หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาวภชรพร คำรินทร์
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๗ ครั้ง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เอ.พี.พูล (ประเทศไทย) จำกัด
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวภชรพร คำรินทร์ ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพลสุยะพรหม,พธ.บ., Ph.D. (Pol.Sci.)
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโ, ผศ.,พธ.บ.,ศศ.ม., รป.ม.(การจัดการความขัดแย้ง)
  ผศ.ดร.ธัชชนันท์ อิศรเดชพธ.บ.,M.A., Ph.D.(Pol.Sci.)
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑)เพื่อศึกษาระดับของขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทเอ.พี.พูล. (ประเทศไทย) จำกัด ๒)เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทเอ.พี.พูล. (ประเทศไทย) จำกัด๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทเอ.พี.พูล. (ประเทศไทย) จำกัด

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม(MixedMethodresearch) เป็นการวิจัยโดยการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ(Key Informants) เก็บข้อมูลจากการแจกแบบสอบถามกับพนักงาน บริษัท เอ.พี.พูล (ประเทศไทย)จำกัด โดยเก็บข้อมูลทั้งหมด โดยสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เอ.พี.พูล(ประเทศไทย) จำกัดจำนวน ๒๕๐ คน และแบบสอบถามปลายเปิด และแบบสัมภาษณ์ผู้บริหารเพิ่มเติมการทดสอบสมมติฐาน(Hypothesis Testing) สำหรับทดสอบสมมติฐานเพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เอ.พี.พูล(ประเทศไทย) จำกัด เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ทำการคือ เพศ,อายุ,ระดับการศึกษา,สถานภาพ,ตำแหน่งงาน,ระยะเวลา,และรายได้ที่ได้รับ,ว่ามีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามคือปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เอ.พี.พูล(ประเทศไทย) จำกัด หรือไม่ โดยการใช้การทดสอบค่าไคสแควร์(chi – squere)ที่มีระดับนัยสำคัญสำคัญทางสถิติประมาณ ∞ = .๐๕

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

๑. พนักงานมีความคิดเห็นว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เอ.พี.พูล (ประเทศไทย) จำกัดโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก(µ =.๕๔,σ=.๓๗๙) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน

๒. การทดสอบสมมติฐาน ๗ ข้อ โดยพิจารณาจากค่า Chi-Square ( ) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ๐.๐๕ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เอ.พี.พูล.(ประเทศไทย)จำกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ เพศ อายุการศึกษา ตำแหน่งงาน ระยะเวลาปฏิบัติงาน และรายได้ที่ได้รับตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ยกเว้น สถานภาพ มีการทดสอบสมมติฐาน ระดับสถานภาพของพนักงานส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานโดยใช้สถิติ Chi-Square ( ) ได้ค่าเท่ากับ ๕.๒๘๓ Significantเท่ากับ ๐.๐๗๑ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ตัวแปรทั้งสองตัวไม่มีความสัมพันธ์กัน จึงไม่ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

              ๓. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบริษัท เอ.พี.พูล.(ประเทศไทย) จำกัด สรุปได้ดังนี้ ๑)ปัญหาด้านการบริหารผู้บริหารขาดความรู้การบริหารงาน ขาดความรู้ความสามารถและขาดประสบการณการบริหารใช้ความรู้สึกส่วนตัวทำให้การบริหารงานมีปัญหาข้อเสนอแนะโดยภาพรวม มีปัญหาต้องแก้ไขผู้บริหาร๒)ปัญหาด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงานผู้บริหารไม่มีการสร้างกิจกรรมร่วมกันให้กับพนักงานผู้บริหารประชุมน้อยเกินไปไม่มีการจัดกิจกรรมนันทนาการให้กับพนักงานข้อเสนอแนะโดยภาพรวมมีปัญหาต้องแก้ไขผู้บริหาร ๓)ปัญหาด้านความพึงพอใจผู้บริหารไม่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ในบริหารงานทำให้การพนักงานเกิดความเครียดในการทำงานผู้บริหารไม่ได้ความพอพึงใจในการบริหารงานการทำงาน สิ่งแวดล้อม ความยอมรับนับถือตลอดจน สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เหมาะสมข้อเสนอแนะโดยภาพรวม มีปัญหาต้องแก้ไขผู้บริหาร๔)ปัญหาด้านความมั่นคงมีการสร้างความมั่งคงให้กับพนักงานน้อยเกินไปผู้บริหาร บริหารงานไม่มีระบบการทำงานตามแผนงาน และผู้บริหารละเลยการตรวจงานของพนักงานข้อเสนอแนะโดยภาพรวม มีปัญหาต้องแก้ไขผู้บริหาร๕)ปัญหาด้านเงินเดือนและสวัสดิการจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานตามความพอใจตนเองไม่มีการขึ้นเงินเดือนในแต่ละไตรมาสของแต่ละปีและไม่มีการกำหนดเช่น โบนัส ของพนักงานที่แน่นอนข้อเสนอแนะโดยภาพรวม มีปัญหาต้องแก้ไขผู้บริหาร

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕