หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูนนทมงคลวิศิษฐ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๘ ครั้ง
บทบาทของพระสังฆาธิการต่อการพัฒนาสังคม ในจังหวัดนนทบุรี (การพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูนนทมงคลวิศิษฐ์ ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  ดร.ทรงวิทย์ แก้วศรี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสังฆาธิการต่อการพัฒนาสังคมในจังหวัดนนทบุรี ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบบทบาทของพระสังฆาธิการต่อการพัฒนาสังคมในจังหวัดนนทบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  ๓) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะบทบาทของพระสังฆาธิการต่อการพัฒนาสังคมในจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ พระสังฆาธิการในจังหวัดนนทบุรี จำนวน  ๒๒๐ รูป จากนั้นเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซีและมอร์แกน (R. V. Krejcie and D.W. Morgan, ๑๙๗๐) ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ๑๔๒ คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ   ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าเอฟ ( F – test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) โดยใช้โปรแกรมสถิติสําเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล 

ผลการวิจัยพบว่า
๑. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง ๔๖ – ๖๐ ปี มีพรรษา ๒๑-๓๐ พรรษา ระยะเวลาที่จำพรรษาภายในวัดมากกว่า ๑๖ ปีขึ้นไป มีวุฒิการศึกษาทางธรรมจบนักธรรมเอก ส่วนใหญ่ไม่มีวุฒิการศึกษาทางการเปรียญธรรม ส่วนวุฒิการศึกษาสามัญศึกษาจบมัธยมศึกษาตอนต้น ตำแหน่งทางคณะสงฆ์ คือ เป็นรองเจ้าอาวาสหรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสมากที่สุด
๒. บทบาทของพระสังฆาธิการต่อการพัฒนาสังคมภาพรวมอยู่ในระดับมาก ในทั้ง ๕ ด้าน ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรมและด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านเศรษฐกิจและด้านสาธารณสุข ในระดับปานกลาง  ผลการเปรียบเทียบบทบาทของพระสังฆาธิการต่อการพัฒนาสังคมในจังหวัดนนทบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พระสังฆาธิการที่มีอายุ พรรษา ระยะเวลาที่จำพรรษา ระดับการศึกษาและตำแหน่งทางคณะสงฆ์ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
๓. ปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะบทบาทของพระสังฆาธิการต่อการพัฒนาสังคม ด้านสังคม: ขาดงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง, ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ทำด้วยใจและไม่หวังผลตอบแทน ด้านเศรษฐกิจ: ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ด้านเศรษฐกิจแบบบูรณาการ และควรมีกองทุนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจในชุมชน ด้านวัฒนธรรม : ในปัจจุบันวัฒนธรรมในท้องถิ่นกำลังถูกทำลายด้วยการพัฒนาเป็นสังคมเมือง  ทำให้ประชาชนมีปัญหาสุขภาพจิตมีมากขึ้น ด้านสาธารณสุข: ในปัจจุบันสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงทำให้ยุงและแมลงที่เป็นพาหะนำโรคเพิ่มจำนวนมากขึ้น เชื้อโรคที่ปนเปื้อนในน้ำและอาหารมีการเพิ่มจำนวนได้รวดเร็วขึ้น  และด้านสิ่งแวดล้อม: ประชาชนขาดจิตสำนึกและไม่เข้าใจการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และประชาชนไม่ค่อยสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม 
 

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕