หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ศิวาพร ศรีศักดินันท์
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๓ ครั้ง
รูปแบบการเสริมสร้างจริยธรรมการสื่อสารเชิงพุทธ ทางสื่อออนไลน์ ของสื่อมวลชนไทย (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ศิวาพร ศรีศักดินันท์ ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๑/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สุรพล สุยะพรหม
  ปัญญา คล้ายเดช
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

 การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษาแนวคิดทฤษฎี เกี่ยวกับจริยธรรมการสื่อสารเชิงพุทธ ทางสื่อออนไลน์ (๒) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ผลกระทบ และการเสริมสร้างจริยธรรม การสื่อสารเชิงพุทธทางสื่อออนไลน์ของสื่อมวลชนไทย (๓) เพื่อนาเสนอรูปแบบการเสริมสร้างจริยธรรมการสื่อสารเชิงพุทธ ทางสื่อออนไลน์ของสื่อมวลชนไทย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) สัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interviews) จากผู้ให้ข้อมูลสาคัญ (Key Informants) ๕ กลุ่มคัดเลือกโดยวิธีเจาะจง ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรสื่อภาครัฐ ผู้ควบคุมการใช้สื่อออนไลน์ นักวิชาการ สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป รวมทั้งสิ้น ๓๐ คน ผู้วิจัยนาข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกมาวิเคราะห์ตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (induction) หาความเชื่อมโยงของปรากฏการณ์ต่างๆ วัดค่าตัวบ่งชี้สภาพปัญหาเพื่อสร้างรูปแบบที่ต้องการ นาเสนอรูปแบบต่อผู้เชี่ยวชาญ และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) จานวน ๑๒ รูป/คน คัดเลือกแบบเจาะจงได้แก่ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนา ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารมวลชน และผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย
ผลการวิจัยพบว่า
๑) จริยธรรมการสื่อสารเชิงพุทธ เป็นการสื่อสารที่ถูกต้อง ดีงาม ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น การสื่อสารเชิงพุทธ ประกอบด้วย การสื่อสารกับบุคคลภายนอก (ปรโตโฆสะ) ได้แก่ เสียงจากผู้อื่น คือ “กุศลมูลและอกุศลมูล” และการสื่อสารภายในตนเอง (โยนิโสมนสิการ) ได้แก่ การสื่อสารผ่านกระบวนการทางจิตใจโดยมีสัมมาทิฏฐิเป็นจุดเริ่มต้น หลักการที่สาคัญของจริยธรรมการสื่อสารเชิงพุทธ คือ กระบวนการสร้างปัญญา คิดถูกวิธี ประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา องค์ประกอบที่สาคัญของการสื่อสารเชิงพุทธ ได้แก่ การฟัง การคิด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการประพฤติปฏิบัติ และพบว่า สื่อออนไลน์เป็นตัวกาหนดรูปแบบการสื่อสารของมนุษย์ในปัจจุบัน เป็นสื่อที่เอื้อให้ผู้ส่งสาร และผู้รับสารทาหน้าที่รับและส่งสารได้พร้อมกัน เป็นการสื่อสารสองทาง สื่อสารได้ทั้งภาพ เสียง และข้อความต่างๆโดยรวมเอาเทคโนโลยีของสื่อดั้งเดิมเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ตเครือข่ายระดับโลก จริยธรรมการสื่อสารเชิงพุทธทางสื่อออนไลน์ จึงหมายถึง “วิธีการคิดที่ก่อให้เกิดปัญญาและการประพฤติปฏิบัติด้วยสานึกในธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคมโลก”
๒) ในช่วงเดือน ตุลาคม ๒๕๕๖ - เดือน พฤษภาคม ๒๕๕๗ ซึ่งเป็นช่วงของความไม่ปกติทางการเมือง เกิด“สงครามข้อมูลข่าวสาร”จากโลกออนไลน์ เกิดความวุ่นวายในสังคมอย่างรุนแรง สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นแบ่งออกเป็น ๔ ด้านประกอบด้วย๑) ด้านทัศนคติ “Hate speech” คาพูดรุนแรง ๒) ด้านความเชื่อ ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับ“ข่าวลือ ข่าวเท็จ”เกิดจากสื่อมวลชนบิดเบือนข้อมูลข่าวสารและใส่ความคิดเห็นส่วนตัวมากเกินไป ๓) ด้านความต้องการทางเศรษฐกิจ เป็นเพราะสื่อมวลชนส่วนใหญ่คาดหวังผลประโยชน์ทางธุรกิจมากเกินไป ๔) ด้านโครงสร้างทางสังคม เป็นเพราะความเหลื่อมล้าทางสังคม สาเหตุเกิดจาก ๑).ปัจจัยภายนอกได้แก่ ความรวดเร็วของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โครงสร้างทางสังคม กฎหมาย การใช้อานาจหน้าที่เกินความพอดี และ ๒).สาเหตุปัจจัยภายใน ได้แก่ ความเกลียดชัง ความโลภ ความโกรธ ความหลง การยึดมั่น และขาดความยั้งคิด ผลกระทบจากการสื่อสารออนไลน์ เกิดผลกระทบทั้งบุคคลและสังคม ก่อให้เกิด “ความทุกข์” การเสริมสร้างจริยธรรมการสื่อสารเชิงพุทธทางสื่อออนไลน์ ประกอบด้วย ๑).ปัจจัยภายนอกหรือ ปรโตโฆสะ (อกุศลมูล) แก้ไขโดยกัลยาณมิตร ๒).ปัจจัยภายใน หรือ อโยนิโสมนสิการ (กิเลสและทิฏฐิ) แก้ไขโดยระเบียบวิธีคิดแบบ โยนิโสมนสิการ
๓) องค์ความรู้ที่ได้รับจากการวิจัย พบว่า มีรูปแบบการเสริมสร้างจริยธรรมการสื่อสารเชิงพุทธ ๒ รูปแบบ ได้แก่ (๑) การสื่อสารกับบุคคลภายนอก (ปรโตโฆสะ) และ (๒) การสื่อสารภายในตนเอง (โยนิโสมนสิการ) เมื่อสื่อมวลชนเป็นผู้ส่งสารการสื่อสารกับบุคคลภายนอกควรยึดถือกัลยาณมิตร พูดเชิงบวก เขียนหรือพิมพ์ในสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม เช่น การใช้สื่อออนไลน์ของสื่อมวลชนควรผ่านกระบวนการสื่อสารภายในจิตใจ โดยใช้หลัก“ไตรสิกขา”ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา และ อริยสัจจ์ ๔ เพื่อเป็นการรู้เท่าทันสื่อ รู้เท่าทันความทุกข์ เมื่อสื่อมวลชนเป็นผู้รับสารควรใช้วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ คิดใคร่ครวญอย่างแยบคายพร้อมด้วย กาลามสูตร หลักความเชื่อ ๑๐ ประการ ไม่เชื่อทันทีที่พบเห็นข่าวสารมีการยับยั้งชั่งใจและ เป็นการดาเนินชีวิตในทางสายกลางซึ่งมนุษย์ทุกคนยังไม่สามารถละกิเลสได้ทั้งหมด เป็นการพัฒนาทางจิตใจเพื่อส่งเสริมให้เกิดการประพฤติปฏิบัติตามหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง เป็นกลาง เหมาะสมและดีงาม สื่อมวลชนควรใช้สติในการพูด การพิมพ์ หรือการโพสต์ข้อความรวมทั้งภาพและเสียง ตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสังคมโดยยึดหลักจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเป็นสาคัญ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕