เข้าชม : ๒๐๐๐๓ ครั้ง |
ศึกษาธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการบรรลุธรรม ศึกษาเฉพาะ: ความดับในคัมภีร์วิปัสสนาทีปนีฎีกา |
|
ชื่อผู้วิจัย : |
พระวินัยธรสมบูรณ์ สุธีโร (แตงทอง) |
ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๐๘/๒๐๑๗ |
ปริญญา : |
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา) |
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : |
|
พระศรีสุทธิเวที (ขวัญ ถิรมโน) |
|
บุณชญา วิวิธขจร |
|
- |
วันสำเร็จการศึกษา : |
๗/มีนาคม/๒๕๕๙ |
|
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ เพื่อศึกษาธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการบรรลุธรรมในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาความดับในคัมภีร์วิปัสสนาทีปนีฎีกา และเพื่อศึกษาธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการบรรลุธรรม กรณีศึกษา: ความดับในคัมภีร์วิปัสสนาทีปนีฎีกา โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวบรวม สรุป วิเคราะห์ เรียบเรียงบรรยายเชิงพรรณนา ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ จากการศึกษาพบว่า
ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการบรรลุธรรม หมายถึง ธรรมที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรมได้ ได้แก่เหตุ ๒ อันตราย ๕ อุปสรรค ๖ เครื่องกั้น ๘ นิวรณ์ ๕ และวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ และส่วนหลักธรรมที่สำคัญที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรมได้ ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ซึ่งรวมอยู่ในอริยมรรคมีองค์ ๘ อย่างไรก็ตามผู้ปฏิบัติจะต้องปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน ๔ คือ การพิจารณาสภาวะธรรมตามความเป็นจริงให้รู้เท่าทันกิเลส เพื่อไม่ให้กิเลส อกุศลต่าง ๆ เข้าครอบงำได้ ด้วยการใช้ฐานทั้ง ๔ ในการกำหนดรู้สภาวะธรรมตามความเป็นจริง
ความดับในคัมภีร์วิปัสสนาทีปนีฎีกา รจนาโดยพระภัททันตะ อาสภมหาเถระ เพื่อใช้เป็นคู่มือพระวิปัสสนาจารย์ในการสอบอารมณ์ที่บอกเล่าสภาวธรรมต่าง ๆ และแนะนำวิธีการแก้สภาวะที่เกิดกับผู้ปฏิบัติเพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้อง ในคัมภีร์นี้อธิบายความดับไว้ ๒ ประการคือ ๑) ประเภทที่ดับแล้วยังมีอาการเกิดขึ้น เรียกว่า อุปปาทนิโรธ และ ๒) ความดับที่เป็นมัคคนิโรธ ได้แก่ นิโรธของท่านผู้เข้าผลสมาบัติและนิโรธสมาบัติและในคัมภีร์เล่มนี้ยังได้กล่าวถึง ความดับ อีกประเภทหนึ่งที่เป็นปฏิปักษ์ของการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา คือ ความดับเทียม ซึ่งเป็นสภาวะที่ทำให้ผู้ปฏิบัติหลงเข้าใจผิดคิดว่าตนเองได้เข้าถึงความดับโดยมรรคแล้ว
ดาวน์โหลด
|
|
|