หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสมปอง จนฺทธมฺโม (แซ่เฮง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๑ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์ภิกษุในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระสมปอง จนฺทธมฺโม (แซ่เฮง) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระอธิการเวียง กิตฺติวณฺโณ
  บรรจง โสดาดี
  -
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            วิทยานิพนธ์เรื่องการศึกษาวิเคราะห์ภิกษุในพระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นวิจัยเชิงเอกสารโดยมีวัตถุประสงค์    ประการ  คือ(๑)เพื่อศึกษาความเป็นมาของภิกษุในพระพุทธศาสนาเถรวาท   (๒)  เพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณลักษณะของภิกษุในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ(๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณค่าของภิกษุในพระพุทธศาสนาเถรวาทโดยการศึกษาจากเอกสารแล้วนำมาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า    ก่อนการเกิดขึ้นของภิกษุในพระพุทธศาสนาได้มีนักบวชในชมพูทวีปดำรงชีวิตแบบอิสระออกจากเรือนเพื่อแสวงหาสัจจะธรรมและได้เผยแผ่แนวคิดคำสอนของสำนักตนสู่สังคมโดยพึ่งพาอาศัยการอุปถัมภ์จากผู้อื่น   ภิกษุในพระพุทธศาสนานั้นพัฒนาต่อจากนักบวชอิสระในสังคมอารยันดั้งเดิมภายใต้วัฒนธรรมของพราหมณ์-ฮินดู  เดิมภิกษุในพุทธศาสนามีกลุ่มเดียวภายหลังได้พัฒนาออกเป็น    กลุ่มใหญ่คือ นิกายเถรวาท  และนิกายมหายาน        

            คุณลักษณะของภิกษุในพระพุทธศาสนาเถรวาท ดำรงชีวิตอยู่อย่างเรียบง่ายและสันโดษเข้มงวดในข้อวัตรปฏิบัติเพื่อความอิสระหลุดพ้น ส่วนภิกษุสายมหายานยึดมั่นในอุดมการณ์ของพระโพธิสัตว์   ลักษณะภายนอกของภิกษุเถรวาทในชีวิตส่วนตัวเน้นการปฏิบัติขัดเกลาตนเองให้เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยศีล     การดำรงชีวิตในกรอบของสงฆ์เน้นการดำรงชีวิตตามกรอบพระธรรมวินัย        และการดำรงชีวิตร่วมกับสังคมเน้นการดำรงชีวิตอยู่โดยอาศัยศรัทธาจากผู้นับถือ  เป็นกัลยาณมิตรที่ดี ลักษณะภายในของภิกษุเถรวาท  ภิกษุนั้นต้องเป็นผู้ที่ประกอบไปด้วย ศีล  สมาธิ  และปัญญา

คุณค่าของภิกษุในพระพุทธศาสนาเถรวาทวิเคราะห์ได้ว่า   การดำรงชีวิตเพื่อได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ถือเป็นคุณค่าแท้ส่วนการได้รับยกย่องเทิดทูนบูชาเป็นปูชนียบุคคลถือเป็นคุณค่าเทียมคุณค่าในมิติของศีลวิเคราะห์ได้ว่าด้านการปฏิบัติตนเองคือ การพัฒนาตนเองเพื่อเป็นผู้เลิศและประเสริฐ    ด้านเกี่ยวข้องกับสังคมเป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นที่พึ่งทางใจสร้างความสงบสุขสู่สังคม  คุณค่าในมิติของจิตใจวิเคราะห์ได้ว่า  เป็นผู้ มีจิตใจที่เป็นสมาธิ  บริสุทธิ์ผุดผ่อง  ไม่มีกิเลส  ปราศจากความเศร้าหมอง  ตั้งอยู่ในกุศลอยู่อย่างสุขสบายและไม่เป็นโรคทางใจคุณค่าในมิติของปัญญาวิเคราะห์ได้ว่า  เป็นผู้เข้าใจสัจจะธรรม    คิดอย่างถูกต้องและมีเหตุผล 

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕