หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ประครอง พงษ์ชนะ
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๐ ครั้ง
การบริหารงานบุคคลตามหลักฆราวาสธรรมในการบริหารสถานศึกษาขอนแก่น เขต ๑
ชื่อผู้วิจัย : ประครอง พงษ์ชนะ ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  รศ.ดร.เอกฉัท จารุเมธีชน. ป.ธ.๕ , พ.ม., กศ.บ.(ประวัติศาสตร์) อ.ม. (บาลี-สันสกฤต), Ph.D.(Sanskrit)
  ดร.ประยูร แสงใส. ป.ธ.๔ , พ.ม., พธ.บ.,P.G.Dip.In ournalism., M.A. (Ed), Ph.D. (Ed).
  ดร.สัมฤทธิ์ กางเพ็ง . ศษ.ด.(การบริหารการศึกษา)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้  ๑) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลตามหลักฆราวาสธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในเขตพื้นที่อำเภอบ้านฝาง  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๑  ๒) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานบุคคลตามหลักฆราวาสธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในเขตพื้นที่อำเภอบ้านฝาง  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๑ จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ และประสบการณ์การทำงาน ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักฆราวาสธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในเขตพื้นที่อำเภอบ้านฝาง  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๑ กลุ่มประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน  กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ๒๐๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ค่าความถี่ ใช้ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ใช้การทดสอบด้วยค่าที (t-test independent) และการทดสอบเอฟ (F-test) เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทำการทดสอบความแตกต่างด้วยวิธีของเซฟเฟ่ (Scheffe’s) แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักฆราวาสธรรมในการบริหารสถานศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาวิธี

ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มี ต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักฆราวาสธรรมในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในพื้นที่อำเภอบ้านฝาง  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๑ โดยภาพรวม พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ย = ๓.๘๘) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า  ทุกด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ด้านสัจจะ (มีค่าเฉลี่ย =๓.๙๙) ด้านทมะ(มีค่าเฉลี่ย = ๓.๙๓) ด้านขันติ (มีค่าเฉลี่ย = ๓.๗๙) ด้านจาคะ (มีค่าเฉลี่ย = ๓.๗๙)  ตามลำดับ 

   การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีต่อการบริหารงาน  บุคคลตามหลักฆราวาสธรรม ในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในพื้นที่อำเภอบ้านฝาง  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๑  จำแนกตามตำแหน่ง พบว่า พบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักฆราวาสธรรมในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่อำเภอบ้านฝาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๑ จำแนกตาม  ตำแหน่ง  โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ด้านขันติ ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านจาคะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.๐๕ ด้านสัจจะและด้านทมะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑  การเปรียบเทียบความคิดเห็น จำแนกตามประสบการณ์ พบว่า โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้  เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่มีต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักฆราวาสธรรม ด้านขันติและด้านจาคะ ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านสัจจะ และด้านทมะ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่  ระดับ .๐๑ 

              แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักฆราวาสธรรมในการบริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โรงเรียนในเขตพื้นที่ อำเภอบ้านฝาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น  เขต ๑  ควรส่งเสริมหลักฆราวาสธรรม ธรรมสําหรับครองเรือนหรือธรรมสําหรับผู้อยู่ร่วมกัน ความซื่อสัตย์ต่อกัน  การฝึกตน ความอดทนอดกลั้น  การเสียสละ การแบ่งปัน มีน้ำใจคุณสมบัติของผู้ที่สามารถสร้างเกียรติยศ สร้างปัญญา สร้างทรัพย์สมบัติและสร้างหมู่ญาติมิตรให้เกิดขึ้นได้สำเร็จด้วยกำลังความเพียรของตน โดยเฉพาะนักบริหารควรปลูกฝังสัจจะให้เกิดขึ้นในจิตใจของตนเพื่อจะได้นำไปใช้ในการบริหารตนและบริหารคนให้ประสบความสําเร็จ การพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา  เพื่อจะมีความรู้ มาบริหารในครอบครัวหรือสถานศึกษาให้เจริญก้าวหน้ามีความอดทนไม่ย่อท้อ มีความเสียสละ ความแบ่งปัน การมีน้ำใจ เสียสละประโยชน์

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕