หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาพนมกรณ์ ฐิตเมธี (นามราชา)
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๗ ครั้ง
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักเรียนในโรงเรียน การกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษาโรงเรียนธรรมราช ศึกษา จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาพนมกรณ์ ฐิตเมธี (นามราชา) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๗/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาดวงจันทร์ คุตฺตสีโล
  ไพฑูรย์ รื่นสัตย์
  ไฉไลฤดี ยุวนศิริ
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักเรียนในโรงเรียนธรรมราชศึกษา และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ      การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักเรียนในโรงเรียนธรรมราชศึกษา โดยใช้แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่  นักเรียนโรงเรียนธรรมราชศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

             ผลการวิจัยพบว่า

    ๑. กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่ ได้แก่ นักเรียนบรรพชิต คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๙๗ นักเรียนคฤหัสถ์ คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๐๓

         ๒.  ระดับแรงจูงใจ ในการตัดสินใจเข้ามาศึกษาต่อในโรงเรียนธรรมราชศึกษา โดย การจำแนกตามสถานภาพของนักเรียนบรรพชิต  พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๘๖ และด้านสถานภาพของนักเรียนคฤหัสถ์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๔๘

             ระดับแรงจูงใจ ในการตัดสินใจเข้ามาศึกษาต่อในโรงเรียนธรรมราชศึกษา โดยการจำแนกตามระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๗๖ และด้านระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๖๔

       ๓.  การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับแรงจูงใจ ในการตัดสินใจเข้ามาศึกษาต่อในโรงเรียนธรรมราชศึกษาโดยการจำแนกตามสถานภาพของนักเรียนบรรพชิตและคฤหัสถ์ โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ส่วนการเปรียบเทียบเป็นรายด้าน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ จำนวน ๕ รายการ ได้แก่ ด้านศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา ด้านสวัสดิการ ด้านชื่อเสียงของโรงเรียนเป็นที่ยอมรับจากสังคม ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และด้านลักษณะอันพึงประสงค์

             ส่วนผลการวิเคราะห์ การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแรงจูงใจในการตัดสินใจเข้ามาศึกษาต่อในโรงเรียนธรรมราชศึกษาโดยการจำแนกตามระดับชั้นที่กำลังศึกษาอยู่โดยภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ส่วนการเปรียบเทียบเป็นรายด้าน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ จำนวน ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา ด้านสวัสดิการ และด้านชื่อเสียงของโรงเรียนเป็นที่ยอมรับจากสังคม

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕