หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวราวุฒิ มหาวโร(ถาวะโร)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๔ ครั้ง
การปฏิบัติงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล เขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระวราวุฒิ มหาวโร(ถาวะโร) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผ.ศ. ดร.บุรินทร์ ภู่สกุล
  ดร.ปัญญา คล้ายเดช
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑ ธันวาคม ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชนในเขตตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด (๒) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ตามความคิดเห็นของประชาชน (๓) เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ตามความคิดเห็นของประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน (๔) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรีจังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม(Mixed Method)โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ(Survey Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก(In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ(Key Informants) ภายในองค์การบริหารส่วนตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนที่มีอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในตำบลเขวาทุ่งอำเภอธวัชบุรีจังหวัดร้อยเอ็ดจำนวน ๓๒๗คน ซึ่งได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครซี่(Krejcie) และมอร์แกน(Moregan)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม(Questionnaire) และแบบสัมภาษณ์(Interview) ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการบูรณาการหลักการปฏิบัติงานกับหลักทศพิธราชธรรม มีความเชื่อมั่น เท่ากับ ๐.๙๔๘วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที(t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of variance) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญที่น้อยที่สุด(Least Significant Difference : LSD.)  ผลการวิจัยสามารถนำมาแสดงตามลำดับดังนี้

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ประชาชนในเขตตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ ๕๒.๙ มีอายุอยู่ระหว่าง ๓๑-๔๕ ปี และ ๔๖- ๖๐ ปี คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๖ทั้งสองช่วงอายุมีการศึกษาต่ำกว่ามัธยมปลาย คิดเป็นร้อยละ ๕๔.๔ มีสถานะแต่งงาน คิดเป็นร้อยละ ๖๕.๗ มีอาชีพเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ ๖๖.๑

๒. การปฏิบัติงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลเขวาทุ่งอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ตามความคิดเห็นของประชาชน โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ((X ) ̅= ๒.๙๗) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่าการปฏิบัติงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ตามความคิดเห็นของประชาชน อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยได้ดังนี้ คือ ด้านอวิหิงสา (X ̅= ๓.๐๖) ด้านอวิโรธนะ (X ̅= ๓.๐๕) ด้านมัททวะ(X ̅= ๓.๐๒) ด้านอักโกธะ(X ̅= ๓.๐๒) ด้านขันติ(X ̅= ๓.๐๑) ด้านอาชชวะ(X ̅= ๒.๙๗) ด้านตปะ(X ̅= ๒.๙๑) ด้านปริจาคะ(X ̅= ๒.๘๙) ด้านทาน(X ̅= ๒.๘๘) ด้านศีล(X ̅= ๒.๘๗) ตามลำดับ

๓. ประชาชนที่มี สถานะต่างกันมีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด แตกต่างกันจึงเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ไม่แตกต่างกันจึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

๔. แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรีจังหวัดร้อยเอ็ดคือ ในการให้ซึ่งต้องไม่หวังสิ่งตอบแทน จะต้องมีความต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เพื่อนร่วมงานและประชาชน ให้กำลังใจ ให้ความรัก ให้อภัยแก่เพื่อนร่วมงานและประชาชนมีระเบียบวินัยปฏิบัติงานตามระเบียบอย่างเคร่งครัด ระมัดระวังควบคุมตนเอง รู้จักบริหารคน บริหารงาน ให้เกิดประสิทธิภาพ มีความประพฤติที่ดีงาม ทั้งกาย วาจาใจต้องรู้จักเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อส่วนรวม ซื่อตรง ไม่คดโกง มีความนอบน้อม ถ่อมตน ติดดิน เพื่อให้พี่น้องประชาชนเข้าหาได้ทุกเมื่อ บริหารงานด้วยความอ่อนโยน มีอัธยาศัยที่อ่อนโยน ไม่หยาบคาย ไม่แข็งกระด้าง ผู้บริหารต้องมีความพรากเพียร คือ ต้องพยายามเอาชนะปัญหาอุปสรรคในการบริหารงานทุกรูปแบบบริหารงานด้วยความสุข สงบ เยือกเย็น เห็นตน เห็นคน เห็นงาน เห็นบ้านเมือง บริหารงานโดยไม่ใช้อารมณ์โกรธเข้ามาครอบงำตนเอง ต้องไม่มีความโกรธเกิดขึ้นในการบริหารงานบริหารงานต้องมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เคารพในกฎหมาย มีความเท่าเทียมกันและความเสมอภาค ต้องไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นบริหารงานด้วยความอดทนมีขันติ และความเสงี่ยม เจียมตัวอยู่เสมอ เพื่อพี่น้องประชาชนจึงต้องบริหารงานด้วยความอดทนต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ปฏิบัติงานอย่างเต็มที่บริหารงานด้วยความเที่ยงธรรม หนักแน่น ความถูกต้องโดยมีความเที่ยงธรรมเป็นหลัก บริหารงานด้วยความหนักแน่นกล้าตัดสินใจ และไม่เอนเอียงและแบ่งพรรคแบ่งพวก

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕