หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สุธาเนศ เพชรโปรี
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๐ ครั้ง
ทัศนคติด้านการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการบริหารการศึกษา โดยการสื่อสารยุคใหม่ : กรณีศึกษา ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : สุธาเนศ เพชรโปรี ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๙/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ
  สมชัย ศรีนอก
  พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติด้านการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อการบริหารการศึกษาโดยการสื่อสารยุคใหม่ : กรณีศึกษาภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาศิลปากร โดยกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ เพื่อศึกษาทัศนคติด้านการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการบริหารการศึกษา ศึกษาแนวทางในการพัฒนา ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์  ประชาการของการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารและคณาจารย์ จนวน ๑๕ คน และนักศึกษา ชั้นปีที่ ๑-๔ จนวน ๑๙๕ คน  รวมทั้งหมด ๒๑๐ คน โดย มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๑๓๖ ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน ๑๓๖ คน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง ๑๗--๓๐ ปี เป็นนักศึกษา ปีที่ ๔ ระดับปริญญาตรี  มีความรู้และประสบการณ์จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากตำราและเอกสารต่าง ๆ

๒. สภาพการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีระยะเวลาที่ใช้มากกว่า ๑ ปีขึ้นไป สาเหตุที่ใช้ คือ เห็นความสำคัญของการติดต่อ สื่อสารในสังคมออนไลน์เพื่อศึกษา  สถานที่ใช้ คือภาควิชา ช่วงเวลาที่ใช้คือ ๑๒.๐๑ น. ๑๖.๓๐ น. ความถี่ในการใช้ คือ ตั้งแต่ ๗ ครั้งขึ้นไปหล่งข้อมูลที่ใช้  คือ ภายนอกประเทศ  ลักษณะการใช้ คือใช้ด้วยตนเองจนชำนาญ  การเรียนรู้ทักษะพื้นฐานในการใช้ คือ สอบถามจากเพื่อน และ ผู้เชี่ยวชาญ เว็บไซด์เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ใช้เพื่อการศึกษา โดยส่วนใหญ่คือ  Facebook

๓.ทัศนคติการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการศึกษา พบว่า ทัศนคติของผู้บริหาร คณาจารย์และนักศึกษา ต่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้านและทุกข้อคำถาม เมื่อพิจารณาพบว่า ด้านวัสดุอุปกรณ์ ส่วนใหญ่ต้องการให้มหาวิทยาลัยมีระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูง รองลงมา ต้องการให้มีอุปกรณ์ Multimedia พร้อมสำหรับใช้ในการเรียนการสอน และต้องการให้มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยมากเพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้ ด้านลักษณะการใช้งาน ต้องการให้สามารถเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว สามารถใช้อินเทอร์เน็ตในบริเวณที่พักของมหาวิทยาลัยได้ และไม่มีเหตุขัดข้องในระบบขณะใช้งาน  การใช้บริการต่าง ๆ ส่วนใหญ่ต้องการให้เพิ่มความเร็วในการใช้บริการ ต่าง ๆ  รองลงมาสามารถใช้บริการใหม่ ๆ ได้ทุกบริการที่มีอยู่บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ด้านการใช้ติดต่อสื่อสารเพื่อการศึกษาใช้การสืบค้นข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศ  รองลงมาใช้รับและส่งผลงานกับอาจารย์ผู้สอนในวิชาต่าง ๆ ซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับบทเรียนและข้อมูลทางการศึกษากับอาจารย์และผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านการค้นคว้าวิจัยทางการศึกษา ส่วนใหญ่ปรึกษา  และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิจัย ใช้การสืบค้นข้อมูล เพื่อนำมาใช้  ในการวิจัย ถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลประเภทต่าง ๆ มาใช้ในการวิจัย เช่น บทความทางวิชาการข้อมูลทางสถิติ รายงานการวิจัย และโปรแกรมต่าง ๆ ฯลฯ ด้านการเรียน ส่วนใหญ่ใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนในชั้นเรียน รองลงมาเรียนรู้ด้วยตนเองและใช้ Internet Course  ในการเรียนรายวิชาต่าง ๆ และด้านการเสริมความรู้ ส่วนใหญ่ค้นคว้าด้วยตนเอง เพื่อใช้ประกอบการเรียน รองลงมาใช้การอ่านวารสารบนเครือข่ายของมหาวิทยาลัย และบริการจากห้องสมุด 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕