ์ (วิระชัย ฐิตธมฺโม/ จงกลนี)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๙ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์หลักขันติในการดำเนินชีวิตของชาวตำบลท่าม่วงอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสุตธรรมวิสุทธิ์ (วิระชัย ฐิตธมฺโม/ จงกลนี) ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาประมวล ฐานทตฺโต, ดร. ป.ธ. ๖, พธ.บ.(ภาษาไทย),M.A. (Ling), M.A., Ph.D.(Pali& Bud),
  ผศ.ดร.โสวิทย์ บำรุงภักดิ์ ป.ธ.๗,พธ.บ. (ปรัชญา), M.A. (Bud.), พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)
  ดร.ประยูร แสงใส ป.ธ. ๔, พ.ม., พธ.บ., P.G. Dip. InJournalism., M.A. (Ed), Ph.D. (Ed),
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๗/๐๓/๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักขันติในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตตามหลักขันติของชาวตำบลท่าม่วง และเพื่อวิเคราะห์ประโยชน์ของขันติในการดำเนินชีวิตของชาวตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ภาคสนาม โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณา

ผลการศึกษาพบว่าขันติเป็นหลักธรรมที่กล่าวถึงความอดทนต่อสิ่งยั่วยุที่เกิดขึ้นทั้งภายในจิตใจและภายนอกสิ่งยั่วยุหรือปัจจัยภายใน ได้แก่ความโลภ เป็นต้น สิ่งยั่วยุหรือปัจจัยภายนอก ได้แก่ คำพูดเสียดสี เป็นต้น ลักษณะของขันติจะมีลักษณะอดกลั้นไม่ดุร้าย ไม่ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้น มีความเบิกบานอยู่เป็นนิตย์ ขันติ ๔ ประเภท คือ อดทนต่อความลำบากอดทนต่อทุกขเวทนาอดทนต่อความเจ็บใจและอดทนต่ออำนาจกิเลสคือโลภ โกรธ หลง บุคคลสามารถสร้างความอดทนด้วยการยึดหลักหิริโอตตัปปะรู้เท่าทันอารมณ์ที่มากระทบจิตใจ  ขันติที่ปรากฏในมงคลสูตรมี ๒ ลักษณะคือ ขันติพื้นฐาน ซึ่งมาคู่กับโสรัจจะ เป็นความอดทนในการทำงานทั่วไป ได้แก่ อธิวาสนขันติคืออดทนต่อการล่วงเกินของคนอื่น ส่วนขันติในฆราวาสธรรมเป็นการอดทนต่อการทำงานเลี้ยงชีพ ไม่ย่อท้อต่อความลำบากโทษของการขาดขันติคือ เป็นผู้มากด้วยเวรเมื่อตายไปจะเขาถึงอบายภูมิ  ส่วนอานิสงส์ของขันติคือ เป็นที่รักเป็นที่พอใจของคนหมู่มากไม่ดุร้ายไม่มีความเดือดร้อนไม่หลงสติ และหลังจากตายจะไปเกิดในสุคติ

ชาวตำบลท่าม่วงได้นำหลักขันติมาใช้ในการดำเนินชีวิตโดยปฏิบัติตามหลักขันติคือพิจารณาเห็นโทษของความโกรธที่เกิดขึ้นจากความไม่พอใจหรือขัดเคืองใจ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เป็นเหตุให้สร้างปัญหาหรือประพฤติตนผิดศีลธรรมได้ เช่น ด่าผู้อื่นทำร้ายผู้อื่นเป็นต้นไม่ให้ยินดีตามความต้องการ เช่น การซื้อสิ่งของราคาแพง การอยากได้ทรัพย์สินของผู้อื่น เป็นต้น เมื่อห้ามความโลภได้ก็ไม่ต้องทำให้เดือดร้อนในภายหลัง ในการดำรงชีวิตคือการศึกษาเล่าเรียน การทำงานหรือทำหน้าที่ของตน ความอดทนเป็นหลักสำคัญที่ทำให้ชาวตำบลท่าม่วงบรรลุเป้าหมายช่วยพัฒนาสุขภาพกายคือทำให้กายเป็นปกติสุข ไม่อ่อนล้าหรือกระสับกระส่ายเพราะขาดความอดทนมีความเป็นอยู่ดีเพราะเมื่ออดทนต่อความลำบากได้ก็ทำให้ทำงานได้สำเร็จ รวมทั้งสุขภาพจิตให้ดีขึ้นเพราะสามารถบรรเทาความโลภโกรธหลงได้ นอกจากนี้ยังทำให้บรรลุเป้าหมายชีวิตในการดำเนินชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและศีลธรรม

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕