หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาอานนท์ ชยานนฺโท (เหล็กดี)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๘ ครั้ง
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาอานนท์ ชยานนฺโท (เหล็กดี) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ,ผศ.ดร. ป.ธ.๓,พ.ม.,พธ.บ.,พธ.ม.
  พระครูสุตกิจบริหาร,ผศ. ป.ธ.๔,พธ.บ.,M.A.
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย ป.ธ.๓, พธ.บ., M.Ed., Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๔
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                                   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในสำนักเรียนวัดสามพระยา (๒) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีวัดสามพระยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พระภิกษุสามเณรซึ่งเป็นนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในสำนักเรียนวัดสามพระยา จำนวน ๑๑๔ รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าที (t-test) และทดสอบค่าเอฟ (F-test) โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)

                       ผลการวิจัยพบว่า

                       ๑. ระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีวัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร ทั้ง ๔ ด้าน คือ ปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัยด้านพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอน และปัจจัยด้านการสนับสนุนของบุคลากรในชุมชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก คือ ปัจจัยด้านการสนับสนุนของบุคลากรในชุมชน ส่วนปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัยด้านพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนและปัจจัยด้านหลักสูตร พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาตามลำดับ

                       ๒. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของนักเรียนต่อปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำแนกตามสถานภาพ วิทยฐานะ วุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการสอบ พบว่า ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

                       ๓. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของนักเรียนต่อปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำแนกตามอายุ และพรรษา พบว่า แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ โดยนักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ ๑๒-๒๐ ปี มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน น้อยกว่านักเรียนที่มีอายุ ๓๑ ปีขึ้นไป และนักเรียนที่มีพรรษาต่ำกว่า ๕ พรรษา มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มากกว่านักเรียนที่มีพรรษา ๑๑ พรรษาขึ้นไป

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕