หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระนพดล สุมงฺคโล (พวงสี)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๘ ครั้ง
บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนวัดท่าการ้อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (การพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระนพดล สุมงฺคโล (พวงสี) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  เดชา กัปโก
  โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

 

การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน      วัดท่าการ้อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน วัดท่าการ้อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาชุมชนโดยพระสงฆ์ วัดท่าการ้อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods) ซึ่งใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยกำหนดรูปแบบในการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับประชากรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๓๖๕ คน ซึ่งเป็นประชาชนในชุมชนวัดท่าการ้อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยเพื่อบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที (t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๑๐ รูป/คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑) จากการศึกษาพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนวัดท่าการ้อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๘๑) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านจิตใจอยู่ในระดับมากที่ระดับ ๔.๑๒ รองลงมาด้านสิ่งแวดล้อมที่ระดับ ๓.๘๙ ด้านเศรษฐกิจที่ระดับ ๓.๗๕ ด้านสังคมที่ระดับ ๓.๗๔ และด้านการศึกษาที่ระดับ ๓.๕๖ ตามลำดับ

๒) จากการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนวัดท่าการ้อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาชุมชน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งไม่ตรงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนที่มีอาชีพ และรายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาชุมชน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งตรงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

 

๓) เมื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค พบว่า ด้านสังคม: พระสงฆ์ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการที่พระสงฆ์จะเข้าไปมีส่วนร่วมกับการพัฒนาชุมชนในหลายๆ ด้าน ด้านเศรษฐกิจ: ขาดการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรของคณะสงฆ์เองรวมทั้งจากหน่วยงานของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้านสิ่งแวดล้อม: อุปกรณ์ในการให้ความสะดวกแก่พระสงฆ์ในการอบรมหรือในการช่วยเหลือพัฒนาชุมชนมีน้อย ด้านการศึกษา ขาดการสนับสนุนในการสอนศีลธรรมในโรงเรียนแก่เด็กนักเรียนและประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม เท่าที่ทำอยู่เป็นแค่ส่วนเล็กน้อย ด้านจิตใจ: ขาดบุคลากรในการทำงาน ทำงานเชิงรับมากกว่าเชิงรุก การติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ข้อเสนอแนะ ด้านสังคม: ควรมีการทำความเข้าใจกับหน่วยงานต่างๆ ถึงความสำคัญของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้านเศรษฐกิจ: ควรจัดสรรงบประมาณในการเผยแผ่ไว้เป็นกองทุนหรือเป็นนิตยภัตสำหรับพระสงฆ์ผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้านสิ่งแวดล้อม: ควรจัดสรรอุปกรณ์หรือเครื่องจักรเพื่อการดำเนินการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและให้พระสงฆ์ที่มีความรู้เกี่ยวกับขอบเขตของพระสงฆ์ที่สามารถจะทำได้ ด้านการศึกษา: ให้การสนับสนุนในการสอนศีลธรรมในโรงเรียนแก่เด็กนักเรียนและประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนและต้องมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ด้านจิตใจ: เร่งสร้างเสริมบุคลากรที่มีความชำนาญ เพื่อออกปฏิบัติงานทั้งในเชิงรับและเชิงรุกทั้งติดตามประเมินผลเพื่อปรับปรุงแนวทาง

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕