หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาภุชงค์ ฐิตธมฺโม (สารพานิช)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๖ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบแนวการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของสำนักสวนโมกขพลาราม กับสำนักงุยเตาอูกรรมฐาน (สหภาพเมียนมาร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาภุชงค์ ฐิตธมฺโม (สารพานิช) ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๕/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ศาสนาเปรียบเทียบ)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหามงคลกานต์ ฐิตฺธมฺโม
  แสวง นิลนามะ
  ณัทธีร์ ศรีดี
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรียบเทียบ  การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของสำนักสวนโมกขพลาราม  กับ  วัดงุยเตาอูกรรมฐาน (สหภาพเมียนมาร์)ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อศึกษาอานาปานสติ  และมหาสติปัฏฐานสูตร ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา  และ  คัมภีร์วิสุธิมรรคเพื่อศึกษาการเจริญสติปัฏฐานโดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วเรียบเรียงบรรยายตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ จากการศึกษาพบว่า

  การ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของสำนักสวนโมกขพลารามพบว่า  การปฏิบัติอานาปานสติคือการปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน๔คือมีสติกำหนดพิจารณากายเวทนาจิตและธรรมซึ่งจะต้องใช้การพิจารณาประกอบด้วยกันในการกำหนดพิจารณา๓ประการคือความเพียรเผากิเลสอาตาปีมีความรู้ตัวสัมปชาโนมีความรู้ต้วทั่วพร้อมอานาปานสติ  เป็นได้ทั้ง  สมถะกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐานเน้นหลักสันโดษคือให้พึงพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่และไม่ทะยานอยากในสิ่งที่เกินความจำเป็นทำให้เป็นคนมีวินัยเข้มแข็งมั่นคงมีประสิทธิภาพในการทำงานมีความรับผิดชอบในหน้าที่การงานของตนและสร้างเมตตาให้เกิดแก่มสังคม  ส่งผลให้สังคมสงบสุขส่วนวิธีที่๒คือการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานซึ่งผลที่ได้รับคือการรู้สภาวธรรมตามความเป็นจริงด้วยปัญญาหรือในที่สุดได้บรรลุพระนิพพาน

  การ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของวัดงุยเตาอูกรรมฐานมาพบว่าเน้นวิปัสนาเมื่อปฏิบัติใน มหาสติปัฏฐานสูตร อย่างจดจ่อต่อเนื่องย่อมสามารถรู้แจ้งแทงตลอดในสภาวะรูปนามที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตาเวทนาคือการเสวยอารมณ์หรือความรู้สึกในการเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ด้วยความเพียรมีสัมปชัญญะมีสติย่อมกาจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้กล่าวโดยการปฏิบัติคือมีสติระลึกรู้  สังเกตพิจารณาความรู้สึกภายในกายและใจที่เป็นสุขเป็นทุกข์และไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์  ตามที่ปรากฏจริงโดยความไม่เที่ยงเป็นทุกข์และอนัตตาเมื่อพิจารณาเห็น ตามความจริงที่ปรากฏย่อมสามารถถ่ายถอนความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ทั้งที่ชอบใจและไม่ชอบใจได้

  เปรียบเทียบแนวคิดการในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของวัดสวนโมกขพลารามกับวัดงุยเตาอูกรรมฐานการปฏิบัติ  ในการสอนรูปแบบ  อานาปานสติของสำนักสวนโมขพลารามสอนโดยพระธรรมโกศจาย์  หรือ  หลวงพ่อพุทธทาส  ผู้วิจัยได้ทำการวิจัย  ในสวนโมกขการดำเนินชีวิตในสวนโมกขพลาราม ท่านพุทธทาสภิกขุยึดคติที่ว่า เป็นอยู่อย่างต่ำ มุ่งกระทำอย่างสูง โดยชีวิตประจำวันของท่านพุทธทาสภิกขุนั้นเป็นไปอย่างสันโดษและสมถะ สำหรับวัตถุสิ่งของภายนอก พึ่งพาก็แต่เพียงวัตถุสิ่งของที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ต่อไปได้ และวัตถุสิ่งของที่จำเป็นในการเผยแพร่ธรรมะเท่านั้น มีความเป็นอยู่อย่างต่ำที่สุด การกระทำในความเป็นอยู่เป็นการกระทำอย่างสูงที่สุด คือเป็นการกระทำเพื่อศึกษา ปฏิบัติ และเผยแพร่พระพุทธศาสนา การปฏิบัตินั้นเป็นการกระทำอันนำไปสู่มรรคผล และนิพพาน เป็นที่สูงที่สุด ส่วนการเผยแพร่เป็นเพื่อนำพาธรรมอันบริสุทธิ์ให้แพร่หลาบออกไป  การปฏิบัติในอานาปานสติ  นั้น มีจุดประสงค์เพื่อฝีกสติ  ให้อยู่กับกาย โดยอาศัยการภาวนา

โดยกำนดลมหายใจ  เข้าออกเป็นอารมณ์รูปแบบในการปฏิบัติกรรมฐานของวัดงุยเตาอูกรรมฐานคือการกำหนดรู้ ตามมหาสติปัฎฐานหมายถึงการใส่ใจ,การนึกในใจ,การพูดในใจ, พร้อมกับอาการที่เกิดขึ้นทางกายและใจ ให้ได้ปัจจุบันไม่ก่อนไม่หลังกับอาการที่เกิดขึ้น คือกำหนด และรู้อาการไปพร้อมกัน เสมือนกับการวางจิตเป็นเพียงผู้กำหนดรู้ แล้วปล่อยอย่าไปอยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ก็จะเห็นความเป็นจริง หมายถึงการกำหนดรู้ ตามสภาพที่เป็นจริงๆ โดยไม่มีการวิเคราะห์วิจารณ์ใดๆ ทั้งสิ้น

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕