หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาเข็มทอง ตนฺติปาโล (ฤทธิ์ลือไกร)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๓ ครั้ง
ศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางของพระครูโพธิสารคุณ (ประยงค์ อุปลวณฺโณ)(๒๕๔๘)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาเข็มทอง ตนฺติปาโล (ฤทธิ์ลือไกร) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสมชาย กนฺตสีโล
  รศ.ดร.เอกฉัท จารุเมธีชน
  ดร.ประยูร แสงใส
วันสำเร็จการศึกษา : 2548
 
บทคัดย่อ

     วิทยานิพนธ์นี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตาม
แนวทางของพระครูโพธิสารคุณ (ประยงค์ อุปลวณฺโณ) ซึ่งเป็นพระเถระที่เคารพนับถือของ
พุทธศาสนิกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือรูปหนึ่ง ที่ส่งผลดีต่อการดำเนินชีวิตของชุมชน
บ้านโนนทันในปัจจุบัน
     วิทยานิพนธ์นี้ ได้มุ่งเสนอการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในพระพุทธศาสนา
เถรวาทเป็นเบื้องต้น โดยยึดหลักสติปัฏฐาน ๔ ได้ศึกษาตั้งแต่ความหมายของวิปัสสนา
กรรมฐาน ประเภทของสมถะและวิปัสสนาในพระไตรปิฎกและอรรถกถา มูลเหตุให้เกิดมหา
สติปัฏฐานสูตร การอธิบายพระสูตรนี้ ทั้งโดยย่อและพิศดาร พร้อมแสดงอานิสงส์ของการ
ปฏิบัตินี้ด้วย และสรุปท้ายบทเพื่อความเข้าใจความโดยย่อของบทนี้ทั้งหมด
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางของพระครูโพธิสารคุณ (ประยงค์
อุปลวณฺโณ) ได้ศึกษา ถึงความเป็นมาของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของท่าน ว่าเป็นมา
อย่างไร ตั้งแต่เมื่อไร จุดเด่นของพระครูโพธิสารคุณ (ประยงค์ อุปลวณฺโณ) มีอยู่ ๖ อย่างได้แก่
(๑) ความเป็นผู้หนักแน่นในหลักปฏิสันถาร (๒)ความชำนาญในการฝึกนั่งสมาธิเป็นเวลานาน
(๓) ความเป็นผู้มีจิตที่ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม (๔) ความมีเมตตาธรรมที่ประเสริฐ (๕) ความเป็น
ผู้รู้วาระจิตของบุคคล และ (๖) รู้จักใช้กุศโลบายในการสั่งสอน
หลักการและวิธีการสอนวิปัสสนากรรมฐานของพระครูโพธิสารคุณ (ประยงค์
อุลวณฺโณ) มีดังนี้ (๑) บุพกิจเบื้องต้นในการปฏิบัติ เช่น วิธีสมาทานพระกรรมฐาน การ
แผ่เมตตา เป็นต้น (๒) วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน คือ การเดินจงกรม การนั่งสมาธิ การ
กำหนดรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะ ตัวอย่างการสอนวิปัสสนากรรมฐานตามหลัก
สติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต และธรรม (๓) ศึกษาในประเด็นย่อยอื่นๆ เช่น การสอบถาม
อารมณ์ของผู้ปฏิบัติ รูปแบบการสอนวิปัสสนา ระยะเวลาในการสอน
จากการศึกษา ผลของวิปัสสนากรรมฐานที่มีต่อชุมชนบ้านโนนทัน เมื่อประเมินตาม
หลักจริยธรรมแล้ว พบว่า มีอยู่ ๓ ระดับ ได้แก่ (๑) จริยธรรมเบื้องต้น คือ มีผลต่อการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมของชุมชนบ้านโนนทัน ด้วยหลักศีล ๕ (๒) จริยธรรมระดับกลาง คือ พฤติกรรมของคน
ในชุมชนบ้านโนนทัน มีปกติประพฤติในหลักกุศลกรรมบท ได้แก่
กายสุจริต วจีสุจริต เป็นส่วนใหญ่ และมีจิตใจที่ประกอบด้วยมโนสุจริตโดยมาก และ (๓)
จริยธรรมระดับสูง คือ ชุมชนชาวบ้านโนนทันส่วนใหญ่ มีความเข้าใจและปฏิบัติในหลักของ
อริยสัจ ๔ ได้อย่างถูกต้อง ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค โดยสมควรแก่การปฏิบัติวิปัสสนา
กรรมฐาน แต่ก็มีคนบางกลุ่มไม่สนใจ และไม่เข้าใจต่อหลักอริยสัจนี้ เพราะไม่ได้ฝึกฝนตนด้วย
วิปัสสนากรรมฐานนั้นเอง

Download : 254829.pdf

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕