หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ภูดิส ยศชัย
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๓ ครั้ง
การมีส่วนร่วมของประชาชนตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ในการ ช่วยเหลือกิจการตำรวจของสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน(สาขารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ภูดิส ยศชัย ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูภวนาโสภิต
  นิกร ยาอินตา
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๒/มีนาคม/๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน  จังหวัดลำพูน ในด้านการช่วยเหลือกิจการตำรวจ ของ สถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน  2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนของประชาชนตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน  จังหวัดลำพูน ในด้านการช่วยเหลือกิจการตำรวจ ของ สถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน  3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ของการมีส่วนร่วมของประชาชนของประชาชนตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน  จังหวัดลำพูน ในด้านการช่วยเหลือกิจการตำรวจ ของ สถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน  4) เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนของประชาชนตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน  จังหวัดลำพูน ในด้านการช่วยเหลือกิจการตำรวจ ของ สถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ดำเนินการวิจัยโดยการใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Method ) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จำนวน 387 คน  และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม  (Questionnaire) ทำการวิเคราะห์ข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ (Frequency)  ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (Standard Deviation) และทำการทดสอบสมมติฐานทดสอบค่าที (t-Test) และทดสอบค่าเอฟ  (F-Test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว  (one – way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธีการหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) ในส่วนของข้อคำถามปลายเปิดที่แสดงปัญหาอุปสรรค  และข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มตามประเด็นที่กำหนดไว้ในแบบสอบถามปลายเปิด จากนั้นจะทำการวิเคราะห์โดยใช้การแจกแจงความถี่ (Frequency) และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มข้อมูล (Data Grouping) สาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis Technique)

 

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประชาชนในตำบลตันธง มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน  จังหวัดลำพูน มีความคิดเห็นในด้านการช่วยเหลือกิจการตำรวจอยู่ในระดับมาก      (=3.76 )  เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า  ด้านการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์และร่วมประเมินผล อยู่ในระดับมาก

2. การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน  จังหวัดลำพูน การทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแตกต่างตามการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ และอาชีพ พบว่า ในค่าเฉลี่ยรวมด้านเพศและด้านอายุ ไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนตัวแปรด้านระดับการศึกษา รายได้ และอาชีพ ในค่าเฉลี่ยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

3.  ปัญหาอุปสรรค การมีส่วนร่วมของประชาชนตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน  จังหวัดลำพูน ในด้านการช่วยเหลือกิจการตำรวจ พบว่า ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ ผู้เข้าร่วมในการนำเสนอความคิดเห็น   มีจำนวนน้อย และไม่กล้าแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแผนในการดำเนินกิจการของตำรวจ  เพราะรู้สึกว่าไม่ได้รับความสำคัญในการเป็นผู้กำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรม  อีกทั้งในบางครั้งการเสนอความคิดเห็นก็ไม่ได้รับความสนใจจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเท่าที่ควร  ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจควนส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมนำเสนอความคิดเห็นและยอมรับความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

4. ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการในการช่วยเหลือกิจการตำรวจตามหลักอปริหนิยธรรม มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการนำมาใช้เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมที่ทั่วถึง สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องตรงกับความต้องการของประชาชน ตามหลักการมีส่วนร่วมทั้ง 4 ด้าน เพื่อให้การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕