หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » เบญญ์จพิศ หวลกาพย์
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๙ ครั้ง
ประสิทธิภาพในการให้บริการงานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลลำพูน อำเภอเมืองลำพูน(รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : เบญญ์จพิศ หวลกาพย์ ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสิริสุตานุยุต
  ฐิติวุฒิ อรุณศิโรจน์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

////////วิทยานิพนธ์เรื่องประสิทธิภาพในการให้บริการงานแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลลำพูน อำเภอเมืองลำพูน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ       (๑) เพื่อศึกษาการให้บริการงานแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลลำพูน อำเภอเมืองลำพูน (๒ )เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหารธรรมในการให้บริการงานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลลำพูน อำเภอเมืองลำพูน (๓) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการให้บริการงานแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลลำพูน อำเภอเมืองลำพูน โดยผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (Independent Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๑๘ รูป/คน แบ่งเป็นพระภิกษุ จำนวน ๑ รูป,ผู้บริหารและบุคลากรกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิ จำนวน ๑๒ คน และผู้รับบริการจำนวน             ๕  คน

         

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

การให้บริการงานแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลลำพูน อำเภอเมืองลำพูนเป็นการให้บริการแพทย์แผนไทยแบบองค์รวม โดยมุ่งเน้นบริการส่งเสริม  ป้องกัน บำบัด รักษา และฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วย ตลอดจนการให้การรักษาด้วยยาสมุนไพรภายใต้มาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทย รวมถึง เครือข่ายอำเภอเมืองลำพูน ซึ่งประสิทธิภาพของการให้บริการนั้นเป็นการทำงานที่ประหยัดได้ผลงานที่รวดเร็ว มีคุณภาพ คุ้มค่ากับการใช้ทรัพยากรทั้งด้านกำลังคน การเงิน อุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ            ตามมาตรฐานของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เกิดผลกำไร ทันเวลาและเป็นที่พึงพอใจของผู้ให้และผู้รับบริการ  โดยการนำหลักพรหมวิหารธรรม อันได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา มาประยุกต์ใช้กับการให้บริการ จากการวิจัยสามารถอภิปรายผลในแต่ละประเด็นได้ดังนี้ คือ 

. ด้านการสร้างความคุ้มค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ทรัพยากรต่างๆ นั้นโดยยึดหลักเมตตานั้นซึ่ง ปรารถนา ที่จะให้มีการใช้ทรัพยากรต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จำเป็นต้องใช้เงินงบประมาณในการจัดหาจัดซื้อ อย่างประหยัดคุ้มค่า ดังนั้นการใช้ทรัพยากร สมุนไพรต่างๆที่หาได้ในท้องถิ่นมาเป็นวัตถุดิบในการให้บริการ การสร้างความคุ้มค่าให้เกิดขึ้นกับการให้บริการในแต่ละขั้นตอนนั้น และอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการใช้ทรัพยากร ช่วยกัน ดูแลรักษา ซ่อมแซม และพัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ให้มีความทันสมัยและสามารถใช้การได้เป็นอย่างดีตลอดจน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ในการสร้างสุขภาพที่สมบูรณ์ การเพิ่มพูนความรู้ต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นก่อเกิด มุทิตาจิต ตามมา หากมีผู้หนึ่งผู้ใดไม่เห็นความสำคัญในการใช้ทรัพยากรเราต้องใช้อุเบกขาในการที่จะวางเฉย ไม่โกรธหรือต่อว่า แต่ใช้ ความกรุณา ในการแนะนำสั่งสอนให้เข้าใจถึงความสำคัญและประโยชน์ของการทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ที่มีผลต่อองค์กรและตัวเราเอง   

๒. ด้านการให้บริการ มุ่งเน้นการเสริมสร้างประสิทธิภาพการให้บริการมีเมตตา ปรารถนา ที่จะสร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้นกับผู้รับบริการ ยึดหลักกรุณา มีใจให้บริการ โดยการให้บริการอย่างเสมอภาค เท่าเทียมกัน และไม่เลือกปฏิบัติตามหลักของอุเบกขา มีการจัดลำดับความสำคัญในการให้บริการอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ปัญหา เพื่อให้บริการตรงตามความต้องการ มีความรับผิดชอบสูง ให้บริการอย่างเต็มใจและบริการดุจญาติมิตร ตลอดจน การบริหารจัดการด้านเวลาอย่างมีคุณภาพนั้นจะทำให้การบริการครอบคลุม เท่าเทียมกัน เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความรู้สึกที่ดีและเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีความสะดวกสบายเป็นมุทิตาจิต เกิดความพึงพอใจ ทำให้เกิดการบริการที่มีประสิทธิภาพตามมา 

๓. ด้านความพึงพอใจ เป็นผลที่เกิดจากการให้บริการที่ดี มีคุณภาพ ความพึงพอใจก็จะเกิดขึ้น เมื่อผู้รับบริการได้รับการสนองตอบความต้องการของตนเอง เกิดเป็นมุทิตา  มีใจเมตตา ปรารถนาให้ผู้รับบริการเกิดความสุข  พึงพอใจ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการมีระบบการให้บริการที่ดี            มีรูปแบบ ขั้นตอน ระยะเวลา เพื่อให้บริการมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และเกิดความพึงพอใจ            ผู้ให้บริการต้องตระหนักอยู่เสมอว่าเป็นภารกิจที่สำคัญ ที่ต้องทำด้วยความกรุณาและมีอุเบกขา แล้วความประทับใจ พึงพอใจย่อมเกิดขึ้นทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ด้วยจิตใจที่พร้อมสำหรับการรักษา ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการเสริมสร้างความพึงพอใจนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ดังนั้นแล้ว การเสริมสร้างหรือการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการให้บริการที่มีคุณภาพ สามารถสนองตอบต่อความต้องการของผู้รับบริการได้เป็นอย่างดี การให้บริการนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อให้การบริหารทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอันไม่เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ และหลักพรหมวิหารธรรม นั้น ก็เป็นหลักแห่งการให้บริการที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการให้บริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพได้อย่างดีที่สุด

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕