หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระภูพันวิชญ์ ภูริปญฺโญ ( สิทธิอาสา )
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๐ ครั้ง
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระภูพันวิชญ์ ภูริปญฺโญ ( สิทธิอาสา ) ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูภาวนาโสภิต
  ศรีธน นันตาลิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๙ ธันวาคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่” โดยมีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ๒) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิขาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓)  เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างหลักไตรสิกขากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ๔) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research)และวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ในเขตอำเภอสันป่าตอง โดยเลือกเอา ๑ เทศบาลกับอีก ๓ อบต. คือเทศบาลตำบลยุหว่า อบต.น้ำบ่อหลวง อบต.สันกลาง อบต.มะขามหลวง มีทั้งหมดจำนวน ๑๕๙ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากรคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ คือค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมุติฐานโดยเพื่อบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลการทดสอบค่าที (t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

 

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

๑) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น         ในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ บุคลากร มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก(μ =๔.๐๕)   เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านสมาธิ : การฝึกฝนพัฒนาจิตใจ (μ =๔.๑๔) ด้านศีล : การพัฒนาทางด้านพฤติกรรม                   (μ =๔.๑๔) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรด้านการพัฒนา (μ =๔.๑๑) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรด้านการอบรม (μ =๔.๐๘) ด้านปัญญา : การพัฒนาปัญญา (μ =๔.๐๘) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุดคือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรด้านศึกษา) (μ =๓.๗๖) ซึ่งอยู่ในระดับมาก

๒) ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิขาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ส่วนงาน อาชีพ พบว่า บุคลากร ที่มี เพศ อายุ ส่วนงาน อาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ไม่แตกต่างกัน ส่วนบุคลากรที่มี ระดับการศึกษา ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

๓) เมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างหลักไตรสิกขา ๓ กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์             ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่โดยพบว่า หลักไตรสิกขา                         มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง (R = ๐.๘๖๔**) กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑

๔) แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ควรมุ่งเน้นฝึกบุคลากรให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และส่งเสริมให้บุคลากร ได้รับความรู้ควรใช้สถาบันทางศาสนาในการส่งเสริม โดยการรักษาศีล ฝึกสมาธิ และการเจริญปัญญา แล้วนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕