หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาอรรถพล นริสฺสโร (คงตัน)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๒ ครั้ง
ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคเหนือ(สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาอรรถพล นริสฺสโร (คงตัน) ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๐๘/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ
  ฐิติวุฒิ อรุณศิโรจน์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

    งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๔ ประการ คือ () เพื่อศึกษาความคิดเห็นบุคลากร      ต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคล ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคเหนือ () เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคเหนือจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล () เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคเหนือ (๔) เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมประสิทธิผลในการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคเหนือ  โดยการใช้วิธีวิจัยแบบผสม(Mixed Method ) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคเหนือ จำนวน ๓๑๕ รูป/คน ทำการสุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน  ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง คือ ๑๗๕ รูป/คน และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์   เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการอธิบายลักษณะข้อมูลทั่วไป และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที(t-test) และค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Anova) เพื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference:LSD) ในส่วนของคำถามปลายเปิดที่แสดงปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มตามประเด็น      ที่กำหนดไว้ในแบบสอบถามปลายเปิด จากนั้นทำการวิเคราะห์ โดยใช้การแจกแจงความถี่(Frequency) และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยจะทำการจัดกลุ่มข้อมูลตามสาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  ๑) บุคลากรมีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย        มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การบริหารงานบุคคลทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผนอัตรากำลังบุคลากร ด้านการสรรหาบุคลากร ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร และด้านการธำรงรักษาบุคลากร อยู่ในระดับ มาก ทั้ง ๔ ด้าน

  ๒) บุคลากรที่มีสถานภาพแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕  สำหรับบุคลากรที่มีวุฒิการศึกษาแผนกสามัญ แผนกธรรม และแผนกบาลี ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคเหนือ โดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ และบุคลากรที่มี อายุ พรรษา ต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันในทุกด้าน

  ๓) ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคเหนือ พบว่า ยังไม่มีการวางแผนที่ชัดเจน ขาดการสนับสนุนหรือกระตุ้นให้บุคลากรในหน่วยงานในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแผนบุคลากร    มีความล่าช้าในการสรรหา คัดเลือก และบรรจุ และขาดการติดตามและไม่เดินไปตามแผนการที่ได้กำหนดไว้   ระบบการประเมินยังไม่เป็นไปตามระบบและกลไก และส่วนใหญ่ไม่มีการชี้แจงรายละเอียดหลังจากการประเมิน เพื่อที่ได้ปรับปรุงข้อดีข้อเสีย และไม่มีนโยบายหรือแผนการรักษาประโยชน์บุคลากร และขาดความเสมอภาค ไม่มีแผนการที่ชัดเจนในด้านนี้

  ๔) แนวทางในการส่งเสริมประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย             มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคเหนือ พบว่า  ควรเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนอัตรากำลังให้บุคลากรให้มากยิ่งขึ้น อาจเป็นในรูปแบบการอบรมสัมมนาในรูปแบบของการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากรมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการพัฒนางานบุคคลให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมสร้างการสรรหาบุคลากรให้เป็นไปอย่างยุติธรรม มีขั้นตอนหรือวิธีการคัดเลือก บรรจุ หรือการแต่งตั้งที่ถูกต้อง ส่งเสริมให้มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง เพื่อนำไปสู้การปฏิบัติ ควรสร้างกระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ มีการนำผลจากการประเมินการปฏิบัติงานไปปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ) ควรส่งเสริมความคิดในการธำรงรักษาบุคลากรให้เป็นรูปธรรมมีแบบแผนที่ชัดเจน เป็นการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้สูงยิ่งขึ้น และต้องมีการติดตามผลการปฏิบัติงานทุกครั้งที่สั่งงานเพื่อให้ได้ผลงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ โดยต้องวางแผนการปฏิบัติอย่างไร

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕