หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายยุทธศักดิ์ ภูห้องใสย
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๑ ครั้ง
การปฏิบัติงานตามหลักสาราณียธรรม ๖ ของข้าราชการในศาลสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค ๔
ชื่อผู้วิจัย : นายยุทธศักดิ์ ภูห้องใสย ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.ชาญชัย ฮวดศรี พธ.บ(สังคมศึกษา), M.A. (Pol.Sc.),Ph.D. (Soc.Sc.)
  ดร.ปัญญา คล้ายเดช ป.ธ.๗, พธ.บ.(เศรษฐศาสตร์),รป.ม.(รัฐประศาสนศาสตร์) Ph.D. (Pol.Sc.)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของของข้าราชการศาลยุติธรรมในศาลสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค ๔ (๒) เพื่อศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักสาราณียธรรม ๖ ของข้าราชการศาลยุติธรรมในศาลสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค ๔ (๓) เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักสาราณียธรรม ๖ ของข้าราชการศาลยุติธรรมในศาลสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค ๔ (๔) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม ๖ในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการศาลยุติธรรมในศาลสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษา ภาค ๔

               การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยแบบผสม โดยการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือข้าราชการในศาลยุติธรรมสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค ๔  จำนวน ๒๕๔  คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยมีการหาคุณภาพ โดยการหาความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน ๕ ท่าน และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๘๒  

 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ (Fequency) ร้อยละ ( Percentge ) ค่าเฉลี่ย () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t - test) และการวิเคราะห์ค่าแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ( In-Dept Interview ) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informant) คือ ผู้อำนวยการระดับสูง หัวหน้าส่วน

 

หัวหน้ากลุ่มงาน จำนวน ๕ คน  วิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์เพื่อหาแนวทางสำหรับพัฒนาการปฏิบัติงานตามหลักสาราณียธรรม ๖ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

 

     ผลการวิจัย พบว่า

                  ๑. ข้าราชการ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ ๖๖.๑ มีอายุระหว่าง ๓๑ ๔๐ ปี คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๒ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรม คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๘  มีการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ ๗๒.๔ มีรายได้ตั้งแต่ ๒๕,๐๐๐ บาทขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๔

              ๒. ข้าราชการมีการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักสาราณียธรรม ๖ ของข้าราชการในศาลสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค ๔ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=.๑๒) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยในแต่ละด้านดังนี้ คือ ด้านเมตตากายกรรม (= .๑๒) ด้านเมตตาวจีกรรม  (= .๒๙) ด้านเมตตามโนกรรม  (= .๕๐)  ด้านสาธารณโภคี  (= .๐๑) ด้านสีลสามัญญตา (= .๔๗)  ด้านทิฏฐิสามัญญตา  (= .๙๗)  

     ๓. ข้าราชการที่มี อายุ ตำแหน่ง การศึกษาและรายได้ แตกต่างกันมีการปฏิบัติงานตามหลักสาราณียธรรม ๖ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนข้าราชการศาลยุติธรรมที่มีเพศแตกต่างกันมีการปฏิบัติงานตามหลักสาราณียธรรมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้

               ๔. การปฏิบัติงานของข้าราชการศาลยุติธรรมมีการปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงาน  ผู้มาติดต่อราชการและผู้บังคับบัญชานั้น ต้องปฏิบัติภายใต้ประมวลจริยธรรมของข้าราชการศาลยุติธรรม นโยบายของประธานศาลฎีกา และแผนยุทธศาสตร์ศาลยุติธรรม เพื่อการให้บริการที่ดีแก่ผู้อรรถคดีและผู้มาติดต่อราชการให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด ซึ่งประมวลจริยธรรมของข้าราชการศาลยุติธรรมนั้นเปรียบเหมือนสิ่งที่ควบคุมการประพฤติของข้าราชการศาลยุติธรรมให้ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีงาม ให้นำไปสู่ความสำเร็จของการดำรงตนและการปฏิบัติราชการ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕