หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ศิริพร หนูโต
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๓ ครั้ง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบล บางพระหลวง อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์(รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ศิริพร หนูโต ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  สุรพล สุยะพรหม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕8
 
บทคัดย่อ


บทคัดย่อ

 

 

 

                        การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลบางพระหลวง  อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ๒)         เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลบางพระหลวง  อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ๓) เพื่อศึกษาปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลบางพระหลวง  อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลบางพระหลวง  อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

                   การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชาชนตำบลบางพระหลวง จำนวน 342 คน ซึ่งได้จากสูตรของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane)เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม   วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากรคือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐาน โดยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)และการวิเคราะห์ทดสอบความสัมพันธ์แบบไค –สแคว์ (ChiSquare test) และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

                   ผลการวิจัย  พบว่า

                   1) การจัดทำแผนพัฒนาสามปี ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางพระหลวง อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=.8) เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน คือ ด้านเวทีประชาคมหมู่บ้าน  ด้านเวทีประชาคมระดับตำบล  ด้านการประชุมคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผน  ด้านการประชุมคณะพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล  ด้านการเสนอร่างแผนพัฒนาสามปีต่อฝ่ายบริหาร  ด้านการเสนอร่างแผนพัฒนาสามปีต่อสภา และด้านการประกาศใช้แผนพัฒนาสามปี พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน

2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางพระหลวง  อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์  พบว่าปัจจัยส่วนบุคคล  คือ ปัจจัยด้านเพศ  อายุ ระดับการศึกษา  อัตรารายได้ต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางพระหลวง  อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐5  จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนปัจจัยด้านอาชีพไม่มีความสัมพันธ์กับการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางพระหลวง  อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสรรค์ จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

๓) ปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลบางพระหลวง  อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ปัจจัยแวดล้อมในละแต่ด้านคือ ด้านปัจจัยแวดล้อมทั้งทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และความปลอดภัยด้านปัจจัยผลักดันส่วนบุคคล โดยเฉพาะผู้นำ ด้านปัจจัยที่เป็นรางวัลตอบแทน และด้านปัจจัยภายในตัวบุคคล โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กับการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลบางพระหลวง อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงทุกด้าน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย

4) แนวทางส่งเสริมการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลบางพระหลวง  อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ในทุกด้าน เช่น เว็บไซต์ หอกระจายข่าว หนังสือเวียน ติดประกาศตามหมู่บ้าน ควรเพิ่มกิจกรรมดึงดูดในการเข้าร่วมประชุมประชาคม ส่วนเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล ควรให้ความรู้ ความเข้าใจ กับผู้ร่วมประชุมให้มากขึ้น ไม่ควรเน้นหลักวิชาการมากไปเพื่อการเข้าใจและเข้าถึง ให้สมาชิกสภาเพิ่มการผลักดันโครงการในหมู่บ้าน ทางด้านฝ่ายบริหารควรเสนอโครงการขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นให้มากขึ้นและควรจัดให้มีโครงการฝึกอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชนเพื่อนำความรู้มาพัฒนาท้องถิ่นส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕