หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พิมพ์ใจ รอดเมือง
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๙ ครั้ง
การบริหารจัดการการประชาสัมพันธ์ของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรดจังหวัดจันทบุรี (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พิมพ์ใจ รอดเมือง ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ, รศ.
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการการประชาสัมพันธ์ของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด จังหวัดจันทบุรี ๒) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการการประชาสัมพันธ์ของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรดจังหวัด จันทบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขการบริหารจัดการการประชาสัมพันธ์ของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรดจังหวัดจันทบุรี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Research Method) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือประชาชนที่มีอายุน้อยกว่า ๒๐ ปี โดยเลือกประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลพลับพลา อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี จำนวน ๓๗๕ คน จากจำนวนประชากร ๕,๙๖๑ คน  โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยเพื่อบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที (t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบ

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
๑) การบริหารจัดการการประชาสัมพันธ์ของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรดจังหวัดจันทบุรี ประชาชนมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๖๘) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือด้านนโยบาย และการจัดการ ( = ๓.๗๑) ด้านการติดตามนโยบาย ( = ๓.๖๘) ด้านการควบคุมงบประมาณ         ( = ๓.๖๘) และด้านพัฒนาองค์กร และบุคลากร ( = ๓.๖๔)
๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารจัดการการประชาสัมพันธ์ของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรดจังหวัดจันทบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการการประชาสัมพันธ์ของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรดจังหวัดจันทบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ส่วนประชาชนที่มีอาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการการประชาสัมพันธ์ของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรดจังหวัดจันทบุรี ไม่แตกต่างกัน 
๓) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการการประชาสัมพันธ์ของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรดจังหวัดจันทบุรี พบว่า ผู้บริหารศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรดควรมีการวางแผนนโยบายปฏิบัติการประชาสัมพันธ์ให้มีความน่าสนใจ มีแผนการประชาสัมพันธ์ที่ชัดเจน ผู้บริหารศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด ควรมีพัฒนาความรู้ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม ให้กับบุคลากร ส่งเสริมให้บุคลากรมีประสบการณ์ในการประชาสัมพันธ์ เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไปและเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับหน่วยงานต่อไป ผู้บริหารศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด ควรมีการดำเนินการตามเป้าหมาย ปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยมีการวิเคราะห์ ปัญหา ข้อดี ข้อเสีย ควบคุม ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานการประชาสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง  ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด ควรมีการจัดสรรงบประมาณอย่างเหมาะสม ส่งเสริมการผลิตสื่อที่มีอยู่และใช้การร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ช่วยประชาสัมพันธ์ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ ให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด

ดาวน์โหลด 

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕