หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » เหลย เสี่ยวลี่
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๖ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบเทคนิคกรรมฐานระหว่างพุทธศาสนาในประเทศ ไทยและจีน
ชื่อผู้วิจัย : เหลย เสี่ยวลี่ ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร
  Sudarat Bantaokul
  Xuan Fang
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

              วิทยานิพนธ์เล่มนี้มุ่งศึกษาเปรียบเทียบเทคนิคด้านการปฏิบัติกรรมฐานระหว่างพุทธศาสนาในไทยและจีน  มีจุดประสงค์ ๓ ประการคือ  ๑) ศึกษาการปฏิบัติกรรมฐานตามคัมภีร์บาลีและเทคนิคกรรมฐานในประเทศไทย  ๒) ศึกษาการปฏิบัติกรรมฐานตามคัมภีร์พระไตรปิฎกจีนและเทคนิคกรรมฐานในประเทศจีน  ๓) ศึกษาความเหมือนและความต่างเทคนิคกรรมฐานทางพุทธศาสนาระหว่างประเทศไทยและจีน  การบูรณาการและการแลกเปลี่ยนของทั้งสองประเทศ

              บทที่ ๑ แนะนำประวัติความเป็นมาของการวิจัยและจุดประสงค์การวิจัย  โดยศึกษางานวิชาการต่างๆ ในปัจจุบันที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพัฒนาการเทคนิคการปฏิบัติกรรมฐานทั้งในประเทศจีนและไทย  จากนั้นทำการศึกษาเปรียบเทียบเชิงลึกความเหมือนและความต่างของทั้งสองระบบ โดยเป้าหมายหลักคือ ทำการเปรียบเทียบระบบกรรมฐานของทั้งสองประเทศ  ได้ข้อสรุปดังต่อไปนี้

              บทที่ ๒  กล่าวถึงเทคนิคการปฏิบัติกรรมฐานในประเทศไทย คือ ๑) ได้ทำการทบทวนเอกสารในคัมภีร์บาลีและอรรถกถาเกี่ยวกับการปฏิบัติกรรมฐาน ในอานาปานสติสูตร  สติปัฏฐานสูตรและคัมภีร์วิสุทธิมรรค  ผลการวิจัยพบว่า อานาปานสติสูตรเป็นทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน  ส่วนสติปัฏฐานสูตรเป็นวิปัสสนากรรมฐานแต่เพียงอย่างเดียว พื้นฐานการเจริญอานาปานสติตาม
อานาปานสติสูตรและสติปัฏฐานสูตรในคัมภีร์วิสุทธิมรรคพัฒนาไปเป็นสู่การกำหนดนับลมหายใจเข้าออก  ๒) การปฏิบัติกรรมฐานที่ได้รับความนิยมในเมืองไทยในปัจจุบันแบ่งเป็น ๔ วิธีคือ  การกำหนด
ลมหายใจเข้าออก  การกำหนดยุบหนอพองหนอ  การกำหนดบางส่วนของกายและการกำหนดภาพนิมิตรลูกแก้ว  พบว่าโดยพื้นฐานยึดถือตามหลักการในคัมภีร์ที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
แต่บางส่วนได้สร้างนวัตกรรมตามประสบการณ์การปฏิบัติของแต่ละท่าน  ผลการศึกษาพบว่าเทคนิคการทำสมาธิในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทมีพัฒนาการเป็นลำดับชั้นที่ชัดเจน  โดยอาศัยพื้นฐานคำสอนในคัมภีร์ อาจารย์กรรมฐานบางท่านได้สร้างนวัตกรรมใหม่ โดยเลือกสอนกรรมฐานตามจริตที่เหมาะกับแต่ละคน 

              บทที่ ๓ เทคนิคการปฏิบัติกรรมฐานในประเทศจีน  แบ่งเป็น ๓ ส่วนคือ ๑) การแปลคัมภีร์กรรมฐานที่มาจากอินเดียและการปฏิบัติจริงในประเทศจีน ผลการศึกษาพบว่าในช่วงนี้เทคนิคกรรมฐานที่มาจากอินเดียเป็นที่นิยมในประเทศจีน  เทคนิคกรรมฐานแบบมหายานได้รับความนิยมแต่เพียงเล็กน้อย ส่วนเทคนิคกรรมฐานแบบเถรวาทจะได้รับความนิยมมากกว่า  ๒) เทคนิคการปฏิบัติกรรมฐานที่มาจากอินเดีย  ได้กลายเป็นกรรมฐานแบบจีนโดยอาจารย์กรรมฐานจีนที่ได้ศึกษาและสร้างเป็นนวัตกรรมขึ้นมาใหม่  ๓) เทคนิคการปฏิบัติกรรมฐานของพระพุทธศาสนาจีนในยุคปัจจุบัน นักปฏิบัติกรรมฐานจีนยังคงฝึกอานาปานสติโดยวิธีนับลมหายใจเข้าออกและอสุภกรรมฐาน  อย่างไรก็ตามเทคนิคกรรมฐานของพุทธศาสนาจีนเช่นฉานฮว้าโถว (กงอั้น/โกอาน) โม่เจ้าฉาน และเนี่ยนโฝว (บริกรรมพุทธานุสติ) เป็นต้นก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก  บทนี้ได้กล่าวถึงพัฒนาการและการปรับเปลี่ยนเทคนิคกรรมฐานของพุทธศาสนาในจีน  ตลอดถึงเทคนิคกรรมฐานที่เหมาะสมกับสภาพสังคมจีนที่มีความเปลี่ยนแปลง

              บทที่ ๔ ศึกษาเปรียบเทียบเทคนิคกรรมฐานทางพุทธศาสนาระหว่างประเทศไทยและจีน  โดยภาพรวมอาจารย์กรรมฐานทั้งจีนและไทย ล้วนออกจากป่าเพื่อนำเทคนิคกรรมฐานมาเผยแผ่แก่ประชาชนใช้ในชีวิตประจำวัน  แต่องค์กรที่จัดฝึกกรรมฐานและวิธีการขององค์กรแตกต่างกัน  โดยองค์กรที่จัดกรรมฐานในประเทศไทยมักจะเป็นศูนย์กรรมฐานโดยเฉพาะ  แต่ในประเทศจีนจะจัดอยู่ภายในวัด  ทั้งสองประเทศมีความเห็นว่าการฝึกกรรมฐานไม่จำเป็นต้องเรียนคัมภีร์  พระนิพพานสามารถบรรลุได้ในชาตินี้เป็นต้น  มุ่งให้ประชาชนเข้าร่วมการปฏิบัติธรรม ในด้านการปฏิบัติจริงอาจารย์กรรมฐานในประเทศไทยได้หยิบยืมเอาแนวคิดแบบมหายานมาใช้  ส่วนในประเทศจีนปัจจุบันได้รับเอาเทคนิคกรรมฐานแบบเถรวาทเข้าไปปฏิบัติอย่างกว้างขวางมากมาย  เหล่านี้คือความเหมือนและความแตกต่างระหว่างเทคนิคกรรมฐานของพุทธศาสนาไทยและจีน กรรมฐานทั้งสองประเทศจึงเป็นการแลกเปลี่ยนและผสมผสานกัน

              บทสุดท้ายได้ทำการสรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะในการวิจัยในอนาคต

              โดยทั่วไปงานวิจัยเล่มนี้ได้ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ๓ ประการและให้มุมมองใหม่ของการศึกษาการปฏิบัติกรรมฐานและเทคนิคกรรมฐานในพระพุทธศาสนา

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕