หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สมเกียรติ ชุมพล
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๔ ครั้ง
พุทธบูรณาการการส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ ของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจนครบาลสายไหม
ชื่อผู้วิจัย : สมเกียรติ ชุมพล ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ตวงเพชร สมศรี
  ประพันธ์ ศุภษร
  -
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาการส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ (๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรม ที่ส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ (๓) เพื่อบูรณาการการส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจด้วยหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ

             ผลการวิจัยพบว่า การส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ หมายถึงการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปรับปรุง เกื้อหนุน ช่วยเหลือสนับสนุนให้การปฏิบัติงาน    ด้านต่างๆ ดีขึ้น โดยมีการส่งเสริมประสิทธิภาพด้านบริหารจัดการ การส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจ การส่งเสริมประสิทธิภาพด้านการให้บริการ การส่งเสริมประสิทธิภาพด้านจริยธรรม ส่วนปัญหาจากการส่งเสริมประสิทธิภาพ คือ ปัญหาการละเลยการใช้ระบบคุณธรรม  ในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ ปัญหาการขาดจิตสำนึกในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ ปัญหาเรื่องการให้บริการประชาชน ปัญหาเรื่องพฤติกรรมของข้าราชการตำรวจ

             หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ           แบ่งออกเป็น (๑) หลักพรหมวิหาร ๔ คือ ๑. มีเมตตาตอเพื่อนร่วมงาน ๒. มีกรุณา ความสงสาร               ที่จะชวยเหลือแก้ไขปัญหาผู้อื่น ๓. มีมุทิตา ความชื่นชมยินดีในความสําเร็จของบุคคลอื่น               ๔. มีอุเบกขา ความวางใจเปนกลาง ไม่มีความลำเอียง (๒) หลักอิทธิบาท ๔ คือ ๑. ฉันทะ ความพอใจในการทำงาน ๒.วิริยะ ความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงาน ๓. จิตตะ มีใจจดจ่อรับผิดชอบในการทำงาน   ๔. วิมังสา มีการทบทวนในการทำงาน เพื่อปรับปรุงปรับแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น (๓) หลักสังคหวัตถุ ๔ คือ                  ๑. ทาน การให้เพื่อช่วยเหลือบุคคลอื่น ๒. ปิยวาจา กล่าวคำพูดที่สุภาพ ๓. อัตถจริยา การประพฤติ                 ให้เป็นประโยชน์ทั้งฝ่ายตนเองและคนอื่น ๔. สมานัตตตา การปฏิบัติตนสม่ำเสมอกัน                   ในบุคคลทั้งหลาย (๔) หลักพละ ๕ คือ ๑. ศรัทธาพละ การเชื่อในการทำความดี เป็นกำลังควบคุมความสงสัย ๒. วิริยะพละ การเพียรทำงานและเพียรทำความดีเป็นกำลังในการขจัดความเกียจคร้าน ๓. สติพละ  มีสติควบคุมอารมณ์และเป็นกำลังในการขจัดความประมาท การไม่ใส่ใจ ใจลอย ไร้สติ ๔. สมาธิพละ การมีสมาธิในการปฏิบัติหน้าที่ความตั้งใจมั่น เป็นกำลังในการขจัดความวอกแวก ไขว้เขว ฟุ้งซ่าน ๕. ปัญญาพละ มีความรอบรู้ เป็นกำลังขจัดความเพิกเฉย และหลงงมงาย

             บูรณาการการส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจด้วยหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ แบ่งออกเป็น ๑. หลักพรหมวิหาร ๔ คือ ข้าราชการตำรวจควรมีเมตตาต่อเพื่อนร่วมงาน มีความสงสารคิดชวยเหลือใหพนจากทุกข์      มีความยินดีในความสําเร็จของบุคคลอื่นและวางใจเปนกลาง มีจิตเที่ยงธรรม ๒.หลักอิทธิบาท ๔              คือ ข้าราชการตำรวจควรมีความพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ มีความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงาน            มีใจที่จดจ่อและรับผิดชอบในการทำงาน และมีการทบทวนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ            ๓. หลักสังคหวัตถุ ๔ คือ ข้าราชการตำรวจมีการให้ เอื้อเฟอเผื่อแผต่อเพื่อนรวมงาน กล่าวคำสุภาพไพเราะ มีการประพฤติเป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่ายและการทำตนเสมอต้นเสมอปลาย ๔. หลักพละ ๕ คือ ข้าราชการตำรวจมีความศรัทธาในความดี เชื่อว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว มีวิริยะอุตสาห์ในการปฏิบัติหน้าที่และเพียรทำความดี มีสติควบคุมเมื่อมีอารมณ์ไม่ปรารถนามากระทบและสกัดกั้นกิเลส มีสมาธิในการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ฟุ้งซ่านไขว้เขว มีความรอบรู้ในการปฏิบัติหน้าที่ ไม่หลงงมงาย เมื่อข้าราชการตำรวจนำหลักธรรมทั้ง ๔ หมวดมาบูรณาการใช้ในการส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจจะทำให้การส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจนั้น          มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕