หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาธวัชชัย ธมฺมรํสี (สุวรรณผา)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๓ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์กระบวนการระงับอาปัตตาธิกรณ์ของคณะสงฆ์ไทย
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาธวัชชัย ธมฺมรํสี (สุวรรณผา) ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๐๙/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสุธีคัมภีรญาณ วิ
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๕ / กุมภาพันธ์ /๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการระงับอธิกรณ์ในพระวินัยปิฏก และเพื่อศึกษาวิเคราะห์กระบวนการระงับอาปัตตาธิกรณ์ของคณะสงฆ์ไทย

             ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการระงับอธิกรณ์ในพระวินัยปิฎก มี ๔ ประเภท คือ กระบวนการวิวาทาธิกรณ์ ได้แก่วิธีการระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้าเป็นคณะ พร้อมหน้าวัตถุและพร้อมหน้าธรรม, กระบวนการระงับอนุวาทาธิกรณ์ ได้แก่วิธีการระงับในที่พร้อมหน้า วิธีระงับโดยยกเอาสติขึ้นเป็นหลัก วิธีระงับโดยยกประโยชน์แก่ภิกษุที่หายเป็นบ้า และวิธีระงับโดยตัดสินลงโทษแก่ผู้กระทําผิดเมื่อสงฆ์พิจารณาตามหลักฐานพยาน, กระบวนการระงับอาปัตตาธิกรณ์ ได้แก่ วิธีระงับในที่พร้อมหน้าบุคคล พร้อมหน้าวัตถุ และพร้อมหน้าธรรม, วิธีระงับโดยปรับอาบัติ และวิธีระงับโดยการที่ทั้ง ๒ ฝ่ายประนีประนอม, กระบวนการระงับกิจจาธิกรณ์ คือตามหน้าที่หรือความเป็นกรณีย์กิจแห่งสงฆ์

กระบวนการระงับอาปัตตาธิกรณ์ของคณะสงฆ์ไทย สรุปได้ว่าทั้ง ๒ วิธีมีโครงสร้างรูปแบบ และกระบวนการ ที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนดังมีรายละเอียด ดังนี้ รูปแบบและกระบวนการแก้ไขปัญหาอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นและสงฆ์จะต้องชำระหรือดำเนินการแก้ไขให้สงบระงับส่วนกฎนิคหกรรมหมายถึง ระเบียบปฏิบัติตามระบบกระบวนการยุติธรรมของศาลเพื่อใช้ลงโทษแก่พระภิกษุผู้กระทำผิดละเมิดพระธรรมวินัย มีการตรากฎหมายและวิธีการดำเนินการทางกฎหมายขึ้นมาเพื่อให้พระธรรมวินัยมีอำนาจในการบังคับและลงโทษแก่ผู้กระทำผิด ซึ่งมีพัฒนาการมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน และที่มีปรากฏเป็นระเบียบชัดเจนที่สุดคือในสมัยรัชกาลที่๘ เรียกว่า ประมวลวิธีพิจารณาอธิกรณ์และเปลี่ยนมาเป็นกฎนิคหกรรมในสมัยปัจจุบัน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดรูปแบบการแก้ไขปัญหา คือรูปแบบการพิจารณาคดีตามระบอบการปกครองของรัฐสามัคคีธรรม อธิกรณ์สมถวิธีเพื่อระงับอาปัตตาธิกรณ์ใช้อำนาจที่มาจากสงฆ์ซึ่งถือเป็นอำนาจของพระธรรมวินัยถือเป็นอำนาจสิทธิขาดห้ามรื้อฟื้นห้ามโต้แย้ง หรือคัดค้าน ส่วนกฎนิคหกรรมใช้อำนาจที่มาจากรัฐตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ให้อำนาจกับบุคคลและคณะบุคคลโดยมีมหาเถรสมาคมเป็นผู้ใช้อำนาจสูงสุด ซึ่งทั้ง ๒ รูปแบบมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดคือ อธิกรณ์สมถะใช้อำนาจผ่านทางสงฆ์ ส่วนกฎนิคหกรรมใช้อำนาจผ่านทางบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งทางการปกครองในฐานะเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ลงโทษตามลักษณะของความผิดที่เกิดจากการละเมิดพระธรรมวินัย ซึ่งมีโทษตั้งแต่หนักสุดจนถึงโทษเบา เป็นการลงโทษที่มุ่งให้ผู้ลงโทษได้สำนึกหรือถ้าเป็นโทษร้ายแรงก็ให้พ้นจากความเป็นภิกษุ อธิกรณ์สมถะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างไปจากกฎนิคหกรรมมาก ส่วนความเหมือนกันก็คือทั้ง ๒ รูปแบบมีวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาพระธรรมวินัยด้วยการขจัดคนไม่ดีออกจากศาสนาและรักษาคนดีให้สามารถดำรงอยู่ในพระศาสนาได้อย่างผาสุก

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕