หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวีระพงศ์ วีรวํสธารี (เกียรติไพรยศ)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๐ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักมนุษยสัมพันธ์เชิงพุทธในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย(พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์))
ชื่อผู้วิจัย : พระวีระพงศ์ วีรวํสธารี (เกียรติไพรยศ) ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๑๑/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  เติมศักดิ์ ทองอินทร์
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2557
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการประยุกต์ใช้หลักมนุษยสัมพันธ์เชิงพุทธในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย๒) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักมนุษยสัมพันธ์เชิงพุทธในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการประยุกต์ใช้หลักมนุษยสัมพันธ์เชิงพุทธในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้สำรวจกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ บุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย จำนวน ๑๔๒ คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด ๒๑๙ คน ซึ่งใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) และวิเคราะห์ข้อมูลโดย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักมนุษยสัมพันธ์เชิงพุทธในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย คือค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยเพื่อบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที (t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

 

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

บุคลากรมีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักมนุษยสัมพันธ์เชิงพุทธในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๖๗) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน คือ ด้านทาน ด้านปิยวาจา ด้านอัตถจริยา และด้านสมานัตตตา พบว่า บุคลากรมีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์เชิงพุทธในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย อยู่ในระดับมากทุกด้าน

ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการประยุกต์ใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์เชิงพุทธในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ การศึกษา อายุการทำงาน รายได้ต่อเดือน และสถานที่ทำงาน พบว่า บุคลากรที่มีอายุการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย และบุคลากรที่มีสถานที่ทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย สำหรับสถานภาพส่วนบุคคลที่เหลือไม่มีผลต่อความคิดเห็นของบุคลากร จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

ปัญหาและอุปสรรคต่อการประยุกต์ใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์เชิงพุทธในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย พบว่า ปัจจุบัน อบต. มีภารกิจรับผิดชอบมากขึ้น จึงมีหลายกอง หลายแผนก ซึ่งทำให้ขาดความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะมองว่ามิใช่หน้ารับผิดชอบของตน และยังขาดความสามัคคีเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม และมีการใช้ระบบอุปถัมภ์ จึงทำให้มีการใช้วาจาที่ไม่สุขภาพต่อเพื่อนร่วมงาน เพราะถือว่าตนมีความใกล้ชิดกับผู้บริหาร และผู้บริหารหรือหัวหน้าใช้วาจาที่ไม่ไพเราะต่อผู้ปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ไม่มีเวลาออกบำเพ็ญประโยชน์ เพราะต้องทำงานตามเวลาราชการความเต็มใจในการช่วยเหลืองานส่วนรวมยังมีน้อย

ข้อเสนอแนะต่อการประยุกต์ใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์เชิงพุทธในการบริหารงานขอองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย พบว่า ควรให้มีการอบรมเพื่อละลายพฤติกรรม ทัศนคติ และแนวคิดที่ไม่เกิดประโยชนต่อองค์กร และปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมเพื่อให้เกิดความสามัคคีในการทำงาน รวมถึงปรับความเข้าใจกันในองค์กร เพื่อให้บุคลากรช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำงาน โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดขององค์กรเป็นหลัก และควรมีการใช้วาจาที่สุภาพต่อเพื่อนร่วมงาน ควรจัดโครงการออกปฏิบัติงานนอกสถานที่ เพื่อให้เจ้าหน้าได้บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ และควรออกเป็นข้อบังคับ/ระเบียบ ในการปฏิบัติงานร่วมกันให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติงานร่วมกันอย่างสามัคคี

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕