หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » Phramaha Nukul Indasaro (Chanada)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๑ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อไสยศาสตร์กับสังคมชาวพุทธกัมพูชาในปัจจุบัน
ชื่อผู้วิจัย : Phramaha Nukul Indasaro (Chanada) ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  เทพประวิณ จันทร์แรง
  พระครูสุนทรสังฆพินิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๒ มกราคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อไสยศาสตร์กับสังคมชาวพุทธกัมพูชาในปัจจุบัน” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษากำเนิดและพัฒนาการแนวคิดเรื่องไสยศาสตร์ ๒) เพื่อศึกษาบริบทและวิถีชีวิตของสังคมชาวพุทธในประเทศกัมพูชา และ ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์กับสังคมชาวพุทธในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน

 

จากการวิจัยพบว่า ไสยศาสตร์ เป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่วทุกมุมโลก อาจกล่าวได้ว่า มีมนุษย์อาศัยอยู่ที่ใด ไสยศาสตร์จะมีอยู่ ณ ที่นั้น และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ไสยศาสตร์เกิดจากความกลัวภัยอันเกิดจากธรรมชาติ  ประเภทของไสยศาสตร์เมื่อกล่าวโดยสรุปมี ๒ อย่าง คือ ไสยศาสตร์ขาว     ( white magic) และไสยศาสตร์ดำ (black magic) ไสยศาสตร์ขาว คือ ไสยศาสตร์ที่มีไว้เพื่อสร้างความดี ส่วนไสยศาสตร์ดำ คือ ไสยศาสตร์ที่มีไว้เพื่อสร้างความชั่ว ไสยศาสตร์บางอย่างไม่สามารถกำหนดแน่ชัดว่าเป็นชาวหรือดำ กล่าวคือสามารถทำให้เป็นได้ทั้งขาวและดำ ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้ใช้ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเรียกไสยศาสตร์ประเภทนี้ว่า ไสยศาสตร์เทา

 

ในสังคมกัมพูชา ประชาชนที่นับถือพระพุทธศาสนามักจะมีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ควบคู่กันไป แต่ถ้ากล่าวโดยหลักการแล้ว พระพุทธศาสนากับไสยศาสตร์แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง สาเหตุที่ทำให้ไสยศาสตร์ในสังคมกัมพูชากลมกลืนกับพระพุทธศาสนาอาจจะมาจากการที่มีพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเป็นผู้ทำพิธีทางไสยศาสตร์นั่นเอง ดังนั้น เมื่อมองในแง่ของสังคมพระพุทธศาสนากับไสยศาสตร์สามารถไปในทางเดียวกันได้ ด้วยเหตุนี้ โบราณาจารย์ในพระพุทธศาสนาจึงอนุโลมให้พระภิกษุเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับไสยศาสตร์ได้ การอนุโลมดังกล่าวเพื่อใช้ไสยศาสตร์นำหน้าพระพุทธศาสนา เพื่อให้ผู้ที่เชื่อในไสยศาสตร์เข้ามาใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนามากขึ้น ทำให้ง่ายต่อการสอดแทรกหลักธรรมของพระพุทธศาสนาในภายหลัง

ความสัมพันธ์ของความเชื่อไสยศาสตร์และความเชื่อพระพุทธศาสนาของชุมชนหมู่บ้านตาฮองนั้น ผลปรากฏว่า ความเชื่อในเรื่องทั้งสองนั้นเป็นไปในทางเดียวกัน  ทั้งในการนำสัญลักษณ์ของความเชื่อมาใช้เป็นลักษณะของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ร่วม ความหมายเชิงปฏิบัติและวัตถุประสงค์ในการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน  ลักษณะความเชื่อดังกล่าวสามรถนำมาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการดำรงชีวิตจนเกิดเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีประจำหมู่บ้านตาฮองขึ้นมา  เป็นการยากมากที่จะแยกประเพณีพระพุทธศาสนาออกจากประเพณีไสยศาสตร์  ซึ่งเป็นการยืนยันว่า  ในจิตศรัทธาของคนกัมพูชาหมู่บ้านนี้  พระพุทธศาสนากับไสยศาสตร์เข้ากันได้เป็นอย่างดี  และเกื้อกูลกันอย่างใกล้ชิดโดยมีหลักพระพุทธศาสนาเป็นหลักเกื้อกูลความเชื่อและประเพณีทางไสยศาสตร์

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕