หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสุภาจารนิวิฐ (ทิพย์กระโทก)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๓ ครั้ง
การศึกษาการใช้สื่อธรรมชาติในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสุภาจารนิวิฐ (ทิพย์กระโทก) ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังวราภิรักษ์, พธ.บ., พธ.ม., Ph.D.
  ดร. ยุทธนา พูนเกิดมะเริง, พธ.บ., พธ.ม., Ph.D.
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรพงษ์ คงสัตย์, พธ.บ., พธ.ม., ปร.ด.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การศึกษา ๓ ประการ ได้แก่ (๑) เพื่อศึกษาการใช้สื่อธรรมชาติในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาการใช้สื่อธรรมชาติในการสอนของพระพุทธเจ้า  และ (๓) เพื่อศึกษาการใช้สื่อธรรมชาติในการเผยแผ่พุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า                ผลการศึกษาพบว่า

                    สื่อธรรมชาติในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท ตามความหมายของสื่อธรรมชาติในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท หมายถึงสื่อที่ปรากฏในรูปของธรรมชาติ ได้แก่ พืช สัตว์ บุคคล และสิ่งแวดล้อม โดยความสำคัญของสื่อธรรมชาตินั้น ทำให้ทราบถึงหลักธรรมคำสอนที่ปรากฏในธรรมชาตินั้นๆ โดยลักษณะของสื่อธรรมชาติเป็นสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สัตว์ บุคคล และสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น อากาศ เป็นต้น ประเภทของสื่อธรรมชาติในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท มี ๔ ประเภท คือ พืช สัตว์ บุคคล และสิ่งแวดล้อม ลักษณะของสื่อธรรมชาติจะช่วยสอนให้มนุษย์รู้จักฝึกตนเอง และปรับสภาพร่างกายและจิตใจให้เข้ากับธรรมชาติ              

การใช้สื่อธรรมชาติในการสอนของพระพุทธเจ้า กล่าวคือ พระพุทธองค์ทรงมีการใช้สื่อ ๔ ประการ คือ (๑) การใช้พืชเป็นสื่อ เช่น  การใช้ส่วนต่างๆ ของต้นไม้ (๒) การใช้สัตว์เป็นสื่อของพระพุทธเจ้า ได้แก่ การใช้สัตว์เลี้ยง  สัตว์ป่าและสัตว์ในชาดก (๓) การใช้บุคคลเป็นสื่อของพระพุทธเจ้า เช่น ทรงใช้มนุษย์เป็นสื่อ และ (๔) การใช้สิ่งแวดล้อมเป็นสื่อของพระพุทธเจ้า ได้แก่               การใช้ดิน  น้ำ  ลม ไฟ  เป็นสื่อการสอน ภูเขา  แม่น้ำ  ผลจากการใช้สื่อธรรมชาติของพระพุทธเจ้า         ทำให้ทราบถึงสื่อธรรมชาติและหลักธรรมที่ปรากฏในธรรมชาติ  ซึ่งพระพุทธองค์ทรงมีพุทธวิธีในการใช้สื่อและทรงมีเทคนิคตามระดับปัญญาของผู้ฟัง ซึ่งเปรียบได้กับบัว ๔ เหล่า โดยวิธีการสอนสื่อของพระพุทธเจ้า คือการยกอุทาหรณ์และการเล่านิทานประกอบ การเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมา  การใช้อุปกรณ์การสอน  การใช้ภาษา  อุบายการเลือกคน และการปฏิบัติรายบุคคล  การรู้จักจังหวะและโอกาส  มีความยืดหยุ่น กลวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นได้และจุดมุ่งหมายในการสอนของพระพุทธเจ้าทรงคำนึงถึงผู้ฟังเป็นสำคัญเพื่อให้รู้ตามเห็นจริงในสิ่งที่พระองค์ทรงสอน ลักษณะการสอนของพระพุทธเจ้า ได้แก่ แบบสากัจฉา หรือสนทนา แบบบรรยาย แบบตอบปัญหา  การสอนธรรมโดยใช้สื่อธรรมชาติที่พระพุทธองค์ทรงยกตัวอย่างทรงใช้สื่อ ได้แก่  พืช สัตว์ บุคคล  และสิ่งแวดล้อม                

                    การใช้สื่อธรรมชาติในการเผยแผ่พุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า ทรงมีพุทธวิธีการเผยแผ่พุทธศาสนา กล่าวคือ ทรงมีจุดมุ่งหมายในการเผยแผ่  หลักการเผยแผ่  ลีลาในการสอน  วิธีการสอน ตลอดจนเทคนิคการสอน ซึ่งได้อาศัยสื่อธรรมชาติเป็นตัวอย่างในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาประกอบด้วย ๔ ประการ คือ (๑) การใช้พืชเป็นสื่อในการเผยแผ่พุทธศาสนา  (๒) การใช้สัตว์เป็นสื่อในการเผยแผ่พุทธศาสนา  (๓) การใช้บุคคลเป็นสื่อในการเผยแผ่พุทธศาสนา  (๔) การใช้สิ่งแวดล้อมเป็นสื่อในการเผยแผ่พุทธศาสนาและผลจากการใช้สื่อธรรมชาติในการเผยแผ่พุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า  ทำให้พุทธศาสนิกชนเข้าใจสภาพความเป็นจริงของธรรมชาติมากขึ้น รวมถึงเห็นคุณค่าของสภาพสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยกันดูแล ปกป้อง และนำมาเป็นสื่อการสอนเพื่อให้เข้าถึงธรรมชาติที่เต็มไปด้วยหลักธรรมและเกิดการอนุรักษ์สภาพธรรมชาติและแวดล้อม ทั้งยังช่วยส่งเสริมและเผยแผ่                     พุทธศาสนาไปทั่วโลก

ดาวน์โหลด                                           

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕