หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » จักรวาล สุขไมตรี
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๘ ครั้ง
รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวพุทธจริยธรรมระดับอุดมศึกษา (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์))
ชื่อผู้วิจัย : จักรวาล สุขไมตรี ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๑/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สุรพล สุยะพรหม
  โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักพุทธธรรมที่สอดคล้องกับจริยธรรมที่เหมาะสมสาหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษา (๒) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคการดาเนินการด้านจริยธรรมของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา (๓) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวพุทธจริยธรรมระดับอุดมศึกษาระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลด้วย ๒ ขั้นตอน คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยกาหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก จานวน ๓๐ รูป/คน เลือกแบบเจาะจง จากผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้างเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัยและพรรณนาความ และจากการสนทนากลุ่ม โดยเลือกผู้ร่วมสนทนากลุ่มเฉพาะจานวน ๑๐ คน เลือกแบบเจาะจงจากผู้ทรงคุณวุฒิและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ หัวข้อสนทนาที่พัฒนาจากข้อมูลที่ได้ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยอุปนัยวิเคราะห์และการพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า
(๑) แนวคิด ทฤษฎี และหลักพุทธธรรมที่สอดคล้องกับจริยธรรมที่เหมาะสมสาหรับ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษา พบว่า ๑) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนการคิดและการประพฤติปฏิบัติของมนุษย์ให้มีความเจริญขึ้นทั้งในเรื่องของความรู้ ทักษะ ความสามารถ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลต่อในการพัฒนาตนเอง องค์การ สังคม ซึ่งกระบวนการวางแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่จะทาให้มนุษย์มีการพัฒนาตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ให้การศึกษา ให้การฝึกอบรม และให้การพัฒนา อย่างไรก็ตามก็ต้องพิจารณา ถึงแรงจูงใจภายในตัวของมนุษย์เป็นสิ่งสาคัญ ซึ่งแรงจูงใจที่สามารถส่งเสริม สนับสนุนให้เกิด การพัฒนานักศึกษาระดับอุดมศึกษาให้มีพฤติกรรมการปฏิบัติที่ดีงาม ถูกต้อง มีอยู่ ๕ ประการ คือ ๑ การศึกษา๒ ครอบครัว ๓ การให้รางวัล ๔ ค่านิยม และ ๕ ความเชื่อทางศาสนา แต่กระนั้นก็ตามสภาพแวดล้อมรอบตัวของนักศึกษา ไม่ว่าจะเป็นสภาพสังคม สภาพเศรษฐกิจ สื่อต่าง ๆ ก็มีผล อย่างมากต่อแรงจูงใจของนักศึกษาเช่นกัน ๒ ) พื้นฐานการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีความแตกต่างกันย่อมมีผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง ดีงาม ซึ่งมีอยู่ ๔ ประการ คือ ๑ ครอบครัว ๒ สถาบันการศึกษา ๓ กลุ่มเพื่อน และ ๔ สภาพแวดล้อมรอบตัวนักศึกษา ๓) หลักธรรมทางพุทธศาสนาเป็นหลักให้มนุษย์มีวิถีทางในการดาเนินชีวิต ประพฤติปฏิบัติในสิ่ง ที่ถูกต้อง มีจริยธรรมที่ดีงาม โดยหลักธรรมที่มีความสอดคล้องกับจริยธรรมในการพัฒนานักศึกษาระดับอุดมศึกษา คือ หลักกุศลกรรมบถ ๑๐ เพราะเป็นหลักธรรมที่เป็นพื้นฐานของชีวิต ถ้าประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีก็จะเกิดสิ่งที่ดี คือ ๑ กายสุจริต ๓ ได้แก่ไม่ทาให้ชีวิตสัตว์ตกล่วง ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ๒ วจีสุจริต ๔ ได้แก่ เว้นจากการพูดเท็จเว้นจากการพูดส่อเสียด เว้นจาก การพูดคาหยาบ เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ และ ๓ มโนสุจริต ๓ ได้แก่ไม่โลภอยากได้ของคนอื่น ไม่คิดอาฆาตพยาบาทปองร้าย มีปัญญาอันเห็นชอบ เข้าใจอันถูกต้องที่ทาให้เกิดการกระทาอันถูกต้อง
(๒) สภาพปัญหาและอุปสรรคการดาเนินการด้านจริยธรรมของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา พบว่า เกิดจากตัวของนักศึกษาเป็นสาคัญ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น ๓ ด้าน คือ ๑) ปัญหาด้านจริยธรรมทางกาย ซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับการประพฤติ การปฏิบัติ การแสดงออกด้วยการกระทาที่สามารถพบเห็นได้อย่างชัดแจ้ง ขาดการคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนการปฏิบัติ ๒) ปัญหาด้านจริยธรรมทางวาจา เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้คาพูดในการสื่อสาร หรือการใช้วาจา ในการดาเนินชีวิต โดยขาดการคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนที่จะพูดหรือใช้วาจา และ ๓) ปัญหาด้านจริยธรรมทางใจ เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ความคิดให้รู้ว่าสิ่งใดถูกต้อง ควรกระทา หรือสิ่งใดไม่ถูกต้องไม่ควรกระทา
(๓) รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวพุทธจริยธรรมระดับอุดมศึกษา โดยนาหลักกุศลกรรมบถ ๑๐ มาปรับประยุกต์ใช้ สามารถ แบ่งได้เป็น ๓ รูปแบบ คือ ๑) รูปแบบด้านการให้การศึกษา โดยจัดการศึกษา จัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาระดับอุดมศึกษามีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานในแนวทางประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม เช่น การสังเกตจาก สภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สถานการณ์จาลอง การแสดงบทบาทสมมติ การสาธิตและนาหลักธรรม ทางพุทธศาสนาเข้ามาบูรณาการสอดแทรกในการจัดการเรียนการสอน ๒) รูปแบบด้านการฝึกอบรมสั่งสอน โดยฝึกอบรมจัดการเรียนรู้ให้นักศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างเป็นระบบ โดยให้มีความรู้ มี เพิ่มขึ้น ปรับเปลี่ยนแนวคิด และพฤติกรรมให้ดีขึ้น เช่น ยกเป็นกรณีศึกษา ชมภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ ทัศนศึกษา และนาทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน มาฝึกอบรมนักศึกษาให้ซึมซับในจิตใจ และเกิด การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนนาหลักธรรมทางพุทธศาสนามาเป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการดาเนินชีวิตประจาวันให้ถูกต้อง เพื่อให้เป็นบุคคลที่มีความสมบูรณ์ทั้งกาย วาจา จิตใจ ๓) รูปแบบด้านการพัฒนา โดยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้นักศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้สึก อารมณ์ ความคิด การตัดสินใจ และพฤติกรรมให้มีความเจริญขึ้น ตลอดจนนาหลักธรรมทางพุทธศาสนา มาบูรณาการในการพัฒนาการประพฤติปฏิบัติตัวของนักศึกษาไปในสิ่งที่ถูกต้อง

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕