หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระใบฎีกาอรรถพล พลสีโล
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๓ ครั้ง
การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านของวัดท่าพูด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม(การจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระใบฎีกาอรรถพล พลสีโล ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ
  อุบล วุฒิพรโสภณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านในประเทศไทย ๒) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านของ วัดท่าพูด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ๓) เพื่อศึกษาผลสำเร็จในการดำเนินงานการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านของวัดท่าพูด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ระเบียบวิธีวิจัยดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้การวิจัยเอกสาร และสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๕ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยสามารถสรุปและมีข้อเสนอแนะตามลำดับ ดังนี้

 

          ผลการวิจัยพบว่า

          ๑. การอนุรักษ์โบราณสถานหรือสิ่งก่อสร้างอยู่ติดที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ โบราณวัตถุหรือสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของโบราณไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินั้น จะต้องเคารพต่อเอกลักษณ์และคุณค่าที่สำคัญของสถาปัตยกรรมหรือศิลปกรรม ซึ่งต้องมีการศึกษาวิเคราะห์อย่างละเอียด ชัดเจน และถูกต้องตามหลักวิชาการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโบราณสถาน โบราณวัตถุ ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ด้านการอนุรักษ์แก่ประชาชนในท้องถิ่นด้วย การพัฒนาทางความคิด เกี่ยวกับการรักษาและการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุมีมากว่าหลายร้อยปี กว่าจะสร้างหลักเกณฑ์หรือทฤษฎีในการอนุรักษ์ได้ และทฤษฎีการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ นิยมใช้แพร่หลายในปัจจุบัน จนกลายเป็นบทสรุปของหลักเกณฑ์การอนุรักษ์โบราณสถานสากล ส่งผลให้เกิดหลักเกณฑ์การอนุรักษ์โบราณสถานทั่วโลก จะต้องเป็นผู้ประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับชาวบ้านให้ร่วม มือกันดำเนินกิจกรรมต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อชุมชน เช่น สนับสนุนการดำเนินงานของโครงการจัดตั้งอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษาโบราณสถาน โดยการจัดหาอาสาสมัคร อบรมสั่งสอนชาว บ้านให้เห็นคุณค่าของมรดกวัฒนธรรมของชาติ

          ๒. การบริหารจัดการของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดท่าพูด เบื้องต้นได้รับการสนับสนุนจากทางวัดโดยมติของคณะกรรมการในการปรับอาคารเดิมคือ หอพระไตรปิฎกหลังเก่าเป็นพิพิธภัณฑ์หลังแรก โดยใช้งบในการปรับโครงสร้างของอาคารให้ใช้เป็นห้องจัดแสดงและเสริมลูกกรงเหล็กป้องกันการขโมยวัตถุในอาคารและสามารถเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ แต่หลังจากนั้นการไม่สามารถจัดหางบในการบริหารงานได้ต่อไป จึงต้องมีการจัดผ้าป่าสามัคคีเพื่อนำรายได้มาใช้ในการบริหารงาน และมีรับการบริจาคเข้าเป็นกองทุนพิพิธภัณฑ์ โดยนำดอกผลมาใช้จ่ายซึ่งก็ไม่เพียงพอจากอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับ จึงดำเนินงานไปตามกำลัง และสิ่งสำคัญคือ บุคคลากรที่บริหารงานคือผู้ทีมีจิตอาสาและรับผิดชอบงานตั้งแต่เริ่มก่อตั้งซึ่งเป็นกรรมการของวัดท่าพูด ที่ไม่ได้รับสิ่งตอบแทนแต่มีความพร้อมในการทำงาน การดูแลและที่สำคัญคือสามารถให้พิพิธภัณฑ์ยังคงอยู่ถึงปัจจุบันและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป

          ๓. ผลสำเร็จของการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านของวัดท่าพูด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ถือได้ว่าเป็นวัดแห่งหนึ่งที่มีความเก่าแก่อายุมากกว่า ๒๐๐ ปี มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่มีแหล่งโบราณสถาน มีวัตถุโบราณที่สำคัญ เป็นแหล่งกำเนิดภูมิปัญญาชาวบ้าน และมีศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านหลายอย่าง ซึ่งจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านและมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของประชาชนชาวจังหวัดนครปฐม  พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านของวัดท่าพูด จึงได้กลายเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอีกด้านหนึ่งของการเก็บรักษา การอนุรักษ์ การเรียนรู้และการเผยแผ่ที่สำคัญปัจจุบันพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านของวัดท่าพูด ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคณะสงฆ์และไวยาวัจกรรวมไปถึงประชาชนในพื้นที่และยังมีเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้คำแนะนำ และร่วมกันพัฒนาพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านอย่างต่อเนื่อง

          ๔. ทั้งนี้แนวทางการส่งเสริมการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านของวัดท่าพูด            อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ควรมีการวางแผนที่ดีในการบริหารจัดการ การกระจายงานและการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านของวัดท่าพูด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้นำชุมชนควรร่วมมือกันอย่างเป็นรูปธรรม ควรมีการเก็บรักษาที่ถูกวิธี โดยการแยกหมวดหมู่ให้ชัดเจน มีการระดมเงินทุนเพื่อจัดหาสถานที่หรือตู้นิรภัยเพื่อเก็บสิ่งของโบราณ หรือ สิ่งที่มีค่าของชุมชนให้ปลอดภัย พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านของวัดท่าพูด ควรมีผู้รู้เฉพาะด้านในท้องถิ่นและร่วมกับวัดเพื่อช่วยกันจัดทำเอกสาร การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์อย่างฉลาดกับสิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด กับชุมชนและสังคมร่วมกันเผยแพร่สิ่งที่มีค่าและมีประโยชน์ต่อสังคม โดยรวมเพื่อจัดให้เกิดความรักและหวงแหนมรดกของชุมชนให้เป็นชาติ เพื่อให้เกิดการรับรู้ร่วมกันให้ได้

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕