หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาประภาส โชติเมธี (รักไร่)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๔ ครั้ง
การบูรณาการหลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลโบสถ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาประภาส โชติเมธี (รักไร่) ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ธงชัย สิงอุดม
  บุษกร วัฒนบุตร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลโบสถ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ๒) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลโบสถ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการบริหารงานตามหลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลโบสถ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้สำรวจกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลโบสถ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 370 คน โดยเลือกประชาชนจำนวน 4,846 คน จากหมู่บ้านที่มีขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ จำนวน ๖ หมู่บ้าน จากทั้งหมด ๒๗ หมู่บ้าน ซึ่งใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นการบูรณาการหลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลโบสถ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา คือค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยเพื่อบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที (t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จำนวน 7 ท่าน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

 

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

 

 

1. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการบูรณาการหลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลโบสถ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับมาก   (  = ๓.๖6) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน คือ ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์การ ด้านการบังคับบัญชาสั่งการ ด้านการประสานงาน และด้านการควบคุม พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการ  บูรณาการหลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารงานที่พึงประสงค์ของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลโบสถ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา อยู่ในระดับมากทุกด้าน

2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการบูรณาการหลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลโบสถ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา      โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พบว่า ประชาชนที่มีการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕  จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย สำหรับสถานภาพส่วนบุคคลที่เหลือไม่มีผลต่อความคิดเห็นของบุคลากร จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

3. ปัญหาและอุปสรรคต่อการบูรณาการหลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลโบสถ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา พบว่า ปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนตำบลขาดความต่อเนื่องในการปฏิบัติงานในโครงการต่างๆ ไม่สามารถทำได้ตามแผนงานที่ได้แจ้งกับประชาชน หรือมีการเปลี่ยนแปลงแผนงานแล้วไม่แจ้งประชาชนให้รับทราบ อีกทั้งยังมีการแบ่งพรรคแบ่งพวกทำให้เกิดความไม่สามัคคีในหมู่คณะ ข้อเสนอแนะต่อการบูรณาการหลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลโบสถ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลควรที่จะเร่งดำเนินโครงการต่างๆ ให้สำเร็จเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่ และควรที่จะมีนโยบายหรือจัดกิจกรรมต่างๆ ที่ให้ประชาชนได้ทำงานร่วมกัน ได้ช่วยเหลือเกื้อกูลกันละกันเพื่อให้ประชาชนทุกคนในพื้นที่เกิดความรักความสามัคคีกันอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และควรที่จะส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงให้มีอาชีพเสริมนอกจากทำการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลัก

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕