หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหากฤษร โชติธมโม (คําแสง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๑ ครั้ง
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองลําสามแก้ว อําเภอ ลําลูกกา จังหวัดปทุมธานี ตามหลักสังคหวัตถุ ๔ (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหากฤษร โชติธมโม (คําแสง) ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พิเชฐ ทั้งโต
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองลําสามแก้ว อําเภอลําลูกกา จังหวัดปทุมธานี ตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ๒) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองลําสามแก้ว อําเภอ ลําลูกกา จังหวัดปทุมธานี ตามหลักสังคหวัตถุ ๔ โดยจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษา ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมือง ลําสามแก้ว อําเภอลําลูกกา จังหวัดปทุมธานี ตามหลักสังคหวัตถุ ๔

 

ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่าง การ วิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) การ วิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ประชาชนที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาลเมืองลําสามแก้ว อําเภอลําลูกกา จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง ๓๔๘ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐาน ด้วยค่าที (t-test) และค่า เอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)และทดสอบ ความ แตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างเป็นสําคัญน้อยที่สุด (Least Significant Diference : LSD.) โดยกําหนดระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.๐๕

 

ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กําหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก ๗ คน (key informants) เลือกแบบ เจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง (structured in-depthinterview) เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth-Interview) วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยวิธีการ พรรณนาความ(Descriptive interpretation)

ดาวน์โหลด


 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕