หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสวรุจน์ สุธีรปญฺโญ
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๖ ครั้ง
ประสิทธิภาพการบริหารงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของเทศบาลตำบลท่าฬ่อ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร(สาขารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระสวรุจน์ สุธีรปญฺโญ ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระปลัดสมบัติ ฐิติญาโณ
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ


                                                     บทคัดย่อ

 
               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของเทศบาลตำบลท่าฬ่อ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิภาพการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท ๔  ของเทศบาลตำบลท่าฬ่อ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหารงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของเทศบาลตำบลท่าฬ่อ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร

                    ดำเนินการวิจัยโดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informations) จำนวน ๗ รูปหรือคน ผู้วิจัยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane)  ได้จำนวนกลุ่มประชากร ๓๕๘ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๘๘๗ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์  หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA ) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)

 
            ผลการวิจัยพบว่า

           ๑) ระดับ ประสิทธิภาพการบริหารงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของเทศบาลตำบล
ท่าฬ่อ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ( = ๓.๒๐)
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านฉันทะ ( = ๓.๓๔) ด้านวิมังสา ( = ๓.๑๙) ด้านวิริยะ ( = ๓.๑๘) และด้านจิตติ ( = 3.10)

          ๒) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิภาพการบริหารงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของเทศบาลตำบลท่าฬ่อ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าประชาชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการบริหารงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของเทศบาลตำบลท่าฬ่อ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ไม่แตกต่างกันทุกตัวแปร จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

          ๓) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหารงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของเทศบาลตำบลท่าฬ่อ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร พบว่า ปัญหาและอุปสรรค คือ ขาดความใส่ใจและสนใจในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการทำงานที่ถูกต้อง ผลสัมฤทธิ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพ ควรมีการพัฒนาบุคลากรให้มีการศึกษาค้นคว้าหลักการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท ควรมีการฝึกให้บุคลากรและเจ้าหน้าที่มีความเพียรพยายามในการทำงานและมีความรักในองค์กรของตนเอง โดยมีข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารควรประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ให้กับเจ้าหน้าที่และผู้บริหารทุกท่านในองค์กรเพื่อเกิดกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ นโยบายด้านการบริหารจัดการควรเป็นไปเพื่อสร้างสรรค์งานให้มีประสิทธิภาพต่อการ ปฏิบัติงานโดยมีหลักฉันทะ หลักวิริยะ หลักจิตตะ และหลักวิมังสา ประกอบด้วยทุกครั้ง ควรจัดให้มีการอบรมหลักธรรมสำหรับการทำงานให้กับพนักงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มากยิ่งขึ้น ผู้บริหารควรสร้างเป้าหมายและความความสำเร็จของงานให้จิตใจของ บุคลากรจดจ่อในงาน โดยการส่งเสริมการอบรมจิตใจของบุคลากรให้มากขึ้น ควรจัดให้มีผู้เชียวชาญด้านการตรวจสอบคุณภาพของงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ดาวน์โหลด


ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕