หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสมนึก ธีรปญฺโญ (กลับน้อม)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๘ ครั้ง
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคตามหลักธรรมาภิบาล: กรณีศึกษา อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
ชื่อผู้วิจัย : พระสมนึก ธีรปญฺโญ (กลับน้อม) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง, พ.ม.,พธ.บ., M.A., Ph.D.(Soc.)
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโ น.ธ.เอก, ป.ธ.๑ - ๒, พธ.บ. (เกียรตินิยมอันดับ ๑), ศศ.ม. (พัฒนาสังคม)
  ผศ.พิเศษ ว่าที่ พ.ต. ดร.สวัสดิ์ จิรัฏฐิติกาล, ธ.ศ.เอก, วท.บ., ศศ.บ.,บธ.ม., ศศ.ม., Ph.D.(Soc. Sc.)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๓
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาการบริหารราชการส่วนภูมิภาคตามหลัก ธรรมาภิบาล: กรณีศึกษา อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี (๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการบริหารราชการส่วนภูมิภาคตามหลักธรรมาภิบาล: กรณีศึกษา อำเภอบางกรวย  จังหวัดนนทบุรี  โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล  และ (๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวทางในการบริหารราชการส่วนภูมิภาคตามหลักธรรมาภิบาล: กรณีศึกษา อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรของอำเภอบางกรวยทั้งหมดจำนวน ๒๒๕ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามการวัดระดับความคิดเห็นต่อการบริหารราชการส่วนภูมิภาคตามหลักธรรมาภิบาล: กรณีศึกษา อำเภอ  บางกรวย จังหวัดนนทบุรี มีความเชื่อมั่น ๐.๙๘๑ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยทดสอบที (t-test) และ เอฟ (F – test)

 

 

 

 

 

 

 

ผลการวิจัยพบว่า 

๑. บุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในอำเภอบางกรวยมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๕๔) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า บุคลากรมีความคิดเห็นต่อการบริหารงาน อยู่ในระดับมากทุกด้าน

              ๒. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการบริหารราชการส่วนภูมิภาคตามหลักธรรมาภิบาล: กรณีศึกษา อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี พบว่า บุคลากรที่มีเพศ, อายุ, ระดับการศึกษา, ตำแหน่งหน้าที่ และประสบการณ์ทำงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนสถานภาพ และ รายได้ที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารราชการส่วนภูมิภาคตามหลักธรรมาภิบาล: กรณีศึกษา อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี โดยรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

              ๓. การศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ สรุปได้ดังนี้

                  ด้านปัญหา พบว่า บุคลากรยังขาดการถ่ายทอดนโยบายจึงทำให้บุคลากรระดับล่างที่ไม่ได้ร่วมงานอย่างใกล้ชิดไม่มีโอกาสรับรู้ ยังขาดความร่วมมือจากบุคลากรทุกระดับ ผู้บริหารเลือกใช้งานเลือกปฏิบัติในแต่ละบุคคล มีเส้นสาย ขาดความยุติธรรม มีความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ การตรวจสอบภายในยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร  ความโปร่งใสยังไม่ครอบคลุมทุกหน่วยงาน

                  ด้านอุปสรรค พบว่า ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่งยังล้าสมัย การทำงานยังไม่มีมาตรฐานเดียวกัน มีการกระจายอำนาจในการบริหารงานยังไม่ทั่วถึง มีการรวมศูนย์อำนาจอยู่เพียงแค่ผู้บริหารเพียงคนเดียวเท่านั้น และมีผู้บริหารไม่ค่อยเอาใจใส่ในการมีส่วนร่วม

                  ด้านข้อเสนอแนะ ได้แก่ ผู้บริหารควรมีความใกล้ชิดกับบุคลากร ถ่ายทอดความรู้ในด้านการบริหารงานโดยอาศัยหลักธรรมาภิบาล และผู้บริหารของแต่ละองค์กรควรคำนึงถึงการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลให้ครบทั้ง ๖ ด้าน เพราะหลักธรรมาภิบาลยึดหลักการทำงานที่มีหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส  หลักความรับผิดชอบ  หลักการมีส่วนร่วม และหลักความคุ้มค่า  ซึ่งเป็นการบริหารการปกครองที่ดีที่ทุก ๆ ส่วนเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม เหมาะที่จะนำมาใช้ในการจัดการบริหารงาน ทำให้หน่วยงานนั้นสามารถพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพได้      

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕