เข้าชม : ๒๐๐๓๑ ครั้ง |
การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวคิดเรื่องมิจฉาทิฎฐิในพระพุทธศาสนาเถรวาท(๒๕๔๔) |
|
ชื่อผู้วิจัย : |
นางสาวนงเยาว์ หนูไชยะ ณ กาฬสินธุ์ |
ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๘/๒๐๑๐ |
ปริญญา : |
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา) |
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : |
|
พระมหาเทียบ สิริญาโณ |
|
รศ.ดร.จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ |
|
ผศ.ร.ท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ |
วันสำเร็จการศึกษา : |
๒๙ กันยายน ๒๕๔๔ |
|
บทคัดย่อ |
การศึกษาวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อจะศึกษาถึงแนวคิดเรื่องมิจฉาทิฎฐิที่ปรากฎ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท กรณีตัวอย่างบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฎฐิในสมัยพุทธกาล และแนวคิดมิจฉาทิฎฐิของพุทธศาสนิกชนไทยในสมัยปัจจุบัน ตลอดทั้งแนวทางแก้ไข
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research)
โดยผุ้วิจัยได้แบ่งการศึกษาออกเป็น ๕ บท และในแต่ละบทนั้น มีเนื้อหาหลัก ดังนี้
บทที่ ๑ บทนำ
บทที่ ๒ ศึกษาแนวคิดเรื่องมิจฉาทิฎฐิ
บทที่ ๓ ศึกษาวิเคราะห์กรณีตัวอย่างมิจฉาทิฎฐิในสมัยพุทธกาล
บทที่ ๔ ศึกษาวิเคราะหืมิจฉาทิฎฐิของพุทธศาสนิกชนไทยในสมัยปัจจุบันในประเด็นความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม เรื่อง โอปปาติกะ เรื่องสังสารวัฎและบทสัมภาษณ์นักวิชาการทางศาสนาในประเด็นดังกล่าว รวมทั้งแนวทางแก้ไข
บทที่ ๕ สรุปผลของการวิจัยและข้อเสนอแนะ
จากการวิจัยพบว่า ในกรรมบถ ๑๐ ทิฎฐิถูกจัดเข้าในฝ่ายมโนกรรมซึ่งเป็น กรรมที่สำคัญและมีผลที่ร้ายแรงที่สุดยิ่งกว่ากายกรรมและวจีกรรม เพราะเป้นตัวบันดาล กายกรรมและวจีกรรมอยู่เบื้องหลังอีกชั้นหนึ่ง สามารถนำชีวิตและสังคม หรือมนุษย์ชาติ ทั้งหมด ไปสู่ความเจริญงอกงาม ความหลุดพ้น หรือนำไปสู่ความเสี่อม ความพินาศก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากความเห็นนั้นเป็นมิจฉาทิฎฐิ ย่อมมีผลร้ายต่อตนเองและผู้อื่นทั้งในชาตินี้และชาติหน้า
Download : 254403.pdf
|
|
|