เข้าชม : ๒๐๐๑๗ ครั้ง |
ความเป็นกัลยาณมิตรของผู้ประเมินภายนอกตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร(๒๕๔๘) |
|
ชื่อผู้วิจัย : |
นางสาววิไลรัตน์ พฤกษาภิรมย์ |
ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๘/๒๐๑๐ |
ปริญญา : |
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา) |
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : |
|
พระสุธีธรรมานุวัตร |
|
รองศาสตราจารย์ ดร.วิชัย วงษ์ใหญ่ |
|
พ.อ.ดร.วีระ วงศ์สรรค์ |
วันสำเร็จการศึกษา : |
22 กุมภาพันธ์ 2548 |
|
บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจและวิจัยเชิงวิเคราะห์เอกสาร ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และเพื่อศึกษาความเป็นกัลยาณมิตรของ ผู้ประเมินภายนอก ตามความคิดเห็นและความคาดหวังของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลกับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 50 เขต เขตละ 1 โรงเรียน โรงเรียนละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 200 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนร้อยละ 100 มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิม เลขคณิต (X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที (t-test) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS/PC เพื่อหาระดับความคิดเห็น ความคาดหวัง และการเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า
หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับความเป็นกัลยาณมิตร คือ การคบมิตรแท้ มิตรเทียม การคบบัณฑิต กัลยาณมิตตธรรม พรหมวิหารธรรม สัปปุริสธรรม สังคหวัตถุ และโยนิโสมนสิการผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร มีความคิดเห็นว่า สถานศึกษามีความ รู้สึกเครียดก่อนการประเมินภายนอก ร้อยละ 80 ระหว่างการประเมินภายนอกมีความรู้สึกสบายใจ เข้าใจบทบาทของผู้ประเมินภายนอก ร้อยละ 95 และหลังการประเมินภายนอกมีความเข้าใจสบายใจและได้รับประโยชน์จากการให้คำแนะนำของผู้ประเมินภายนอก ร้อยละ 98 โดยผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 100 ให้ความสำคัญด้านวัยวุฒิของผู้ประเมินภายนอก และต้องมีความรู้ มีประสบการณ์ทางการศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีขึ้นไป ผู้บริหารสถานศึกษามีความคาดหวัง และความคิดเห็นต่อตัวผู้ประเมินภายนอกในความเป็นกัลยาณมิตรอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคาดหวังกับความคิดเห็นต่อตัวผู้ประเมินภายนอกพบว่าไม่แตกต่างกันทุกด้าน ยกเว้น 3 รายการ ได้แก่ 1. การเขียนรายงานให้ตรงสภาพจริง และชัดเจนเข้าใจง่าย 2. รู้สึกสบายใจอยากสนทนาหรือไต่ถามด้วย 3. เมื่อผู้ประเมินจากไปรู้สึกระลึกถึงด้วยความประทับใจ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Download : 254808.pdf |
|
|