หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางตวงเพชร สมศรี
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๔ ครั้ง
วิธีการพัฒนาจริยธรรมของข้าราชการตำรวจเชิงพุทธบูรณาการ (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พระพุทธศาสนา))
ชื่อผู้วิจัย : นางตวงเพชร สมศรี ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๖/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระศรีคัมภีรญาณ, รศ.ดร., ป.ธ.๙., ศษ.บ., พธ.ม., Ph.D. (Pali and Buddhist Studies)
  ดร.ประพันธ์ ศุภษร, ป.ธ.๗, พธ.บ., ศศ.ม., พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)
  พระศรีคัมภีรญาณ, รศ.ดร., ป.ธ.๙., ศษ.บ., พธ.ม., Ph.D. (Pali and Buddhist Studies)
วันสำเร็จการศึกษา : 2556
 
บทคัดย่อ

     วิทยานิพนธ์เรื่อง วิธีการพัฒนาจริยธรรมของข้าราชการตำรวจเชิงพุทธบูรณาการ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ ๑) เพื่อศึกษาจริยธรรมและวิธีการพัฒนาจริยธรรมของข้าราชการตำรวจ  ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ใช้บูรณาการวิธีการพัฒนาจริยธรรมของข้าราชการตำรวจ   ๓) เพื่อศึกษาวิธีการและเสนอองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นวิธีการพัฒนาจริยธรรมของข้าราชการตำรวจเชิงพุทธบูรณาการ โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสัมภาษณ์นักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ ด้วยการนำเสนอในรูปแบบพรรณนาโวหาร

     ผลการศึกษาพบว่า วิธีการพัฒนาจริยธรรมของข้าราชการตำรวจ  มี ๘ วิธี   ทั้งนี้  ในทุก

วิธีการได้พบปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การพัฒนาไม่ประสบผลสำเร็จ จึงเสนอให้นำหลัก       พุทธธรรมมาใช้บูรณาการวิธีการพัฒนาจริยธรรมของข้าราชการตำรวจ เพื่อให้อยู่บนพื้นฐานของการมีคุณธรรม จริยธรรมประจำใจ อันจะก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กรอย่างยั่งยืน

             วิธีการพัฒนาจริยธรรมของข้าราชการตำรวจเชิงพุทธบูรณาการ มีดังนี้ ๑) วิธีการพัฒนาจริยธรรมของข้าราชการตำรวจด้วยการสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคคลหรือหน่วยงานภายนอก เข้ามามีส่วนในการควบคุมตรวจสอบจริยธรรมของข้าราชการเพิ่มขึ้น ปัญหาที่พบคือ การนำพรรคพวกเดียวกันเข้ามาตรวจสอบหรือตัดสินพิจารณาดำเนินการใดๆ จึงมักไม่ค่อยตรงไปตรงมา  การนำหลักอคติ ๔ มาใช้บูรณาการจะสามารถทำให้ประสบผลสำเร็จได้ทำให้เกิดผลเป็นความเที่ยงตรง ยุติธรรม  ๒) วิธีการพัฒนาจริยธรรมของข้าราชการตำรวจด้วยการสนับสนุนให้ดำเนินคดี และลงโทษข้าราชการที่ประพฤติมิชอบตามบทบัญญัติของกฎหมายอย่างเคร่งครัด ปัญหาที่พบคือ การละเลยการลงโทษอย่างเข้มงวดทำให้ ข้าราชการที่ประพฤติมิชอบ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด การนำหลักไตรสิกขามาผสมผสานกับการบังคับใช้วิธีการนี้จะช่วยทำให้ลดปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้เกิดผลเป็นความสุจริต ๓) การต่อต้านหรือไม่สนับสนุนค่านิยมของข้าราชการตำรวจไทยที่มีอยู่แล้วในสังคม ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ปัญหาที่พบคือ ยังไม่มีการนำเป็นนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมที่ต่อเนื่องและชัดเจน การนำหลักบุญกิริยาวัตถุมาใช้บูรณาการอย่างถูกต้องจะช่วยลดปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ให้น้อยลงทำให้เกิดผลเป็นการคิดถูก การกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง  ๔) ผู้บังคับบัญชาควรประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติราชการ ปัญหาที่พบคือผู้บังคับบัญชาระดับสูงจะมีการแต่งตั้งโยกย้ายบ่อยครั้ง อาจเป็นปัญหาให้การบริหารงานขาดความต่อเนื่อง  การนำหลักพรหมวิหาร ๔ มาใช้บูรณาการ โดยเน้นพัฒนาจากภายในสู่ภายนอก เป็นการฝึกการมีคุณธรรม ก่อนจะนำไปสู่การเป็นคนดีของสังคมอย่างถาวร ทำให้เกิดผลเป็นผู้นำต้นแบบเป็นตัวอย่างที่ดี ๕) การสนับสนุนให้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ ปัญหาที่พบคือ นโยบายบริหารงานของผู้บังคับบัญชา เป็นไปตามสภาพของแต่ละพื้นที่  การนำหลักสันโดษมาใช้บูรณาการในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติหน้าที่ทำให้เห็นคุณค่าของความเป็นอยู่ที่พอเพียงชัดเจนมากขึ้นทำให้เกิดผลเป็นคนที่รู้จักความพอดีไม่ฟุ้งเฟ้อเกินตัว  ๖) วิธีการส่งเสริมให้นำการบริหารงานราชการตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  ปัญหาที่พบคือไม่ยึดถือกฎระเบียบ ขาดคุณธรรม ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ขาดความรับผิดชอบในการดำเนินงาน การนำหลักทศพิธราชธรรมมาใช้บูรณาการในการปฏิบัติหน้าที่ จะทำให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายได้ทำให้เกิดผลเป็นคนที่มีคุณภาพในการทำงาน ๗) วิธีการสนับสนุนให้ผู้บังคับบัญชา ผู้บริหาร หรือแกนนำในการปฏิบัติราชการนำหลักธรรมมาปรับใช้ ปัญหาที่พบคือ  ยังไม่มีการนำหลักพุทธธรรมเข้ามาสอดแทรกกับกฎระเบียบต่างๆ ที่ชัดเจน การนำหลักกุศลกรรมบถมาใช้บูรณาการในการส่งเสริมให้เป็นผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบทำให้เกิดผลเป็นคนดีศรีสังคมหรือตำรวจดีมีคุณธรรม  ๘) วิธีการสนับสนุนให้หน่วยงานทั้งหลายรวมทั้งประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติราชการของข้าราชการด้านจริยธรรมอย่างต่อเนื่อง ปัญหาที่พบคือ ขาดการต่อเนื่องในการประสานงานและการนำไปปฏิบัติในบางพื้นที่  การนำหลักทิศ ๖ มาใช้บูรณาการสร้างเสริมการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลรอบข้างหรือบุคคลที่จะต้องติดต่อประสานงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยจะช่วยทำให้การทำงานร่วมกันมีความสุขเป็นการสร้างมิตรภาพที่ดีต่อกันกับคนในชุมชนอย่างยั่งยืนทำให้เกิดผลเป็นที่รักของทุกคน

               องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย คือ “ PTTFCTTD = GOOD POLICE MODEL ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาจริยธรรมของข้าราชการตำรวจและเป็นประโยชน์ต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ทำให้การพัฒนาจริยธรรมของข้าราชการตำรวจเกิดผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณค่า  ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕