หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการมูล จรณธมฺโม (แสงสกุล)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๔ ครั้ง
ประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนของสำนักทะเบียนอำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร(สาขารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการมูล จรณธมฺโม (แสงสกุล) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพปริยัติเมธี
  อภิชญาณัฐโศภา อบสิน
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนของสำนักทะเบียนอำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิภาพการให้บริการของสำนักทะเบียนอำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตรจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา และข้อเสนอแนะของประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนของสำนักทะเบียนอำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่มาใช้บริการสำนักทะเบียนอำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร จำนวน ๓๐๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบ ประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนของสำนักทะเบียนอำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล สถิติที่ใช้คือ การทดสอบค่าที (t-test) ในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-Test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD.) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๘ ท่าน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า

๑) ระดับประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนของสำนักทะเบียนอำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.42) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการให้บริการอย่างเท่าเทียม (= ๓.๕๕) ด้านการให้บริการอย่างรวดเร็วและทันเวลา (= ๓.4๑) ด้านการให้บริการอย่างเพียงพอ (= ๓.๓๗) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการให้บริการอย่างก้าวหน้า (= ๓.๓๔)

 

๒) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิภาพการให้บริการของสำนักทะเบียนอำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตรจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประขาชนที่มี เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนของสำนักทะเบียนอำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฎิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓) ปัญหา อุปสรรคของการให้บริการประชาชนของสำนักทะเบียนอำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร พบว่า สำนักทะเบียนอำเภอบึงนารางมีสิ่งอำนวยความสะดวกภายในที่ทำการไม่เพียงพอกับความต้องการ ไม่มีการแจ้งขั้นตอนการทำงานให้ผู้อื่นได้รับทราบ ไม่มีการบริการแจกบัตรคิว และเจ้าหน้าที่ไม่ค่อยให้ความสนใจเอาใจใส่ให้บริการประชาชนด้วยความถูกต้อง และเป็นธรรม และเจ้าหน้าที่บางท่านให้บริการด้วยความไม่เต็มใจ หน้าตาไม่ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไม่ไพเราะอ่อนหวานและให้บริการโดยไม่เท่าเทียมกัน ไม่เสมอต้นเสมอปลายกับทุกคน เลือกปฏิบัติกับผู้มาใช้บริการ

ข้อเสนอแนะในการให้บริการประชาชนของสำนักทะเบียนอำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร พบว่า สำนักทะเบียนอำเภอบึงนารางควรจัดสิ่งอำนวยความสะดวกภายในที่ทำ ให้เพียงพอกับความต้องการ เอาใจใส่ให้บริการประชาชนด้วยความถูกต้อง และเป็นธรรม  มีการแจ้งขั้นตอนการทำงาน พร้อมทั้งให้เจ้าหน้าที่ที่มีจิตใจให้บริการ รักในการบริการด้วยความเต็มใจ หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะอ่อนหวาน ให้บริการด้วยความเท่าเทียมกัน เสมอต้นเสมอปลายกับประชาชนผู้มาใช้บริการ และจัดให้มีบริการทางด้าน Call Center เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกกับประชาชน โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมา

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕