หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูพิมลธรรมาภรณ์ (บัวฮอง อคฺคธมฺโม/ศรีจันทร์ก่ำ)
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๖ ครั้ง
ศึกษาเชิงวิเคราะห์การบูชาตามหลักพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในประเพณีการทำบุญพระธาตุนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
ชื่อผู้วิจัย : พระครูพิมลธรรมาภรณ์ (บัวฮอง อคฺคธมฺโม/ศรีจันทร์ก่ำ) ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูภาวนาโพธิคุณ
  ประยูร แสงใส
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

                  การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพระธาตุนาดูน

๒) เพื่อศึกษาการบูชาตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาทและ ๓) เพื่อศึกษาหลักการบูชาของพุทธศาสนิกชนในประเพณีการทำบุญเกี่ยวกับพระธาตุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคามการศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) ด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายนำผลมาวิเคราะห์ จากการวิจัยพบว่า

      ชาวอำเภอนาดูนเชื่อในพุทธานุภาพของพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุอยู่ภายในองค์พระธาตุนาดูน และเชื่อในเรื่องของการทำบุญตามหลักบุญกิริยาวัตถุ ๓ จึงทำให้ชาวอำเภอนาดูนปฏิบัติตนให้บริสุทธิ์ทางกาย วาจา และใจ เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ โดยกระทำการสักการบูชาองค์พระธาตุ ด้วยพิธีกรรมต่างๆ เช่น พิธีบวงสรวง พิธีกรรมบ๋า พิธีกรรมปงบ๋า พิธีกรรมขอขมา พิธีสรงน้ำพระธาตุ พิธีเวียนเทียน พิธีปฏิบัติธรรมและพิธีเปลี่ยนผ้าห่มพระธาตุ เป็นต้น โดยมีความเชื่อว่าเมื่อกระทำเช่นนี้แล้วจะได้รับความคุ้มครองจากองค์พระธาตุ ให้อยู่เย็นเป็นสุข และจากความเชื่อนี้เอง ก่อให้เกิดงานนมัสการพระธาตุนาดูนใน วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปีพระธาตุนาดูนมีความสำคัญทางด้านศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี  ประชาชนชาวอำเภอนาดูนมีความเชื่อว่า พระธาตุมีความศักดิ์สิทธิ์มาก มีเทวดาอารักษ์สถิตอยู่ สามารถดลบันดาลให้ผู้ที่ศรัทธาซึ่งกระทำการสักการบูชาแคล้วคลาดปลอดภัย เป็นสิริมงคลทั้งต่อตนเองและครอบครัว จึงได้มีจัดพิธีกรรมการบูชาพระธาตุเป็นบุญประเพณีประจำปีโดยมีพิธีกรรมต่างๆ ตามความเชื่อ มีทั้งพิธีพราหมณ์และพุทธจนเกิดเป็นวัฒนธรรม กลายเอกลักษณ์ของชาวนาดูนในปัจจุบัน

                  หลักการบูชา ๒ อย่าง คือ ๑. อามิสบูชา การบูชาด้วยวัตถุสิ่งของ อามิสบูชา ได้แก่การนำสิ่งของไปสักการะไปบูชาบุคคลหรือสิ่งที่ควรบูชา เช่น ให้ข้าว ให้น้ำ ให้เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ตลอดถึงการดูแลปฏิบัติรับใช้ช่วยเหลือผู้มีพระคุณ ด้วยวัตถุสิ่งของและแรงกายของตน    ๒. ปฏิบัติบูชา การบูชาด้วยการปฏิบัติตามคำสอนการปฏิบัติบูชาเพราะจะทำให้พุทธศาสนาตั้งมั่นชาวพุทธที่ปฏิบัติได้ชื่อว่าสักการะเคารพบูชาพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริงและการปฏิบัติบูชาก็เป็นการบูชาที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญเป็นการปฏิบัติที่เกิดเพราะแรงศรัทธาเช่นการสมาทานศีล ๕ การรักษาศีล ๘ การเจริญภาวนาสิ่งเหล่านี้เป็นการบูชาที่ชาวพุทธควรกระทำอย่างยิ่งเพราะผลที่เกิดจากการปฏิบัติย่อมมีแก่ผู้ปฏิบัติเองเป็นประโยชน์โดยตรงส่งผลให้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขไม่เบียดเบียนกันและเป็นประโยชน์ในโลกหน้าอีกด้วย

      คุณค่าศรัทธาและพิธีกรรมการบูชาพระธาตุนาดูนที่มีต่อชาวอำเภอนาดูน ได้แก่การสร้างวิถีชีวิตชุมชนให้มีความมั่นคงและเข้มแข็งทั้งการเมืองการปกครองท้องถิ่น เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม จนสามารถหล่อหลอมจิตใจชาวพุทธให้เป็นอันเดียวกันได้ เพราะความเชื่อและความศรัทธาที่มีต่อองค์พระธาตุที่มั่นคง อีกทั้งยังได้เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นศูนย์กลางการศึกษา และการปฏิบัติธรรมเพื่อการเข้าถึงพระรัตนตรัยของพุทธศาสนิกชนได้เป็นอย่างดี

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕