หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อำพล ใจคิด
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๙ ครั้ง
การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักภาวนา ๔ ของเทศบาลนครระยองจังหวัดระยอง (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : อำพล ใจคิด ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ธงชัย สิงอุดม
  สุริยา รักษาเมือง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

   การวิจัยในครั้งนี้เพื่อ ๑) ศึกษาถึงคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักภาวนา ๔ ของเทศบาลนครระยอง ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ตามหลักภาวนา ๔ ของเทศบาลนครระยอง โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓)เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักภาวนา ๔ ของเทศบาลนครระยอง ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นหลัก และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) สนับสนุน การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรได้แก่ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลระยองจำนวน ๓๗๗ คน และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติด้วยค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) และวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)เพื่อการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างเป็นสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD.)

              ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูลได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง (Structured In-depth Interview) เก็บข้อมูล ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth-Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ (Descriptive Interpretation)

         

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

 

          ) การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลนครระยองด้วยหลักภาวนา โดยภาพรวม อยู่ในระดับระดับปานกลาง (= .๘๖๗, S.D. = .๐๕๑) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้สูงอายุมีความคิดเห็นเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การพัฒนาด้านปัญญาระดับปานกลาง (=.๑๙, S.D. =.๐๔๗) การพัฒนาด้านจิตตอยู่ในระดับปานกลาง (= .๘๖, S.D. =.๐๐๗) การพัฒนาด้านศีลอยู่ในระดับปานกลาง (= .๘๓, S.D. = .๐๓๖) การพัฒนาด้านร่างกายอยู่ในระดับน้อย (= .๕๗, S.D. = .๑๑๖)

          ) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้สูงอายุของเทศบาลนครระยองต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักภาวนา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ, อายุ, ระดับการศึกษา,สถานภาพ, อาชีพ, รายได้ต่อเดือน  พบว่าผู้สูงอายุที่มี เพศ, อายุ, ระดับการศึกษา,อาชีพ, รายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักภาวนา แตกต่างกัน และประชาชนที่มีสถานภาพต่างกันมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักภาวนา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .๐๕

          ) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักภาวนา ของเทศบาลนคระยอง จังหวัดระยอง พบว่า ด้านกายภาวนา ไม่มีกิจกรรมการส่งเสริมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ไม่มีบุคลากรเพียงพอในการติดตามดูแลความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด ในการแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุยังไม่มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ ด้านศีลภาวนา เทศบาลนครระยองการให้ความสำคัญต่อผู้สูงอายุยังน้อยอยู่ ผู้สูงอายุยังมีความว้าเหว่เนื่องจากมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นญาติพี่น้อง เพื่อนๆไม่ดีเท่าที่ควร ยังไม่มีการจัดระเบียบวินัยในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ด้านจิตตภาวนา ผู้สูงอายุไม่มีความมั่นใจในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมและทำประโยชน์ต่อสังคม ผู้สูงอายุบางรายรู้สึกท้อแท้ในการดำเนินชีวิต หมดกำลังใจในการมีชีวิตที่ยืนยาวต่อไป รายได้ไม่พอเพียงในการดำรงชีวิตและมีความรู้สึกไม่มีความปลอดภัยในชีวิต ด้านปัญญาภาวนา พบว่าในการจัดสถานที่เพื่อร่วมกันทำกิจกรรมไหว้พระ สวดมนต์ รักษาศีลและ ฝึกสมาธิ ยังน้อยมาก และการจัดกิจกรรมปราชญ์ชาวบ้าน หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้านโดยให้ผู้สูงอายุนำประสบการณ์ ทักษะ ความรู้ที่สั่งสมมาตลอดชีวิตถ่ายทอดเป็นองค์ความรู้ของสังคม

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕